LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ตรัง กระบี่ - ผลย้ายครู 2567 สพม.ตรัง กระบี่ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ตรัง กระบี่ - ผลย้ายครู 2567 สพม.ตรัง กระบี่ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม โรงเรียนวัดล

usericon

รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม โรงเรียนวัดล
ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม
โรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓)
ชื่อผู้รายงาน    นางสาวจินดาวรรณ ประยูรรัตน์
ระยะเวลาดำเนินโครงการ     16 พฤษภาคม 2555 – 31 มีนาคม 2556


บทคัดย่อ

    การประเมินโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) โดยอาศัยกรอบแนวคิดการจัดการเรียนร่วมโดยโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ใน 4 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านเครื่องมือ โดยนำรูปแบบการประเมินโครงการโดยใช้ซิปประยุกต์ (CIPPI Evaluation) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context : C) ของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 นโยบายโรงเรียน และความต้องการจำเป็นของโรงเรียน 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input : I) ของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสม/เพียงพอเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการดำเนินการตามโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process : P) ในการดำเนินงานตามโครงการ ด้านการบริหารจัดการ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตาม และการประเมินผล 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product : P) การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม และความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ 5) เพื่อประเมินผลกระทบ (Impact : I) ของการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมที่มีต่อโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) จำนวน 505 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ
เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีจำนวน 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามการประเมินการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) 2) แบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .96 ทั้ง 2 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการประเมินโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓)สรุปได้ดังนี้
    1. การประเมินการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context : C) โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.92) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน ( = 4.09) รองลงมา คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ( = 4.00) มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน
ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับสภาพความต้องการ/ความสนใจของนักเรียน ( = 3.78)
    2. การประเมินการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input : I) โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
( = 3.95) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านงบประมาณ ( = 4.02) รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ( = 4.00) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านบริหารจัดการ และด้านวัสดุอุปกรณ์ ( = 3.86) มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน
    3. การประเมินการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process : P) โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการเป็นไปตามลำดับขั้นตอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เหมาะสมต่อความบกพร่องของนักเรียน และครูทบทวนและปรับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ( = 4.00) มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมา คือ จัดการประชุม อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ และบุคลากรทุกคนในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการสนับสนุน
การดำเนินงานตามโครงการ ( = 3.96) มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การนิเทศ ติดตาม และการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ ( = 3.74)
    4. การประเมินการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product : P) โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
( = 3.97) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องได้เข้าเรียนร่วมกับนักเรียนทั่วไปตามความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล และนักเรียนที่มีความบกพร่องมีพัฒนาการด้านวิชาการ อารมณ์ สังคม และการช่วยเหลือตนเองที่ดีขึ้น ( = 4.09) มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมา คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องได้รับ
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล ( = 4.00) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้ปกครองพึงพอใจในผลการเรียนตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( = 3.83)
    5. การประเมินการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) ผลการประเมินด้านผลกระทบ (Impact : I) โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
( = 4.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูปรับปรุง พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เหมาะสมต่อความบกพร่องของนักเรียนมากขึ้น ( = 4.26) รองลงมา คือ โรงเรียนได้รับความไว้วางใจ เชื่อมั่น ศรัทธา และได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษามากขึ้น ( = 4.17) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจในการจัดการศึกษาตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมมากขึ้น ( = 3.96)
6. การประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) ผลการประเมินด้านผู้เรียน (S – Student) โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.97) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ให้ความรู้แก่นักเรียนปกติเกี่ยวกับธรรมชาติของความบกพร่องทั้ง 9 ประเภท และการปฏิบัติต่อนักเรียนที่มีความบกพร่อง ( = 4.12) รองลงมา คือ การวางแผนในการดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนทั่วไปและนักเรียนที่มีความบกพร่อง ( = 4.03) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการกระจายนักเรียนที่มีความบกพร่องไปตามห้องเรียนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
( = 3.89)
7. การประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (E – Environment) โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.99) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมาก และ
ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีคณะกรรมการจัดการเรียนร่วมเพื่อดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ( = 4.16) รองลงมา คือ จัดการประชุม อบรม ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มีความบกพร่อง ( = 4.09) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สร้างบรรยากาศของการยอมรับนักเรียนที่มีความบกพร่องให้ทุกฝ่ายรับรู้และร่วมมือกันช่วยเหลือดูแลอย่างถูกวิธี
( = 3.87)
8. การประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) ผลการประเมินด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A – Activities) โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.95) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ จัดทำหลักสูตรเฉพาะสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ( = 4.24) รองลงมา คือ ครูมีการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ( = 4.17) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ จัดทำตารางเรียนให้บริการสอนเสริมกับนักเรียนที่มีความบกพร่อง และจัดครูพิเศษในการจัด การเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่อง ( = 3.74)
9. การประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน ๓) ผลการประเมินด้านเครื่องมือ (T – Tools) โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.91) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการสนับสนุนให้ทำวิจัยในชั้นเรียนหรืองานวิจัยขั้นพื้นฐานด้านการศึกษาพิเศษ
( = 4.10) รองลงมา คือ จัดทำระบบข้อมูลนักเรียนที่มีความบกพร่อง ( = 4.05) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ จัดทำคูปองการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง และจัดหาวัสดุ สื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับสภาพของเด็กที่มีความบกพร่อง
เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ( = 3.79)
jindawan12 24 ม.ค. 2557 เวลา 16:12 น. 0 2,045
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^