LASTEST NEWS

21 ก.ย. 2566"แท็บเล็ต" ยุคยิ่งลักษณ์ถึงไอเดีย "เพิ่มพูน" ควรไปต่อหรือพอได้แล้ว 20 ก.ย. 2566‘เพิ่มพูน’มอบนโยบาย ผอ.สพท. ฝากการบ้านผู้บริหารเดินหน้า‘เรียนดี มีความสุข’ 20 ก.ย. 2566“รมว.ศธ.” แนะผอ.สพท.ใช้หลักอริยสัจสี่บริหารการศึกษา 19 ก.ย. 2566สพฐ.รับลูกลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา แจกแท็บเล็ต 19 ก.ย. 2566ผู้ปกครองไม่เห็นด้วยแจกแท็บเล็ต แนะนำงบจ้างครูเพิ่ม เน้นบุคลากรยังขาดแคลน 19 ก.ย. 2566สอศ.เปิดสอบพนักงานราชการครู 48 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 18 ก.ย. 2566รอเรียกบรรจุ เฮ! ก.ค.ศ.แจ้งจัดสรรอัตราว่างฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย 12,514 อัตรา 18 ก.ย. 2566“เสมา2” แจงคุมสพฐ.ลั่นเจอทุจริตถูกเชือดโทษวินัยแน่ 18 ก.ย. 2566สพฐ.พร้อมหนุนนโยบาย”เพิ่มพูน” เดินหน้าลดภาระครู 18 ก.ย. 2566ด่วน !! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ครั้งที่ 1/2566 ทางอินเทอร์เน็ต

รายงานโครงการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

รายงานโครงการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านมังกาล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านมังกาล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ด้วยรูปแบบกระบวนการดำเนินงาน TRUST MODEL 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านมังกาล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 3) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านมังกาล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการรายงานโครงการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านมังกาล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ในปีการศึกษา 2564 รวมจำนวน 65 คน ประกอบด้วย 1) ครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านมังกาล่า จำนวน 6 คน 2) คณะกรรมการนักเรียน จำนวน 15 คน ได้แก่ ตัวแทนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านมังกาล่า จำนวน 7 คน 4) กลุ่มเป้าหมายการพัฒนาระบบช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านมังกาล่า คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 37 คน มีวิธีการประเมิน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการพัฒนาการดำเนินงาน ด้วยรูปแบบกระบวนการดำเนินงาน TRUST MODEL ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือ ระยะที่ 3 ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการรายงานสรุปได้ ดังนี้
    1. ศึกษาสภาพการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านมังกาล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ด้วยรูปแบบกระบวนการดำเนินงาน TRUST MODEL พบว่า
        1.1 ผลศึกษาในภาพรวมพบว่าความเหมาะสมของรูปแบบกระบวนการดำเนินงาน มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมา คือความเป็นประโยชน์ของรูปแบบกระบวนการดำเนินงาน มีความเป็นประโยชน์มากที่สุด และความเป็นไปได้ของรูปแบบกระบวนการดำเนินงาน หมายถึง ความคิดเห็นเพื่อรายงานกระบวนการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความเป็นไปได้มาก ตามลำดับ
        1.2 ผลการรายงานคุณภาพด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ของกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ของนักเรียนในโครงการการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวมพบว่า ความเป็นไปได้ของของรูปแบบกระบวนการดำเนินงานทั้ง 5 กิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ความเหมาะสมมากที่สุด และมีความเป็นประโยชน์มากที่สุด ตามลำดับ
    2.    ศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCA ทั้ง 5 ด้าน มีระดับความเหมาะสมการปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อย ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เรียงตามลำดับ คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งต่อ การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน และการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้
        2.1 ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยรวม มีความเหมาะสม/ปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อย เมื่อพิจารณาแต่ละขั้น พบว่า ขั้นการวางแผน (P) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารประชุมปรึกษาหารือเพื่อกำหนดโครงสร้างบุคลากร เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการประสานงาน และคณะกรรมการดำเนินงาน ขั้นดำเนินงานตามแผน (D) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษานำข้อมูล มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร คู่มือ และแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านตามปฏิทินการปฏิบัติงาน ขั้นติดตามประเมินผล (C) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คณะกรรมการตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานตามปฏิทินการปฏิบัติงาน ขั้นปรับปรุงแก้ไข/ดำเนินการต่อ (A) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารและคณะกรรมการกำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
        2.2 ด้านการคัดกรองนักเรียนโดยรวม มีความเหมาะสม/การปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อย เมื่อพิจารณาแต่ละขั้น พบว่า ขั้นการวางแผน (P) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหาร คณะกรรมการ จัดประชุมชี้แจงเพื่อกำหนดเกณฑ์การจัดกลุ่มนักเรียน     ขั้นดำเนินงานตามแผน (D) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาให้คำปรึกษาเบื้องต้นและดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ขั้นติดตามรายงานผล (C) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คณะกรรมการตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานตามปฏิทินการปฏิบัติงาน ขั้นปรับปรุงแก้ไข/ดำเนินการต่อ (A) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงานนำผลการประเมินมาปรับปรุงและดำเนินการตามแผนการครั้งต่อไปอย่างต่อเนื่อง
        2.3 ด้านการส่งเสริมนักเรียนโดยรวม มีความเหมาะสม/ปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อย เมื่อพิจารณาแต่ละขั้น พบว่า ขั้นการวางแผน (P) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารแต่งตั้งครู ที่ปรึกษาและคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อจัดทำเอกสาร คู่มือการปฏิบัติงาน ขั้นดำเนินงานตามแผน (D) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมทักษะให้กับนักเรียนเป็นรายบุคคล ขั้นติดตามรายงานผล (C) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาสรุปผลการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียน ตามความสามารถ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน ขั้นปรับปรุงแก้ไข/ดำเนินการต่อ (A) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงานนำข้อมูลที่ได้รับจากแบบรายงานมาตัดสินใจร่วมกันเพื่อการส่งเสริมและให้การดูแลช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ
        2.4 ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยรวม มีความเหมาะสม/ปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อยครั้ง เมื่อพิจารณาแต่ละขั้น พบว่า ขั้นการวางแผน (P) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คณะกรรมการดำเนินงานวางแผนจัดทำแบบฟอร์มการบันทึกกิจกรรมการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียนรายบุคคล ขั้นดำเนินงานตามแผน (D) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อป้องกัน แก้ไขการส่งเสริมพัฒนานักเรียนทุกคน ขั้นติดตามรายงานผล (C) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาสรุปรายงานแจ้งผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้คณะกรรมการพิจารณา     ขั้นปรับปรุงแก้ไข/ดำเนินการต่อ (A) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงานนำข้อมูลที่ได้รับจากแบบรายงานมาตัดสินใจร่วมกันเพื่อการส่งเสริมและให้การดูแลช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ
        2.5 ด้านการส่งต่อโดยรวม มีความเหมาะสม/ปฏิบัติงานอยู่ในระดับบ่อย เมื่อพิจารณาแต่ละขั้นพบว่า ขั้นการวางแผน (P) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คณะกรรมการดำเนินงาน จัดประชุมชี้แจง การจัดทำเอกสาร คู่มือ แบบบันทึก และกำหนดปฏิทินการติดตามในการวางแผน ขั้นดำเนินงานตามแผน (D) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาประสานงานกับครูที่รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ทราบขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นติดตามรายงานผล (C) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาสรุปผลและบันทึกผลลงในแบบบันทึกการส่งต่อของโรงเรียน ขั้นปรับปรุงแก้ไข/ดำเนินการต่อ (A) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการดำเนินงานประชุมสรุปผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล
    3.     ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านมังกาล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 พบว่า
        3.1 ผลการประเมิน แต่ละกิจกรรมในภาพรวมพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกิจกรรมพบว่า 1) กิจกรรม ลูกเสือ และเนตรนารี มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวัดและรายงานผลกิจกรรมลูกเสือและเนตรนารีตามมาตรฐานของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) กิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวัดและรายงานผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพตามกิจกรรมกลุ่มที่กำหนดไว้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพ 3) กิจกรรมชุมนุม (ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง) มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการวัดและรายงานผลการจัด/กิจกรรมชุมนุม (ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง) 4) กิจกรรมเด็กดีศรีมังกาล่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวัดและรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรมกิจกรรมเด็กดีศรีมังกาล่า ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ 5) กิจกรรมห่างไกลยาเสพติด มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการประชุมชี้แจงการวัดและรายงานผลกิจกรรมห่างไกลยาเสพติดตามสภาพจริง
        3.2 ผลการรายงานการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับบ่อยครั้ง เมื่อพิจารณาแต่ละพฤติกรรม พบว่า 1) พฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ พบว่า นักเรียนทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงเป็นประจำ นักเรียนมาโรงเรียนก่อนทำกิจกรรมหน้าเสาธงเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามบริเวณที่รับผิดชอบ 2) พฤติกรรมด้านความมีระเบียบวินัย พบว่า นักเรียนเข้าแถวรับอาหารกลางวันและเข้าแถวซื้อของ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงเป็นประจำ นักเรียนมีมารยาท ในการไหว้ รู้จักทำความเคารพคณะครูและผู้มาติดต่อราชการเป็นประจำ 3) พฤติกรรมด้านความมีจิตสาธารณะ พบว่า นักเรียนมีน้ำใจช่วยเหลือและงานครูเพื่อนและคนอื่น ๆ ด้วยความเต็มใจ นักเรียนปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดพัดลมภายหลังเลิกใช้แล้วทุกครั้ง นักเรียนมีความรักในโรงเรียนเห็นประโยชน์ขององค์กรมากกว่าประโยชน์ส่วนตน 4) พฤติกรรมด้านความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พบว่า นักเรียนมีน้ำใจต่อผู้อื่นและผู้ร่วมงาน นักเรียนเห็นเพื่อนมีความเดือดร้อนยื่นมือไปช่วยตามกำลังของตน นักเรียนรู้จักแบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน นักเรียนช่วยเหลือกันเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ตามลำดับ
jorjia.jia 31 พ.ค. 2566 เวลา 14:27 น. 0 105
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^ <