LASTEST NEWS

21 ก.ย. 2566"แท็บเล็ต" ยุคยิ่งลักษณ์ถึงไอเดีย "เพิ่มพูน" ควรไปต่อหรือพอได้แล้ว 20 ก.ย. 2566‘เพิ่มพูน’มอบนโยบาย ผอ.สพท. ฝากการบ้านผู้บริหารเดินหน้า‘เรียนดี มีความสุข’ 20 ก.ย. 2566“รมว.ศธ.” แนะผอ.สพท.ใช้หลักอริยสัจสี่บริหารการศึกษา 19 ก.ย. 2566สพฐ.รับลูกลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา แจกแท็บเล็ต 19 ก.ย. 2566ผู้ปกครองไม่เห็นด้วยแจกแท็บเล็ต แนะนำงบจ้างครูเพิ่ม เน้นบุคลากรยังขาดแคลน 19 ก.ย. 2566สอศ.เปิดสอบพนักงานราชการครู 48 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 18 ก.ย. 2566รอเรียกบรรจุ เฮ! ก.ค.ศ.แจ้งจัดสรรอัตราว่างฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย 12,514 อัตรา 18 ก.ย. 2566“เสมา2” แจงคุมสพฐ.ลั่นเจอทุจริตถูกเชือดโทษวินัยแน่ 18 ก.ย. 2566สพฐ.พร้อมหนุนนโยบาย”เพิ่มพูน” เดินหน้าลดภาระครู 18 ก.ย. 2566ด่วน !! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ครั้งที่ 1/2566 ทางอินเทอร์เน็ต

ประเมินโครงการงานกลุ่มเกษตรกรในโรงเรียนบ้านคลองเรือ

usericon

ชื่อเรื่อง     ประเมินโครงการงานกลุ่มเกษตรกรในโรงเรียนบ้านคลองเรือ
ชื่อผู้วิจัย นายประจักสิน บึงมุม
ปีที่วิจัย ปี พ.ศ. 2564

บทคัดย่อ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการงานกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนบ้านคลองเรือ
ตามรูปแบบ CIPPiest โดย 1) ประเมินผลใน 8 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนและด้านการถ่ายทอดความรู้ส่งต่อของโครงการ และ 2) หาแนวทางพัฒนาโครงการงานกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน เพื่อต่อยอดการพัฒนา
สู่ความยั่งยืน ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 43 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้
เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ในแต่ละด้านของรูปแบบ CIPPiest และเอกสารประกอบการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ประเมินก่อนเริ่มดำเนินโครงการ โดยใช้แบบสอบถามฉบับที่ 1 ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นผู้ให้ข้อมูล ระยะที่ 2 ประเมินระหว่างดำเนินโครงการใช้แบบสอบถามฉบับที่ 2 ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาและนักเรียนเป็นผู้ให้ข้อมูล ระยะที่ 3 ประเมินหลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการใช้แบบสอบถามฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4 ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและ ผู้ปกครองนักเรียนเป็นผู้ให้ข้อมูล แล้วนำผลการประเมินโครงการจัดทำเอกสารประกอบการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ (%) การหาค่าเฉลี่ย () การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการประเมินพบว่า
     โครงการงานกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน โรงเรียนบ้านคลองเรือ พบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยเรียงลำดับตามค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบริบท ด้านความยั่งยืน ด้านประสิทธิผล ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ด้านผลผลิต
ด้านผลกระทบ ด้านกระบวนการและด้านปัจจัยนำเข้า ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนาโครงการ
มีผลดังนี้
1.ผลการประเมินโครงการในแต่ละด้าน
    1) ด้านบริบท โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ (= 5.00)
    2) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการ (= 4.61)
    3) ด้านกระบวนการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมของนักเรียน (= 4.50)
    4) ด้านผลผลิต โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ปริมาณของกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนา (= 5.00)
    5) ด้านผลกระทบ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การยอมรับและเชื่อมั่นในโครงการ (=4.65)
    6) ด้านประสิทธิผล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ความมีคุณค่าในการพัฒนานักเรียนสู่อาชีพเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (=5.00)
    7) ด้านความยั่งยืน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การยกระดับคุณภาพการดำเนินงาน (=4.95)
    8) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากและตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การขยายผลการดำเนินการของโครงการ (=4.80)
2. แนวทางพัฒนาโครงการงานกลุ่มบุวเกษตรกรในโรงเรียนบ้านคลองเรือ สรุปได้ว่า
    1) โครงการ มีผลการประเมินที่มีความเหมาะสม สะท้อนภาพที่ครอบคลุมการวางแผน
การดำเนินการชัดเจน ลดความเสี่ยง มีผลผลิตตามเป้าหมายได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งผลกระทบการสร้างงานจากแนวคิดหลักการสู่ผลงานที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี
    2) ผลการประเมินโครงการ มีความเหมาะสม สอดคล้องและเป็นประโยชน์ ในด้านสารสนเทศเทศ
ที่รอบด้านในการกำหนดแนวทางการพัฒนาโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพให้เป็นโครงการต้นแบบที่ดี ตามเป้าหมายของการสร้างความมั่นคง มั่งคั่งและสืบทอดให้ยั่งยืนในอาชีพการเกษตร ฉบับกิจกรรมในสถานศึกษา
    3) แนวทางการพัฒนาโครงการควรดำเนินใน 3 แนวทาง คือ 1) แนวทางการดำเนินโครงการในการเร่งรัดเพื่อให้การดำเนินมีสภาพที่คล่อง เช่น การเร่งรัดการดำเนินการด้านปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย การระดมทรัพยากร 2) แนวทางการดำเนินโครงการในการพัฒนาเพื่อการเพิ่มคุณค่า พัฒนาทักษะ ปลูกจิตสำนึกรักอาชีพการเกษตรตามแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานผ่านงานกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน 3) แนวทางการดำเนินโครงการเชิงรุก ด้วยการยกระดับคุณภาพกิจกรรมที่มีผลสำเร็จสูงให้เกิดผลที่สูงขึ้น มีความสมบูรณ์
และครบวงจรในการดำเนินการ เพื่อเป็นต้นแบบที่ดี
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^ <