LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อผลงาน     รายงานการประเมินโครงพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านคลองหวะ(ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง)
    สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2
ผู้รายงาน    นายอารีย์ หัสโส๊ะ
ตำแหน่ง        รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนบ้านคลองหวะ(ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2
ปีการศึกษา         2564

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

     การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน
บ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องของความต้องการจำเป็น วัตถุประสงค์โครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ และทรัพยากรต่าง ๆ ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพของผลผลิตผู้เข้าร่วมโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model กลุ่มเป้าหมายของการประเมินโครงการครั้งนี้คือประชากรทั้งหมด ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 123 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 123 คน ได้มาโดยการเลือกแบบแบบเจาะจง ( Purposive Selection )
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 10 ฉบับ ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน จากนั้นนำไปหาค่าอำนาจจำแนกและค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นทั้งฉบับก่อนนำไปใช้ โดยค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบประเมินด้านบริบท เท่ากับ 0.97 ด้านปัจจัยเบื้องต้นเท่ากับ 0.95 ด้านกระบวนการฉบับที่ 1 เท่ากับ 0.90 ฉบับที่ 2 เท่ากับ 0.97 ฉบับที่ 3 เท่ากับ 0.99 ฉบับที่ 4 เท่ากับ 0.94 ฉบับที่ 5 เท่ากับ 0.99 แบบประเมินด้านผลผลิตมีความเชื่อมั่น 0.97 แบบประเมินความพึงพอใจทั้งฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 มีความเชื่อมั่น 0.98 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดย
ผู้ประเมินเก็บรวบรวมเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เปรียบเทียบกับเกณฑ์ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
     ผลการประเมิน
     ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ปีการศึกษา 2564 โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
     1. ด้านบริบท (Context) ของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด โดยมีความสอดคล้องกับความต้องการจำเป็น วัตถุประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดและโรงเรียน รวมทั้งมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
     2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านภาคีเครือข่าย รองลงมา คือ ด้านบุคลากร และด้านการบริหารจัดการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านงบประมาณ มีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก และด้านวัสดุอุปกรณ์ และสื่อการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
     3. ด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ กิจกรรมการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมการป้องกันและแก้ไข มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนา มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ กิจกรรมที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุดคือกิจกรรมการส่งต่อนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product) ของโครงการโดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกด้าน โดยด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านการป้องกันและแก้ไขด้านการเรียน รองลงมา คือ ด้านเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน ด้านความสามารถในการเรียนรู้ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามลำดับ
สำหรับความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีขึ้น ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ การเยี่ยมบ้านนักเรียน การติดต่อผู้ปกครองมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ นักเรียนทุกคนได้การดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง
ข้อเสนอแนะ
     ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรกำหนดหลักการและเหตุผลของโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด
2. ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบควรมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3. ควรให้การสนับสนุนจัดงบประมาณจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียนตามความเหมาะสม โดยการขอความร่วมมือกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนกิจกรรม
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ควรสำรวจความต้องการของนักเรียน สร้างบรรยากาศที่ดี และควรมีการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารที่รวดเร็วระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง
นักเรียน
5. การจัดกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้เรียน ควรจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับ
ปัญหาของนักเรียน ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียนตาม
ขอบข่ายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และควรชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้ปกครองนักเรียนอย่างเป็น
ขั้นตอนถึงแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาผู้เรียน
6. ควรนิเทศ ติดตาม และประเมินผลตามกระบวนการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อได้สารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการครั้งต่อไป
1. ควรศึกษากลยุทธ์การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
2. ควรศึกษาการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
3. ควรศึกษาแนวทางการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^