LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 2

รายงานการประเมินโครงการท้องคุ้งเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของโรงเรียนว

usericon

บทคัดย่อ รายงานการประเมินโครงการท้องคุ้งเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของโรงเรียนวัดท้องคุ้ง “ไพโรจน์ประชาสรรค์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโครงการท้องคุ้งเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ของโรงเรียนวัดท้องคุ้ง “ไพโรจน์ประชาสรรค์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 1 ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบจำลอง ซิปป์ (CIPP Model) ในการประเมินด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และ ด้านผลผลิต (Product) รวมทั้งการประเมินในด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัด การศึกษา ในปีการศึกษา 2563 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโครงการ จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนวัดท้องคุ้ง “ไพโรจน์ประชาสรรค์” จำนวน 15 คน และผู้เรียนในโครงการท้องคุ้งเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ของโรงเรียนวัดท้องคุ้ง “ไพโรจน์ประชาสรรค์” จำนวน 30 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จากคณะกรรมการบริหารโครงการ จํานวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน จำนวน 14 คน (ยกเว้นผู้บริหารโรงเรียน) และผู้เรียน ในโครงการท้องคุ้งเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของโรงเรียนวัดท้องคุ้ง “ไพโรจน์ประชาสรรค์ จำนวน 30 คน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 50 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ความคิดเห็นในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนโครงการท้องคุ้ง เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ของโรงเรียนวัดท้องคุ้ง “ไพโรจน์ประชาสรรค์” สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์และประเมินโครงการในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัย นําเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิ (Product) ของโครงการ เพื่อประเมินผล การดำาเนินงานโครงการและการจัดการศึกษานอกระบบของโรงเรียนวัดท้องคุ้ง “ไพโรจน์ประชาสรรค์” โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
1.1 ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
1.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
1.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินโครงการด้านความพึงพอใจของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามโครงการ ท้องคุ้งเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ของโรงเรียนวัดท้องคุ้ง “ไพโรจน์ประชาสรรค์” สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ ท้องคุ้งเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ของโรงเรียนวัดท้องคุ้ง “ไพโรจน์ประชาสรรค์” อยู่ในระดับมาก
3. ผลการศึกษาข้อมูลในการจัดการศึกษาตามโครงการ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา โครงการ พบว่า สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนมีศักยภาพที่ดี มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากร ผู้สอน แหล่งเรียนรู้ที่เพียงพอ เหมาะสม มีบรรยากาศที่ดี และสภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียน ไม่เป็น อุปสรรคต่อการจัดการศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้ตามนโยบายของหน่วยงานที่สังกัด มีนโยบาย การจัดการศึกษาชัดเจน มีบุคลากรหรือครูผู้สอน หลักสูตรการศึกษานอกระบบ สื่อเทคโนโลยีและ นวัตกรรมทางการศึกษา อุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องเรียนและสถานที่เรียนที่เหมาะสมเพียงพอ ต่อการจัดการศึกษา รวมทั้งผู้บริหารโรงเรียน คณะทำงานและคณะกรรมการบริหารโครงการ มีความ ร่วมมือและทำงานอย่างเป็นระบบ มีระเบียบกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน มีความเข้าใจ ตรงกัน ผู้บริหารมีการติดตามผลและประเมินผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอตามแผนงานการนิเทศ ที่กำหนด ส่วนสิ่งที่ควรพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่ การประสานงานและการจัดกิจกรรมร่วมกับ เครือข่ายการศึกษานอกระบบให้มากขึ้น และรวมทั้งพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง


อ่านต่อได้ที่: https://www.kruwandee.com/index.php?module=forum-write&cat=10
driveuser086 10 ต.ค. 2565 เวลา 19:18 น. 0 258
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^