LASTEST NEWS

30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นนทบุรี - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นนทบุรี 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นครสวรรค์ 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นครศรีธรรมราช - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นครศรีธรรมราช 30 มี.ค. 2566สำนักงานศาลยุติธรรม รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 168 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้-24 เม.ย.2566 30 มี.ค. 2566(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นครพนม 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นครปฐม - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นครปฐม 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.ปราจีนบุรี นครนายก - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.ปราจีนบุรี นครนายก 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.ตาก - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.ตาก 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.เชียงใหม่ - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.เชียงใหม่

ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

usericon

ชื่อเรื่อง    ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย    นางสาวอรวิมล จันทร์พวง
ปีที่ศึกษา    2563

บทคัดย่อ

    ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลขามใหญ่บ้านหนองไผ่ สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD จำนวน 20 แผน 2) หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 5 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 4) แบบวัดทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย จำนวน 20 ข้อ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test (Dependent Sample)

ผลการวิจัย พบว่า
    1. ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.65/84.71
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3. ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.52, S.D. = 0.53)
aew.wet 08 พ.ย. 2565 เวลา 12:27 น. 0 185
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^