LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567

กระทรวงครู’58 กับภารกิจ “ปฏิรูป” เพื่ออนาคต!!

  • 02 ม.ค. 2558 เวลา 11:27 น.
  • 1,612
กระทรวงครู’58 กับภารกิจ “ปฏิรูป” เพื่ออนาคต!!

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

กระทรวงครู’58 กับภารกิจ “ปฏิรูป” เพื่ออนาคต!!
 
เปิดศักราชใหม่..2558 แต่ภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยังคงต้องขับเคลื่อนไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงาน “ปฏิรูปการศึกษา” ที่ส่งสัญญาณว่าน่าจะเป็นรูปเป็นร่างกว่าการปฏิรูปที่ผ่านมา ๆ แม้จะเพิ่งเริ่มต้น..
       
       นั่นเพราะ ปฏิรูปการศึกษา ตามใบสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในภาพลักษณ์ของรัฐบาลท็อปบูทที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ที่ปักธงจะปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการปฏิรูปที่ใหญ่กว่าที่เคยทำมา เพราะต้องทำควบคู่ไปกับการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ส่งผลให้การปฏิรูปศึกษาถูกพูดถึงในมุมมองใหม่และกว้างขึ้น นั้นคือ “ปฏิรูปเพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ”
       
       ...เวลานี้ชัดเจนว่า คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ศธ. ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ นั่งหัวโต๊ะ มีเป้าหมายตรงกันที่จะให้การปฏิรูปการศึกษานั้นเป็นนโยบายพื้นฐานของทุกรัฐบาล ที่จะต้องเดินตามแนวทางให้เกิดความยั่งยืน ปราศจากการเมืองมาแทรกแซง สอดคล้องกับที่คณะกรรมาธิการการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่ได้กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ใน1 ใน 7 ข้อเสนอนโยบายพื้นฐานการศึกษาแห่งรัฐเพื่อให้สภานิติบัญญัติ (สนช.) พิจารณาและบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน ทั้งบอร์ดปฏิรูป ศธ. กมธ.ศึกษาฯ สปช.ยังเห็นทิศทางเดียวกันว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการระดับชาติ เรียกแบบไม่ทางการว่า “ซุปเปอร์บอร์ด” เข้ามาทำหน้าที่ดูแลการกำหนดนโยบายการศึกษาในภาพรวม ตอบโจทย์การผลิตและการพัฒนาประเทศที่ต้องการ มีการควบคุมมีผู้รับผิดรับชอบต่อปัญหาการจัดการศึกษา แต่ขณะนี้ยังไม่กำหนดตุ๊กตาที่ชัดเจนว่าจะเป็นใครบ้างแต่เป้าหมายคือต้องมาจากทุกภาพส่วนเป็นตัวแทนของประชาชนที่มั่นใจให้ทำหน้าที่แทนได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงก็นับได้ว่าเป็นครั้งแรกของการศึกษาไทย
       
       อย่างไรก็ตาม บอร์ดปฏิรูป ศธ.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ อีก 7 ชุด อาทิ ด้านงบประมาณ,ด้านพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ,ด้านการแก้ไขกฎหมายในภาพรวม ฯลฯ ทำหน้าที่ศึกษาและเป็นกลไกทำงานประสานระหว่างบอร์ดปฏิรูป ศธ. สปช.และ สนช. เพื่อให้การทำงานเดินไปทิศทางเดียวกัน โดยระยะเร่งด่วน1 ปีนี้จะมีกรอบทำงาน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.ยกระดับปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ โดยจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรอิสระทำหน้าที่ในการปฏิรูป ซึ่งจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2.ปฏิรูปนโยบายการศึกษาลดความเหลื่อมล้ำและให้โอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียม 3.ปฏิรูปโครงสร้างบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา ซึ่งในเดือนมกราคม 2558 ศธ.จะเริ่มนำร่องโครงการกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษา 20 เขตมีอำนาจบริหารตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนซึ่งหากได้ผลในทางบวกก็จะขยายโครงการเพิ่ม เป็นต้น และ4.ปฏิรูปเชิงคุณภาพโดยเน้นการยกระดับความรู้
       
       นอกเหนือจากงานปฏิรูปการศึกษาแล้ว ในปี 2558 ยังมีงานประจำที่ต้องทำต่อเนื่องคือ การปฏิรูปโครงสร้าง ศธ.ของ 3 องค์กรหลัก ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) โดยในส่วนสกอ.มีความชัดเจนแต่ต้นว่าต้องการขอแยกตัวเป็น “กระทรวงอุดมศึกษา” เพื่อความเป็นอิสระและการบริหารจัดการที่คล่องตัว เมื่อได้ไฟเขียวก็ยังยืนยันข้อเดิม ขณะที่สอศ.ซึ่งรัฐบาลและรมว.ศึกษายุคนี้ให้ความสำคัญกับผู้เรียนสายอาชีพอย่างมากเพราะเป็นหน่วยผลิตแรงงานฝีมือซึ่งมีความต้องการของประเทศ จึงให้ไปศึกษาเรื่องดังกล่าวเช่นกันและได้เสนอเป็น “ทบวงอาชีวศึกษา” ภายใต้กำกับ ศธ.และเสนอให้อาชีวเอกชนมารวมด้วยกันเพื่อให้การทำงานมีคุณภาพและมาตรฐานใกล้เคียงกัน ส่วนอีก 2หน่วยงานคือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักปลัด สป.ก็อาศัยโอกาสนี้ขอปรับเช่นกันโดย สพฐ.ขอแยกเป็น “ทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ด้วย
       
       ...แม้ ศธ.จะเปิดทางปฏิรูปโครงสร้าง แต่ก็ไม่ผลีผลามทำในทันทีเนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่ส่งผลต่อวงกว้าง ที่สำคัญต้องตอบสังคมได้ว่าปรับโครงสร้างแล้วช่วยแก้ปัญหาดีขึ้นอย่างไรด้วย อีกทั้งการปฏิรูปโครงสร้างเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา เช่นนี้ ศธ.จึงต้องโฟกัสไปที่ภาพใหญ่ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาก่อนว่าต้องทำอะไรบ้าง ถ้าไปกระทบกับโครงสร้างก็จะทำจุดนั้น
       
       งานชิ้นใหญ่อีกชิ้นที่จะเกิดกับการศึกษาของปี 2558 นั่นคือ การปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เนื่องจากใช้มาเป็นระยะเวลา 6 ปีและถึงวงรอบที่จะต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ ประกอบกับมีการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่จึงต้องมีการปรับให้ตรงกับทิศทางของประเทศด้วยจึงถึงเวลาต้องปรับครั้งใหญ่ ซึ่ง สพฐ.ได้กำหนดกระบวนการและปฏิทินการดำเนินการเอาไว้เรียบร้อย โดยช่วงระยะครึ่งปีแรกตั้งแต่ม.ค.-พ.ค. 2558 จะเป็นการทำงานในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การกำหนดกรอบทิศทางหลักสูตร รับฟังความเห็น และช่วงครึ่งปีหลังมิ.ย.-ธ.ค. 2558 จะยกร่างหลักสูตรแกนกลาง เป็นต้น จากนั้นจะนำร่องหลักสูตรฯและคาดประกาศใช้หลักสูตรในเดือนพฤษภาคม 2560
       
       แม้งานหลักของ ศธ.ในปีนี้จะไม่ใช่งานที่จะเห็นผลได้ในระยะสั้น แต่ต้องวาดภาพเผื่อยาวไปนับ 10 ปีจึงเป็นงานวางรากฐานและหวังผลสำเร็จที่ปลายทางเรียกว่า "อนาคต"
 
 
  • 02 ม.ค. 2558 เวลา 11:27 น.
  • 1,612

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : กระทรวงครู’58 กับภารกิจ “ปฏิรูป” เพื่ออนาคต!!

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^