LASTEST NEWS

30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 30 มี.ค. 2566(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นราธิวาส - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นราธิวาส 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นนทบุรี - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นนทบุรี 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นครสวรรค์ 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นครศรีธรรมราช - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นครศรีธรรมราช 30 มี.ค. 2566สำนักงานศาลยุติธรรม รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 168 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้-24 เม.ย.2566 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นครพนม 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นครปฐม - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นครปฐม 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.ปราจีนบุรี นครนายก - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.ปราจีนบุรี นครนายก

รายงานผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

usericon

ชื่อเรื่อง           : รายงานผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านอุ้มผาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
ผู้ศึกษา : นายอิทธิฤทธิ์ พิเคราะห์
ประเภทสารนิพนธ์ : ผลงานทางวิชาการ
ปีที่พิมพ์           : 2565
บทคัดย่อ

    วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) รายงานผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านอุ้มผางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 2) เปรียบเทียบผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านอุ้มผางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำแนกตามตัวแปร การดำเนินการและตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ ประชากรที่ศึกษาครั้งนี้ได้แก่ คณะครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและตัวแทนครู) นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 1,026 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง
กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan,1970 : 608 - 609) ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 29 คน นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 128 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 128 คน ใช้ข้อมูลปีการศึกษา 2564 รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม
    
สรุปผลการศึกษา
    ตอนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง
        ผลการวิเคราะห์ ข้อมูลสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาค้นคว้าจำแนกตามตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ พบว่า เป็นคณะครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 10.18 เป็นนักเรียน จำนวน 128 คน คิดเป็นร้อยละ 44.91 เป็นผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 128 คน คิดเป็นร้อยละ 44.91
    ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านอุ้มผางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ใน 10 ด้าน
        ก่อนการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านอุ้มผาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 ใน 10 ด้าน ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร ในโรงเรียน รองลงมา ได้แก่ ด้านการกำหนดนโยบาย และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การออกกำลังกาย กีฬาและสันทนาการ
        หลังการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านอุ้มผาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 ใน 10 ด้าน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดอนามัยสิ่งแวดล้อมรองลงมา ได้แก่ ด้านการบริหารอนามัยโรงเรียน และระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การให้คำปรึกษาและสนับสนุน ทางสังคม
    ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านอุ้มผาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำแนกตามการดำเนินการและตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่
        1) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชน บ้านอุ้มผาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำแนกตามตัวแปร การดำเนินการ ในภาพรวมพบว่า ก่อนและหลัง การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านอุ้มผาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 10 ด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 10 ด้าน โดยหลังการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชน บ้านอุ้มผาง มีระดับความคิดเห็นสูงกว่าก่อนการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านอุ้มผาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชน บ้านอุ้มผาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำแนกตามตัวแปรตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ ในภาพรวมพบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 10 ด้าน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^