LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

usericon

การประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
นายสงวนศักดิ์ ปัญใจแก้ว
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน เป็นการประเมินโครงการตามแผนปฏิบัติกรประจำปีของโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ได้แก่
1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินได้แก่แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นในแต่ละด้าน เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage distribution) การวิเคราะห์ระดับ
ความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D. ) ซึ่งแบ่งการประเมินเป็น 4 ด้าน โดยผู้ประเมินได้ประยุกต์ใช้การประเมินตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบิ้ม (Daniel L. Stufflebeam) ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
    2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
    3. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
    4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
        4.1 การประเมินความความสอดคล้องและเหมาะสมของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษากับสภาพบริบทของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
4.2 การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพศึกษาของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

การประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
สรุปผลได้ดังนี้
    1.ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (x ̅= 4.77) โดยลำดับสูงสุดคือ ความสอดคล้องของโครงการ (x ̅= 4.80) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความจำเป็นของโครงการ และ ความเหมาะสมของโครงการ (x ̅= 4.75) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน
    2. ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.61) โดยลำดับสูงสุดคือ การบริหารจัดการ (x ̅= 4.80) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ บุคลากร (x ̅= 4.63) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และวัสดุอุปกรณ์ (x ̅= 4.55) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับที่ต่ำสุดคือ งบประมาณ (x ̅= 4.47) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.79) โดยลำดับสูงสุดคือ การขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ โดยกระบวนการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพด้วยวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Plan Do Check Action) (x ̅= 4.89) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก่ผู้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง การมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ และการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศของกิจกรรมในโครงการ (x ̅= 4.84) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับที่ต่ำสุดคือ การดำเนินงานโครงการสำเร็จตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด (x ̅= 4.68) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
    4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ตอนได้แก่
    4.1 ผลการประเมินความความสอดคล้องและเหมาะสมของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษากับสภาพบริบทของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.84) โดยลำดับสูงสุดคือ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (x ̅= 4.91) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (x ̅= 4.85) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมาได้แก่การกำหนดรูปแบบและคู่มือเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (x ̅= 4.84) ส่วนลำดับที่ต่ำสุดคือ การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา (x ̅= 4.79) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
    4.2 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.85) โดยลำดับสูงสุดคือ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
(x ̅= 4.89) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ มาตรฐานที่ 5 การมีส่วนร่วมของทีมองค์กรและเครือข่ายการศึกษา (x ̅= 4.87) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมาได้แก่มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (x ̅= 4.85) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน ส่วนลำดับที่ต่ำสุดคือ มาตรฐานที่ 4 การจัดและพัฒนาสภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ (x ̅= 4.82) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
    สรุปผลจากการประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ประยุกต์ใช้การประเมินตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบิ้ม (Daniel L. Stufflebeam) ทั้ง 4 ด้าน ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน ดังนั้นการดำเนินโครงการนี้จึงบรรลุตามจุดมุ่งหมายของโครงการตามที่ตั้งไว้
songklodd 14 ต.ค. 2565 เวลา 13:40 น. 0 221
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^