LASTEST NEWS

13 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการครู 8 อัตรา เงินเดือน 18,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 16 กันยายน 2567 13 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 13 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 13 ก.ย. 2567โรงเรียนเพชรพิทยาคม รับสมัครพนักงานธุรการ และพนักงานบริการ จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 23 - 28 กันยายน พ.ศ. 2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) 13 ก.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ตราครุฑมาแล้ว สพฐ. แจ้งแนวทาง สพท.ทั่วประเทศ ตรวจสอบ เน้นย้ำ กำชับสถานศึกษาทุกแห่ง ลดภาระการประเมินและเลื่อนเงินเดือนครู 13 ก.ย. 2567ด่วน! ‘ธนุ’ สั่งสอบ ‘ผอ.สพม.สระแก้ว’ แล้ว ปม รายชื่อสอบครูได้ที่ 1 หาย 13 ก.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการครู วิชาเอกสังคมศึกษา เงินเดือน 18,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 17 กันยายน 2567 12 ก.ย. 2567แถลงการณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว เรื่อง ประกาศแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่งครูผู้สอน 12 ก.ย. 2567สพม.สระแก้ว แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่ง ครูผู้สอน  11 ก.ย. 2567ประกาศแล้ว รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบครูผู้ช่วย กทม. ครั้งที่ 1/2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์

usericon

หัวข้องานวิจัย    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย    นางสาวสุทิสา รอดธานี
ปีการศึกษา    2565
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพเบื้องต้นของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ คิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างแยกเป็น ผู้ให้ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ครูผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย จำนวน 10 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน ผู้ทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม รูปแบบการจัดการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้กับค่าเฉลี่ยที่กำหนดขึ้น (ร้อยละ 80) โดยใช้ One – Sample T Test ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการวิจัย
1.    โดยภาพรวม พบว่า การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยในปัจจุบัน ครูมีความเป็นกันเองกับนักเรียนดี ส่วนใหญ่จัดการเรียนรู้โดยการบรรยายร่วมกับการให้นักเรียนอ่านเนื้อหาของบทเรียน ทำแบบฝึกหัด และทำแบบทดสอบในหนังสือเรียน มีสื่อรูปภาพ ใบความรู้ ประกอบการเรียน นักเรียนเห็นว่าการจัดการเรียนรู้ในวิชาภาษาอังกฤษไทยให้ประสบผลสำเร็จในการเรียน ควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ มีการจัดกิจกรรมให้มากขึ้น และมีกิจกรรมฝึกการอ่านวิเคราะห์และเขียนความเรียงร่วมกัน มีการบริหารเวลาที่เหมาะสมกับเนื้อหา และภาระงานในชั่วโมงนั้น ๆ ควรมีการประเมินผลในระหว่างและหลังการจัดการเรียนรู้ และมีการแจ้งให้นักเรียนทราบความก้าวหน้า และข้อบกพร่องของตนเองอยู่เสมอ กระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน มีความเหมาะสมกับการเรียนการสอนภาษาไทย เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็นสำคัญ และให้ผู้เรียนมีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ มีการจัดกลุ่มฝึกการวิเคราะห์ระหว่างกันของผู้เรียน และมีการให้ข้อมูลป้อนกลับของผู้สอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับปรุงแก้ไข ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นได้ตามจุดประสงค์ของหลักสูตร
2.    ผลการพัฒนารูปแบบการสอน พบว่า รูปแบบมีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) องค์ประกอบเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วย หลักการ และวัตถุประสงค์ 2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นการรวมความรู้ (Knowledge combination : Kc) ขั้นที่ 2 ขั้นการทำความเข้าใจ (Comprehensive : C) ขั้นที่ 3 ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis : A) ขั้นที่ 4 ขั้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Application : A) และขั้นที่ 5 ขั้นการรู้คิดหรืออภิปัญญา (Metacognition : M) 3) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการสอนไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งรูปแบบมีค่าความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ค่าความเป็นไปได้ และค่าความเหมาะสมและสอดคล้องในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำรูปแบบการสอนไปหาประสิทธิภาพแบบภาคสนามได้ประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.24/86.40 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
3.    ผลการทดลองใช้ พบว่า ความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีคะแนนมากกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีคะแนนมากกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจ ของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนอยู่ในระดับมาก
การประเมินผลประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า ประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง มีค่าเท่ากับ 85.74/86.67 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ในภาพรวม นักเรียนเห็นด้วย ร้อยละ 86.67 และ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.33 ความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วยไม่มี
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^