LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.พิจิตร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 28 มี.ค. 2567สพม.บึงกาฬ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.หนองคาย เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 21 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 18 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.สมุทรสาคร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี ตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model
ผู้รายงาน    นางสาวดวงฤทัย อังกินันท์
ปีการศึกษา    2565
บทคัดย่อ

    การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทการดำเนิน ประเมินปัจจัยนำเข้าประเมินกระบวนการของการดำเนินงาน ประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินงาน ประเมินผลกระทบ ประเมินประสิทธิผล ประเมินความยั่งยืน ประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ ของโครงการส่งเสริมการ อ่านออก เขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี ตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้บริหาร 4 คน ครูผู้สอน 60 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน โดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 291 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 291 คน โดยใช้สูตรการคำนวณของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์สถิติภาคบรรยาย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา    ผลการประเมินพบว่า
    1. ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.30) เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.27) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ อาคารสถานที่ ( =4.34) รองลงมา คือ ความพร้อมและศักยภาพของบุคลากร ( =4.30) ความพร้อมของสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และICT ( =4.28) และความพร้อมของงบประมาณ ( =4.19) ตามลำดับ
    3. ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.18) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การจัดกิจกรรมการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ ตามนโยบาย สพฐ. ( =4.21) รองลงมา คือ กระบวนการกำกับ ติดตาม ประเมินผล ( =4.18) และกระบวนการนำปัญหา อุปสรรค และการนำผลประเมินมาปรับปรุง ( =4.16) ตามลำดับ
    4. ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.15) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ คุณภาพของนักเรียนตามโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ ( =4.18) รองลงมาคือ ครูผู้สอนมีคุณภาพ ( =4.16) นักเรียนมีคุณภาพ ( =4.15) ผู้บริหารมีคุณภาพ ( =4.14) และผลงานต่าง ๆ ที่นักเรียนได้รับ ( =4.13) ตามลำดับ
        4.1 ด้านผลกระทบ โดยอยู่ในระดับมาก ( =4.32) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ส่งผลกับนักเรียน ให้นักเรียนมีทักษะในการอ่านและการเขียนที่มีประสิทธิภาพ ( =4.49) โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ส่งผลให้นักเรียนมีเจคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทยมากขึ้น ( =4.38) และโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ส่งผลให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีความเชื่อมั่นไว้วางใจในการให้บุตรหลานเข้ามาเรียน ( =4.28)
        4.2 ด้านประสิทธิผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.40) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ส่งผลให้นักเรียนชั้น ป.1 -6 มีผลด้านการอ่าน การเขียนในการประเมินความสามารถการอ่านการเขียนในระดับดีขึ้นไป อยู่ในระดับยอดเยี่ยม ( =4.42) โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ส่งผลให้นักเรียนมีผลด้านการอ่านออกเขียนได้อยู่ในระดับยอดเยี่ยม ร้อยละ 90 ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ( =4.41) ร้อยละ 80 นักเรียนมีคุณนิสัยรักการอ่านอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ( =4.39) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ ( =4.38)
        4.3 ด้านความยั่งยืน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.13) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้เป็นที่ต้องการของโรงเรียน และชุมชน ( =4.15) โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ( =4.13) และโรงเรียนกำหนดยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี ด้านการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ ( =4.12)
        4.4 ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.35) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้มีการขยายผลไปสู่โรงเรียนอื่น ( =4.48) มีแนวทางการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้กับโรงเรียนอื่น ( =4.38) โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับโรงเรียนอื่น ( =4.29) และโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้มีจุดเด่นในการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลที่มีคุณภาพมากขึ้น ( =4.38)
bnn123 16 ต.ค. 2565 เวลา 13:12 น. 0 326
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^