LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2566ก.ค.ศ.ปรับเพิ่มทางเลือกใช้เกณฑ์ PA ไฟเขียว 6 ข้อประเมินข้าราชการครู เดินหน้าระบบพร้อมใช้ปี 67 29 พ.ย. 2566“ธนุ” โยกงานจัดซื้อจัดจ้างรร.เล็กให้เขตพื้นที่ดูแล ย้ำต้องทำอย่างโปร่งใส 28 พ.ย. 2566โรงเรียนสตรีนนทบุรี ประกาศหยุดเรียน วันศุกร์ที่ 1 ธ.ค.66 และเรียนออนไลน์วันจันทร์ที่ 4 ธ.ค.66 28 พ.ย. 2566เสมา 2 มอบนโยบายฟื้นสอบเทียบ  ยังไม่สรุปแจกแท็บเล็ตหรือโน๊ตบุ๊ก ตั้งคณะทำงานศึกษาข้อดีข้อเสีย 28 พ.ย. 2566ข่าวดี! สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วยล็อตใหญ่ 8 กลุ่มวิชาเอก รวม 116 อัตรา 28 พ.ย. 2566เปิดรายละเอียด ! ครม.เห็นชอบปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ ครอบคลุมทุกกลุ่ม 28 พ.ย. 2566ด่วน! อุบลฯ เขต 2 ประกาศสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี'66 ใหม่ เหตุ มรภ.อุบลฯ ผลิตข้อสอบไม่ตรงตามประกาศ 28 พ.ย. 2566ข่าวดี! สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดสอบตำรวจ 5,000 อัตรา วุฒิ ม.6, ปวช.หรือเทียบเท่า รับสมัคร 11-20 ธ.ค.2566 28 พ.ย. 2566ครม. เห็นชอบหลักการ ปรับเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่ 1.8 หมื่นบาท 28 พ.ย. 2566กาง "ปฏิทินเงินเดือนข้าราชการปี 67" พร้อมเปิดเงื่อนไขให้แจ้งหากต้องการรับ 2 รอบ

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน

usericon

ชื่อผลงาน        : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน
         เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน
         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย        : นางศรีนวล แดงประพันธ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
         โรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา        : 2565

บทคัดย่อ

    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ และ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (Dependent sample)




ผลการวิจัยพบว่า
    1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนขาดสมาธิในการเรียนขาดการควบคุมตนเองในการที่จะเรียนรู้ ขาดความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเรียนรู้ และการขาดการใช้ปัญญาในการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ของตนเองและผู้อื่นจากการเรียนรู้ภาษาไทย ส่งผลให้ความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ลดลง ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ จากการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา นำไปสู่การพัฒนาตนเองให้มีความรู้ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
    2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สิ่งสนับสนุน และการนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นสถานการณ์ท้าทาย 2. ขั้นเตรียมพฤติกรรม 3. ขั้นตั้งจิตศึกษา 4. ขั้นปฏิบัติด้วยปัญญา 5. ขั้นนำมาสรุป และ 6. นำเสนอและประเมินผล เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน 26 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.64/83.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
    3. นักเรียนมีความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ จากการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

chaomanster 27 ก.พ. 2566 เวลา 12:56 น. 0 126
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^