LASTEST NEWS

01 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 01 พ.ค. 2567สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 49 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 01 พ.ค. 2567สพป.กรุงเทพมหานคร ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 01 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 206 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 01 พ.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.จันทบุรี เขต 2 01 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด ! สพฐ. มีคำสั่ง ย้ายและแต่งตั้ง ข้าราชการครูฯ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 01 พ.ค. 2567ศธ.รณรงค์ไหว้ครูที่ถูกต้องตามประเพณีที่ดีงาม หลังเสนอ “พิธีไหว้ครู”เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 01 พ.ค. 2567สพม.สระแก้ว ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สระแก้ว 01 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ)

ขู่ขึ้นแบล็กลิสต์-ประจานชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา หากตรวจพบวิทยานิพนธ์ที่ขึ้นรูปเล่มมีการคัดลอกผลงาน

  • 17 ก.ค. 2557 เวลา 16:14 น.
  • 1,706
ขู่ขึ้นแบล็กลิสต์-ประจานชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา หากตรวจพบวิทยานิพนธ์ที่ขึ้นรูปเล่มมีการคัดลอกผลงาน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ขู่ขึ้นแบล็กลิสต์-ประจานชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา หากตรวจพบวิทยานิพนธ์ที่ขึ้นรูปเล่มมีการคัดลอกผลงาน
 
“กำจร” เตรียมเชิญ จุฬาฯ-มธ.-นิด้า ร่วมถกวางมาตรการป้องกันการลอกวิทยานิพนธ์ เผยจะให้ สกอ.เป็นศูนย์กลางรวบรวมวิทยานิพนธ์ให้มหา’ลัยมาตรวจสอบระหว่างการสอบเพื่อได้รู้ว่ามีการคัดลอกหรือไม่ ชี้หากพบวิทยานิพน์ใดที่ทำรูปเล่มแล้วแต่มีการลอกมาจะขึ้นแบล็กลิสต์อาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมประกาศชื่อประจานให้สังคมรับรู้ เล็งนำวิธีการสอบวิทยานิพนธ์แบบต่างประเทศมาใช้สอบนักศึกษาป.เอก ด้วย
       
       วันนี้ (17 ก.ค.) รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้นตนให้ความสำคัญกับ 3 คุณภาพและ 1 ธรรมาภิบาล โดยคุณภาพแรก คือ คุณภาพการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษานอกที่ตั้งซึ่งมีทั้งมหาวิทยาลัยที่จัดการบริหารอย่างมีระบบและมีคุณภาพ และมหาวิทยาลัยที่จัดการบริหารไม่มีระบบและไม่มีคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านเคยแก้ไขได้ผลมาระดับหนึ่งแล้วแต่ขณะนี้ก็พบว่าปัญหานี้กลับมาอีกครั้ง เพราะสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปจัดการ ดังนั้นจะเร่งผลัก ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ...เพื่อนำมาเป็นกลไกที่เปิดทางให้ สกอ.เข้ามากำกับตรวจสอบได้ทันที รวมทั้งจะเร่งแก้ไขปัญหาคุณภาพอื่น ๆ ทั้งคุณภาพอาจารย์ประจำหลักสูตร หรือที่มีการร้องเรียนใช้สิ่งของแลกเกรด การประเมินผลที่ไม่เป็นธรรม ต่อมา
 
 
2.คุณภาพหลักสูตร จะมุ่งเน้นให้มหาวิทยาลัยตระหนักว่าต้องจัดหลักสูตรการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นตามความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยและตอบสนองความต้องการของประชาชนแบบที่ทำอยู่ซึ่งพบว่ามีจำนวนมากในปัจจุบัน ขณะเดียวกันจะเข้าไปปลดล็อคปัญหากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (ทีคิวเอฟ) เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่ออาจารย์และนักศึกษามากเกินไปด้วย นอกจากนี้จะมีการทบทวนหลักสูตรต่อเนื่อง ที่ให้ผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เรียนต่อจนจบปริญญาตรีเพื่อดึงดูดให้คนหันมาเลือกเรียนสายอาชีพมากขึ้น 3.คุณภาพบัณฑิตและนักศึกษา ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องดูแลตั้งแต่กระบวนการรับนักศึกษา โดยแต่ละปีมีผู้เข้าเรียนปีละ 4 แสนคนแต่ สกอ.มีข้อมูลเฉพาะผู้ที่สมัครผ่านระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง หรือ แอดมิชชันกลาง ประมาณ 1 แสนคนเท่านั้น แต่อีก 3 แสนคนที่เข้าผ่านระบบรับตรงกลับไม่มีข้อมูลทั้งไม่รู้ด้วยว่ามหาวิทยาลัยเปิดรับตรงเมื่อไร จำนวนเท่าไรและสอบกี่รอบ ซึ่งยืนยันว่าต้องการให้นักเรียนมีโอกาสหลากหลายเข้าเรียน แต่ต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไปและเดินทางน้อยที่สุด อีกทั้งมหาวิทยาลัยต้องทบทวนตนเองในการรับนักศึกษาเพราะเวลานี้โครงสร้างประชากรวัยเรียนระดับปริญญาลดน้อยลง
       
       “ ส่วนเรื่องบัณฑิตศึกษานั้น จากนี้ สกอ.จะเข้ามาดูแลหามาตรการที่เข้มข้นในการวัดประเมินบัณฑิตป.โท และ เอก โดยเฉพาะปัญหาการคัดเลือกวิทยานิพนธ์ซึ่ง สกอ.จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางที่จะรวบรวมฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์เพื่อให้มหาวิทยาลัยมาตรวจสอบก่อนการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และเมื่อวิทยานิพนธ์พิมพ์ออกเป็นรูปเล่มแล้ว หากพบว่ามีการคัดลอกก็จะแบล็กลิสต์ หรือ ขึ้นบัญชีดำอาจารย์ที่ปรึกษา และประกาศให้สาธารณะชนทราบด้วย สำหรับระดับปริญญาเอก การสอบเพื่อปกป้องวิทยานิพนธ์ จะเพิ่มมาตรการโดยใช้วิธีเหมือนต่างประเทศ ซึ่งเปิดสอบแบบสาธารณะ โดยให้นักวิชาการด้านต่างๆ จากมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป เข้ารับฟังการสอบด้วย ซึ่งนักศึกษาหากไม่เก่งจริงก็จะสอบผ่านลำบาก เพื่อให้ผู้จบปริญญาเอก มีคำว่า ดร. นำหน้าเป็นที่ยอมรับในสังคม โดยเร็วๆ นี้ผมจะเชิญมหาวิทยาลัยที่มีเครื่องมือตรวจสอบการคัดลอกวิทยานิพนธ์ ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า มาประชุมเพื่อหามาตรการร่วมกันในการป้องกันการคัดลอกวิทยานิพนธ์ได้อย่างไรบ้าง”รศ.นพ.กำจร กล่าวและว่า ส่วนเรื่องธรรมาภิบาล เนื่องจากเกิดปัญหาในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ซึ่งหากมี พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ก็จะมีอำนาจเข้าไปดูแล ซึ่งก็จะเข้าไปกำกับดูแลเฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีปัญหาเท่านั้น แต่ขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ.. อยู่ในระหว่างการพิจารณาของ กกอ.
 
 
 
  • 17 ก.ค. 2557 เวลา 16:14 น.
  • 1,706

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ขู่ขึ้นแบล็กลิสต์-ประจานชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา หากตรวจพบวิทยานิพนธ์ที่ขึ้นรูปเล่มมีการคัดลอกผลงาน

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^