LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนบ้านนาคู

usericon

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านนาคู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
ผู้ประเมิน    นายวันชัย แทนกอง
ตำแหน่ง     ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ
สถานที่ทำงาน    โรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
ปีที่พิมพ์     2564

บทคัดย่อ
    การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและผลกระทบของการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่ร่วมผู้อำนวยการโรงเรียนและตัวแทนครู) ครู จำนวน 5 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 22 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 22 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
    1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ พบว่า โดยรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56) ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่ผลการประเมินสูงสุดคือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษาเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนการเสริมสร้างทักษะชีวิต และการคุ้มครองนักเรียน มีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75) รองลงมาคือ โครงการมีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโครงการมีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.67) และประเด็นประเมินที่มีความสอดคล้องต่ำสุด คือ โครงการมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ( = 4.33)
    2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินโครงการ พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41 ) ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่ผลการประเมินสูงสุดคือ ด้านภาคีเครือข่าย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54 ) รองลงมาคือด้านบุคลากร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48 ) ด้านการบริหารจัดการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42) ด้านวัสดุอุปกรณ์ และสื่อการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37) และด้านงบประมาณมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.25) ตามลำดับ
    3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนบ้านนาคู พบว่า โดยรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( =4.50) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ กิจกรรมการส่งเสริมนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53) รองลงมาคือกิจกรรม กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.52) กิจกรรมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) กิจกรรมกิจกรรมการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก( =4.48) และกิจกรรมกิจกรรมการส่งต่อนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 4.44) ตามลำดับ
    4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ ได้แก่
        4.1 ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูของโครงการ พบว่า ครูมีความเห็นว่า ผลการประเมินระดับความเหมาะสมด้านผลผลิตการดำเนินโครงการ โดยรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ( = 4.69) รองลงมา คือ ด้านเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67) ด้านความสามารถในการเรียนรู้ มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58) และด้านการป้องกันและแก้ไขด้านการเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 4.50) ตามลำดับ สรุปได้ว่าประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.2 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านนาคู พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนบ้านนาคู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 73.50 ซึ่งนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา (โรงเรียนกำหนดค่าเป้าหมายมาตรฐานของโรงเรียนมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร ผู้เรียนร้อยละ 70 บรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้งมีความก้าวหน้าในผลการ ทดสอบระดับชาติ ผลการทดสอบรายสาระการเรียนรู้ และ/หรือ ผลการทดสอบอื่น ๆ) โดยรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 75.10 และปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 86.96 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.86 รวมถึง ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 36.54 ปีการศึกษา 2564 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 39.73 มีผลการพัฒนา รวมเฉลี่ยเท่ากับ +6.30 อีกทั้ง ผลต่างจำนวนผลการเรียนรู้ 0 ร มส มผ ของนักเรียนปีการศึกษา 2563 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.13 และปีการศึกษา 2564 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.24 โดยภาพรวมผลการเรียนรู้ 0 ร มส มผ ลดลงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ -2.88
    5. ผลประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู ได้แก่ ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 โดยรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ทุกกลุ่มมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) และ ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54) ตามลำดับ
    สรุปได้ว่า ประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่าด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด และคุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็นผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ค่าเฉลี่ย GPA ≥ 2.00 และสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาระดับดี- ดีมาก ≥ ร้อยละ 90 และทุกประเด็นตัวชี้วัดสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง
    สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ที่ได้จากการประเมินโครงการในแต่ละด้าน สรุปได้ดังนี้
    1. ควรนำผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 เสนอหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานภายนอกและผู้ปกครองนักเรียน เพื่อให้ได้รับการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
    2. ควรมีการการวางแผน การปฏิบัติงานการดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
    3. โรงเรียนควรนำผลสรุปที่ได้จากการดำเนินโครงการเผยแพร่ในงานส่งเสริมประพฤตินักเรียนในสังกัดทุกแห่ง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและ ปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ
    4. ควรจัดให้มีโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปีการศึกษา มีการประเมินผลการดำเนินงานโครงการและขยายผลสำเร็จสู่ภายนอก
    5. โรงเรียนควรพัฒนาการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน

    
w.kinboon 22 พ.ย. 2565 เวลา 20:11 น. 0 289
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^