LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 18 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.กาฬสินธุ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.ประจวบคีรีขันธ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 24 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.กาญจนบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.กาญจนบุรี เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยฯ

usericon

ชื่อเรื่อง    รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัย ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

โดย    สงวนศักดิ์ ปัญใจแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
    
    
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน โดยมีวัตถุประสงค์ เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน 3) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน โดยการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งแยงในปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 43 คน การศึกษาสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 แห่ง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ยกร่างรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนทั้งสิ้น 12 คน และตรวจสอบร่างรูปแบบโดยการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบฯ จากผลการดำเนินงาน ด้านผลผลิต ด้านผลลัพธ์ และด้านผลกระทบ โดยการประชุมรับฟังความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูล จากนักเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน และคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงาน จำนวนทั้งสิ้น 144 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 4) การประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ด้านความเป็นประโยชน์ ความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบ โดยการสอบถาม คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 52 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน พบว่า
จากสภาพบริบทโรงเรียนที่เป็นชุมชนเกษตรกรรมส่งผลให้นักเรียนได้รับผลกระทบด้านสารเคมีปนเปื้อนทางการเกษตร จึงควรส่งเสริมการเพาะปลูกและบริโภคผักปลอดภัยในโครงการอาหารกลางวันและครอบครัว โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมเจตคติ ความรู้ คุณธรรม ทักษะในการปฏิบัติการ
ทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของ
ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดปัญหาและพัฒนาการดำเนินงานให้เกิดความยั่งยืน
2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน พบว่า รูปแบบฯ ประกอบด้วย
3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการปฏิบัติการ 3) ผลการดำเนินงาน ผลการตรวจสอบ
ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบฯ พบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ
มากที่สุดทุกองค์ประกอบ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
    3.1 ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนทุกคนได้รับการเสริมสร้างความตระหนัก เจตคติ ความรู้ คุณธรรม ทักษะในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการดูแลด้านสุขภาพ ผลการตรวจสารเคมมีปนเปื้อนทางการเกษตรในร่างกาย พบว่ามีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น มีความเสี่ยงลดลง ครูผู้สอนทุกคน ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และโรงเรียนได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
    3.2 ด้านผลลัพธ์ พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.65) และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านตามลำดับคือด้านผู้เรียน ( x-bar = 4.83)
ด้านสถานศึกษา ( x-bar = 4.82) ด้านครูผู้สอน ( x-bar = 4.74) ด้านผู้ปกครอง ( x-bar = 4.69) และ ด้านชุมชนและเครือข่ายทางการศึกษา ( x-bar = 4.68)
3.3 ด้านผลกระทบ ผลการประเมินโดยภาพรวม มีผลกระทบอยู่ในระดับมากที่สุด
( x-bar = 4.75) และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ตามลำดับ คือ มิติด้านสังคม ( x-bar = 4.84) มิติ
ด้านเศรษฐกิจ ( x-bar = 4.77) มิติด้านสิ่งแวดล้อม ( x-bar = 4.72) และมิติด้านวัฒนธรรม ( x-bar = 4.68)
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
4.1 ผลการประเมินด้านความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ พบว่า โดยภาพรวม เห็นว่ามีความเป็นประโชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.77) และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ตามลำดับคือ
( x-bar = 4.83) ด้านผู้เรียน ( x-bar = 4.80) ด้านครูผู้สอน ( x-bar = 4.77) และ ด้านผู้ปกครองและชุมชน รวมทั้งด้านเครือข่ายทางการศึกษา ( x-bar = 4.72)
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อรูปแบบฯ พบว่า โดยภาพรวม
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.77) และมากที่สุดทุกด้าน ตามลำดับคือ ด้านกระบวนการปฏิบัติการ ( x-bar = 4.84) ด้านผลการดำเนินงาน ( x-bar = 4.81) และ ด้านปัจจัยนำเข้า ( x-bar = 4.65)

songklodd 06 ธ.ค. 2565 เวลา 09:35 น. 0 392
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^