LASTEST NEWS

19 ก.ย. 2567“อรรถพล” ชงทบทวนร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติฯให้รมว.ศธ.พิจารณา 19 ก.ย. 2567วิทยาลัยเทคโนโลยีพัฒนบัณฑิตบริหารธุรกิจโพนสวรรค์ รับสมัครครู 6 อัตรา เงินเดือน 15,000 ไม่ต้องมีวุฒิครู รับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 19 ก.ย. 2567ผลสอบชัดแล้ว! 10 โมงพรุ่งนี้แถลงสรุป ดราม่า ‘ครูเบญ’ สอบได้อันดับ 1 แต่ชื่อล่องหน 19 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 ก.ย. 2567สพฐ. แจง !!! หลังถูกโซเชียลวิจารณ์การจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน 19 ก.ย. 2567สพฐ. แจงศิลปหัตถกรรมนักเรียน แยกการแข่งวิชาการ ลดภาระครู-นักเรียน ไม่ซ้ำซ้อน . 18 ก.ย. 2567ศธ.ย้ำ 20 ก.ย.นี้รู้ผลสอบ "ครูเบญ" ชี้อย่าตัดสินคนแค่เพราะนามสกุลดัง 18 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 18 ก.ย. 2567โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย​ รับสมัครครูช่วยสอน 6 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 25 กันยายน 2567 18 ก.ย. 2567โรงเรียนซำสูงพิทยาคม รับสมัครครูช่วยสอน 5 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 26 กันยายน 2567

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและ

usericon

วิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร,ความคล้ายและวงกลม  โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวัฎจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิค STAD)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร, ความคล้ายและวงกลม โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิค STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิค STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  3) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร, ความคล้ายและวงกลม โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิค STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร, ความคล้ายและวงกลม โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิค STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร, ความคล้ายและวงกลม โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิค STAD) ชั้นมัธยมศึกษา-ปีที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564โรงเรียนเดื่อศรีไพรวัลย์ จังหวัดสกลนคร จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 59 คน  ซึ่งจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเดื่อศรีไพรวัลย์ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร, ความคล้ายและวงกลม โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิค STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร, ความคล้ายและวงกลม โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิค STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร, ความคล้ายและวงกลม      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ (Multiple Choice) 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ใช้ t-test (Independent Sample) ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ปัญหาและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเรียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์พบว่า ปัญหาในการจัดการเรียนรู้คือ ครูสอนแบบอธิบายไม่ใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยให้เข้าใจ ทำให้บรรยากาศในการเรียนเกิดความเครียด ครูสอนเข้มงวดมากไม่ใช้สื่อในการสอน ครูให้ทำแบบฝึกหัดส่งทุกครั้ง ข้อสอบยากเกินไปทำให้เครียดและพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ไม่ดี เป็นเหตุให้นักเรียนเรียนไม่เข้าใจ สำหรับความต้องการของนักเรียนในเรียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีความสุขคือ ครูควรมีสื่อการสอนที่หลากหลายเพื่ออธิบายเนื้อหาวิชาให้เข้าใจ ครูควรสร้างบรรยากาศในการเรียนให้สนุกสนาน และควรมีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อ การทดสอบวัดสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =6.44,= 1.10) คิดเป็นร้อยละ 64.44 รองลงมา คือด้านการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน (=6.40,= 0.91) คิดเป็นร้อยละ 64.00 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา (  =4.07,  = 0.78) คิดเป็นร้อยละ 40.67 ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร, ความคล้ายและวงกลม โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิค STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการ () ได้ค่าประสิทธิภาพ 86.36 และผลการประเมินประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ () ได้ค่าประสิทธิภาพ 84.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร, ความคล้ายและวงกลม โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิค STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร, ความคล้ายและวงกลม โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิค STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.56 , S.D. = 0.49)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^