LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ผลงานการวิจัยเจตคติที่มีต่อวินัยตนเอง รายวิชาการเป็นผู้ประกอบการ

usericon

https://drive.google.com/file/d/1BepLUhxeEfMX9BDKWEh3HyoaTzVUFxXZ/view?usp=sharing
รายงานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง “เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2563

โดย
นางพรฤทัย มณีวรรณ
ครู

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ

บทคัดย่อ

    การพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านวินัยในตนเอง การมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียน อีกทั้งสามารถเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านการเรียนให้มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และการเรียนรู้อย่างยั่งยืนเพื่อการดำรงชีวิตที่ดี





นางพรฤทัย มณีวรรณ
ผู้วิจัย



























สารบัญ
บทที่                                        หน้า
1 บทนำ                                    1
    ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า                    1
    ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า                        2
    ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า                        2
    นิยามศัพท์เฉพาะ                                2
2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง                        3
ความหมายของเจตคติ                            3
    องค์ประกอบของเจตคติ                            3
    ความหมายของวินัย                            4        ประเภทของวินัย                             5
    คุณลักษณะของผู้มีวินัยในตนเอง                        6
    การเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง                        6
    ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของความมีวินัยในตนเอง            7
    ลักษณะของบุคคลที่มีวินัยในตนเอง                    7
     ความอดทน                                 8
บทที่ 3    วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า                        9
    ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย                        9
    ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง                        10
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย                            10
    การเก็บรวบรวมข้อมูล                             10
    การวิเคราะห์ข้อมูล                            10
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล                 11
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ                    15
    การอภิปรายผล                                16
    ข้อเสนอแนะ                                21
    ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป                    21


บทที่ 1
บทนำ

    ในสังคมที่มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การพัฒนาเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ ประการเกื้อหนุนกัน แต่ปัจจัยหลักของการพัฒนา จำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ ซึ่งบุคคลที่มีคุณภาพนั้น จะต้องมีคุณสมบัติทั้งทางด้านสมรรถภาพทางร่างกายแข็งแรงและจิตใจที่ดี มีสติปัญญา มีความรู้ความสามารถ มีความอดทน ขยันขันแข็ง ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก เผชิญปัญหาและอุปสรรคด้วยความมุ่งมั่น คุณสมบัติเหล่านี้ จำเป็นต้องถูกหล่อหลอมให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลในรูปของคำว่า “วินัยในตนเอง” วินัยในตนเองเป็นวัฒนธรรมของสังคมที่ทุกคนต้องปฏิบัติเพราะจะทำให้บุคคลอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสุข วินัยในตนเองนี้เป็นคุณธรรมประการหนึ่งที่ทุกคนควรสร้างขึ้นสำหรับบังคับพฤติกรรมของตนเอง ทำให้คนเราบรรลุจุดหมายของชีวิตประสบความสุขความเจริญในชีวิต จึงเป็นวินัยที่ครูควรสร้างสรรค์ให้เกิดแก่เด็กในระดับมัธยมศึกษาที่พร้อมจะก้าวสู่การศึกษาต่อและการทำงานในองค์กร เพราะถ้าเด็กมีวินัยในตนเองนั้นจะทำให้เด็กได้ควบคุมพฤติกรรมของตนให้เป็นไปในทางที่ดีงามและประสบความสำเร็จในชีวิต จึงต้องดำเนินการฝึกให้เกิดผลอย่างจริงจัง เด็กนั้นนับว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดของประเทศ หากไม่ได้เตรียมพัฒนาเด็กให้เป็นทรัพยากรที่ดีแล้ว การพัฒนาประเทศอาจจะเป็นไปได้ไม่เต็มที่ จะเห็นได้ว่าความมีวินัยในตนเองเป็นลักษณะที่จำเป็นต้องปลูกฝังให้กับเยาวชน เมื่อเยาวชนมีวินัยในตนเองเป็นพื้นฐานและมีวินัยต่อสังคม ผลที่สุดก็จะวินัยต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติมีการพัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
    ผู้วิจัยได้เห็นความสำคัญของจริยธรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมด้านวินัยในตนเอง โดยเห็นว่าวินัยในตนเองเป็นคุณลักษณะในตัวบุคคลที่ควบคุมตนเองได้ ทั้งในด้านอารมณ์และพฤติกรรม ผู้ที่มีวินัยในตนเองจะเป็นบุคคลที่รู้จักกาลเทศะ สนใจและเอาใจใส่ต่อสังคม เป็นผู้ที่มีระเบียบและปฏิบัติตามกฎของสังคม
    จากการศึกษาความหมายและขอบข่ายและพฤติกรรมของความมีวินัยในตนเอง ทำให้ผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญของวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ผู้วิจัยจึงศึกษาเรื่อง “เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1.    เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน
2.    เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านความขยันอดทนทางการเรียน
3.    เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
    การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะทำให้ทราบถึงเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอน ครูแนะแนว ผู้ปกครองในการนำปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนมาสร้างเสริม พัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณค่ามีคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติสืบไป

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
    1. ประชากร ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ จำนวน 97 คน
    2. กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 19 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 38 คน ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ รวมจำนวน 57 คน
    3. ตัวแปรที่ศึกษา
     3.1 ตัวแปรอิสระ คือ เจตคติที่มี่ต่อวินัยในตนเองได้แก่
        3.1.1 วินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน
3.1.2 ความขยันอดทนทางการเรียน
3.1.3 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.2 ตัวแปรตาม คือ
         พฤติกรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
นิยามศัพท์เฉพาะ
    1. ความมีวินัยในตนเอง หมายถึง การกระทำของบุคคลในการประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมอย่างถูกต้อง และไม่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคม รวมถึงการให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ร่วมรับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ
    2. ความอดทน หมายถึง การกำหนดพฤติกรรมของตนเองให้มีความเข็มแข็ง ความหนักแน่นของจิตใจในการควบคุม อารมณ์ จิตใจ ร่างกาย ให้สามารถเผชิญเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
    3. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หมายถึง ความมุ่งมั่นของนักเรียนที่จะทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ตามมาตรฐานสูงสุดหรือเป็นไปตามที่นักเรียนวางไว้ โดยนักเรียนได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เมื่อมีอุปสรรคก็คิดหาทางแก้ไขโดยไม่ย่อท้อ รวมถึงการมุ่งมั่นตั้งใจให้การเรียนรู้ด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างเห็นได้ชัดเจน

บทที่ 2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

    ในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ผู้วิจัยได้จัดลำดับตามสาระดังนี้
1 ความหมายของเจตคติ
    2. องค์ประกอบของเจตคติ
    3. ความหมายของวินัย
    4. ประเภทของวินัย
    5. คุณลักษณะของผู้มีวินัยในตนเอง
    6. การเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง
    7. ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของความมีวินัยในตนเอง
    8. ลักษณะของบุคคลที่มีวินัยในตนเอง
    9. ความอดทน
    10. ความสำคัญและความหมายของความอดทน

ความหมายของเจตคติ
    เจตคติเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ อันเป็นผลเนื่องมาจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ และเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมหรือแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น ๆ ไปในทิศทางหนึ่ง อาจเป็นไปในทางสนับสนุนหรือคัดค้านก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขบวนการการอบรมให้การเรียนรู้ระเบียบวิธีของสังคม ซึ่งเจตคตินี่จะแสดงออกหรือปรากฏให้เห็นชัดในกรณีที่สิ่งเร้านั้นเป็นสิ่งเร้าทางสังคม

องค์ประกอบของเจตคติ
    องค์ประกอบของเจตคติมี 3 ประการ ได้แก่
    1. ด้านความคิด ( Cognitive Component) หมายถึง การรับรู้และวินิจฉัยข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับ แสดงออกมาในแนวคิดที่ว่าอะไรถูก อะไรผิด
    2. ด้านความรู้สึก ( Affective Component) หมายถึง ลักษณะทางอารมณ์ของบุคคลที่สอดคล้องกับความคิด เช่น ถ้าบุคคลมีความคิดในทางที่ไม่ดีต่อสิ่งใด ก็จะมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อสิ่งนั้นด้วย จึงแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกไม่ชอบหรือไม่พอใจ
    3. ด้านพฤติกรรม ( Behavior Component) หมายถึง ความพร้อมที่จะกระทำซึ่งเป็นผลมาจากความคิดและความรู้สึกและจะออกมาในรูปของการยอมรับหรือปฏิเสธ การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ

ความหมายของวินัย
    คำว่า วินัย หรือ ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Discipline มีผู้ให้คำนิยามไว้หลายลักษณะ อาทิ เช่น พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของวินัยไว้ ดังนี้ วินัยหมายความว่า ระเบียบสำหรับกำกับความประพฤติให้เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นกฎระเบียบแบบแผน ข้อตกลงที่สังคมกำหนดให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข
    นอกจากนี้การให้นิยามของวินัย ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันตามเงื่อนไขของการใช้คำว่า วินัย ว่ามีความมุ่งหมายเพื่ออะไร เช่น ในด้านการศึกษา การให้คำนิยามของวินัย จะมีความหมายถึง พฤติกรรมของครู ซึ่งมีเจตนาที่จะสร้างสรรค์และดำรงไว้ซึ่งเงื่อนไขที่มีความจำเป็นที่สุดในความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในการเรียนการสอนและพัฒนาความสามารถในการควบคุมตนเองของผู้เรียน ซึ่งระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่สถาบันการศึกษาได้กำหนดขึ้นให้ผู้เรียนต้องปฏิบัติตาม ถ้าฝ่าฝืนจะต้องมีการทำโทษตามกฎระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนดไว้
    ทั้งนี้จากเอกสารการสอนวิชาการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้สรุปความหมายของวินัยได้เป็น 2 แนวทาง คือ
    1. ความหมายในทางรูปธรรม หมายถึง ข้อปฏิบัติ หรือ แบบสำหรับคนในองค์กรในหมู่ ในเหล่า ในวงการแต่ละแห่ง โดยข้อปฏิบัติหรือแบบที่กำหนดไว้สำหรับสมาชิกในองค์กรนั้น ๆ จะเรียกว่า วินัย อาทิเช่น วินัยทหาร วินัยข้าราชการพลเรือนสามัญ
    ความหมายของวินัยในทางรูปธรรม สามารถนำไปใช้เป็นหลักในทางปฏิบัติได้ว่า
     1.1 วินัยในองค์กรต่าง ๆ อาจมีลักษณะแตกต่างกันออกไป การกระทำอย่างเดียวกันในองค์กรหนึ่งอาจจะไม่ถือว่าการปฏิบัติดังกล่าวเป็นความผิด
     1.2 ในการพิจารณาว่าการกระทำใดผิดวินัยหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าเป็นการกระทำที่ผิดข้อปฏิบัติ หรือผิดแบบของสมาชิดในองค์กรนั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีการกำหนดไว้ในข้อปฏิบัติ จะไม่ถือว่าเป็นความผิด หรือในกรณีกลับกันถ้าหากมีข้อปฏิบัติกำหนดไว้และมีการฝ่าฝืนก็ถือว่าผิดข้อปฏิบัติ
    1.3 ในการกำหนดระดับการลงโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดวินัย จะต้องพิจารณาการกำหนดความหนักเบาของโทษ โดยแตกต่างกันออกไปในแต่ละองค์กร
2. ความหมายในทางนามธรรม หมายถึง ลักษณะเชิงพฤติกรรม ( Behavior ) ที่แสดงออกมาเป็นการควบคุมตนเอง การยอมรับหรือปฏิบัติตามการนำ หรือ การบังคับบัญชา การมีระเบียบและการอยู่ในแบบแผน
    จากความหมายของวินัยในทางนามธรรม จะพบว่าโดยแท้จริงแล้ว วินัยที่ต้องการหาใช่ตัวข้อปฏิบัติ หรือตัวแบบแผนไม่ หากแต่วินัยที่ต้องการให้มี คือ การควบคุมตน การปฏิบัติตามข้อบังคับ การอยู่ในแบบแผน การปฏิบัติตามการนำ การปฏิบัติตามการบังคับบัญชา การมีระเบียบและลักษณะเชิงพฤติกรรมดังกล่าวจะแสดงออกมาด้วยสิ่งที่มาจากพื้นฐานทางจิตใจ ด้วยเหตุนี้ การที่จะทำให้ทุกคนในองค์กรมีวินัย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับพฤติกรรม ต้องพัฒนาจิตใจ ต้องนำต้องกำกับด้วย มิใช่มุ่งแต่จะพัฒนาหาทางกำหนดข้อปฏิบัติหรือระเบียบให้มีความครอบคลุมรัดกุมแต่เพียงอย่างเดียว หรือมุ่งแต่จะคอยลงโทษเมื่อมีสมาชิกในองค์กรคนใดคนหนึ่งกระทำการฝ่าฝืน ข้อปฏิบัติหรือระเบียบขององค์กร

ประเภทของวินัย
    หลักสำคัญของวินัยมีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ให้อยู่ในกรอบปฏิบัติเดียวกัน ด้วยเหตุที่แต่ละคนต่างมีภูมิหลังที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสภาวะแวดล้อม ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู ตลอดจนความเชื่อ ค่านิยมต่าง ๆ จึงเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้สมาชิกในสังคมแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการมาอยู่รวมกันจึงอาจจะทำให้เกิดการกระทำตามความพึงพอใจของตนเอง ฉะนั้นการมีแนวทางปฏิบัติเดียวกันจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายในสังคม จึงได้มีการแบ่งประเภทของวินัยเป็น 4 ประเภท คือ
1.    วินัยในตนเอง
2.    วินัยในห้องเรียน
3.    วินัยในโรงเรียน
4.    วินัยทางสังคม
แต่โดยส่วนใหญ่    แล้ว การแบ่งประเภทของวินัยโดยใช้เกณฑ์แหล่งที่มาของอำนาจที่ใช้ในการควบคุมพฤติกรรม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. วินัยภายนอก หรือ ส่วนรวม หรือวินัยสำหรับหมู่คณะ ( External Authority Discipline ) วินัยที่ออกมาจากอำนาจภายนอก เพื่อบังคับให้บุคคลทุกคนในสังคมปฏิบัติตามเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ดังนั้นการที่บุคคลใดประพฤติปฏิบัติตามก็ด้วยความเกรงกลัวอำนาจหรือการลงโทษ จึงเป็นการปฏิบัติตามที่บุคคลอยู่ในภาวะจำยอมจากการถูกควบคุม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการไม่ปฏิบัติตามวินัยซึ่งถูกกำหนด แต่ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว วินัยประเภทนี้จะตั้งกฎเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติไว้เป็นกลาง ๆ ดังนั้นทุกคนจึงสามารถประพฤติปฏิบัติตามได้
2. วินัยในตนเอง ( Self - Discipline ) หมายถึง แนวทางที่บุคคลเลือกปฏิบัติเพื่อบังคับตนเองให้ปฏิบัติตาม ทั้งนี้เกิดจากความสมัครใจโดยมิได้ถูกบังคับ ควบคุมจากอำนาจภายนอกแต่อย่างใด และข้อปฏิบัติดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อกฎระเบียบของสังคม ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายหลักคือ การเกิดความสงบสุขภายในสังคม
วินัยในตนเอง จึงเป็นความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมให้เป็นไปตามความต้องการของตน โดยมิได้เกิดจากการถูกบังคับจากอำนาจภายนอก หากแต่เกิดจากแรงกระตุ้นภายในของตัวบุคคลนั้น อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเกิดการเรียนรู้ว่าเป็นค่านิยมที่ดี ซึ่งสอดคล้องตามกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนของสังคม และไม่ก่อให้เกิดความยุ่งยากเดือดร้อนแก่ตนเองและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีสิ่งเร้าจากปัจจัยภายนอกและภายใน ก็ไม่เป็นอุปสรรคในการที่จะแสดงพฤติกรรมอย่างที่ตนหวังไว้

คุณลักษณะของผู้มีวินัยในตนเอง
    การที่บุคคลมีวินัยในตนเอง ย่อมหมายถึง บุคคลนั้นเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ด้วยเหตุที่ วินัยในตนเอง คือ ลักษณะที่มีความสำคัญต่อการแสดงออกทางคุณธรรมและจริยธรรม จึงสรุปได้ว่า บุคคลที่มีวินัยในตนเองควรมีคุณลักษณะและพฤติกรรมดังนี้ คือ มีความรับผิดชอบ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความตั้งใจ มีความอดทน มีความเป็นผู้นำ มีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา

การเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง
    หากต้องการที่จะปลูกฝังวินัยในตนเองควรที่จะเริ่มต้นในวัยเด็ก เพราะพฤติกรรมในช่วงวัยนี้จะจัดอยู่ในประเภทพฤติกรรมที่ยังไม่มีทิศทางที่แน่นอน (Doubtful Behavior) ซึ่งการแสดงพฤติกรรมจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และองค์ประกอบที่แวดล้อม ดังนั้น จึงง่ายต่อการปลูกฝังความมีวินัย และกระบวนการที่เหมาะสมและได้ผลดีที่สุด คือ การถ่ายทอดทางสังคม
การต้องการเสริมสร้างระบบการสร้างวินัยในตนเองที่ดี ไม่ควรมุ่งเน้นที่การลงโทษ อันเป็นวิถีทางที่จะส่งผลกระทบในทางลงเสียมากกว่า หากแต่การสร้างวินัยในตนเองที่ดีควรใช้แนวทางในการฝึกอบรมหรือให้ความรู้ ความเข้าใจมากกว่า โดยต้องทำความเข้าใจว่า เพราะเหตุใดจึงมีความต้องการและความจำเป็นขององค์กรในการที่ต้องการขอความร่วมมือจากสมาชิกในองค์กร ในส่วนของความมีวินัยเพื่อจะได้ไปสู่จุดหมายร่วมกัน โดยการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองมี 4 แนวทางดังนี้
1. เรียนรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ดึงวินัยขององค์กรที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ว่ามีแนวทางปฏิบัติหรือห้ามปฏิบัติอะไร อย่างไรบ้าง
2. สำนึกในหน้าที่ว่า จะต้องปฏิบัติตามแบบอย่างหรือต้องรักษาวินัยขององค์กร
3. ตระหนักถึงความสำคัญของวินัยว่า จะสร้างความเจริญ ความดีงามและความสำคัญให้แก่ทั้งตนเองและองค์กร
4. ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติในข้อห้ามอย่างเคร่งครัด
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แนะแนวทางในการส่งเสริมความมีวินัยในตนเองไว้ดังนี้
1.    สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
2.    ให้โอกาสเด็กที่จะริเริ่มทำกิจกรรมอย่างอิสระ
3.    สนับสนุนให้เด็กมีโอกาสคิดและตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
4.    เปิดโอกาสให้เด็กช่วยกันสร้างข้อตกลง
5.    แสดงความชื่นชมเมื่อเด็กปฏิบัติตามข้อตกลง ให้กำลังใจและช่วยเหลือเด็กที่
ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
6.    ทบทวนสิ่งที่ได้กระทำ โดยการถามหรือกล่าวชมเชย

ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของความมีวินัยในตนเอง
    คุณค่าของวินัย นั้นช่วยให้กลุ่มคนหรือสังคมต่างๆ อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ซึ่งวินัยไม่ได้หมายถึง กฎเกณฑ์ หรือ ระเบียบ ข้อบังคับ ในกลุ่มชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่ยังหมายถึงกฎเกณฑ์หรือระเบียบวินัยในตนเองด้วย กลุ่มสังคมใดที่มีสมาชิกที่มีวินัยในตนเองมาก วินัยในสังคมนั้นก็อาจไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างมากนัก เพราะทุกคนในสังคมจะมีความรับผิดชอบสูงและสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ไม่เบียดเบียนกัน และมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างดี
    จุดมุ่งหมายของวินัยทั้งหลายนั้นมิใช่การควบคุมพฤติกรรมของนักเรียนให้เป็นแนวทางที่ผู้ใหญ่ต้องการ แต่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของวินัย คือ เพื่อให้เด็กเกิดความต้องการที่จะกระทำสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์แก่สังคมด้วยตนเอง มิใช่จากสิ่งที่อยู่แวดล้อมหรือการบังคับบัญชา วินัยที่ดีเกิดขึ้นจากแรงผลักดันภายในตัวเองมากกว่าแรงบังคับจากภายนอก คือ ความมีวินัยในตนเอง
    ประโยชน์ความมีวินัยในตนเอง
-    ช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมเป็นระเบียบเรียบร้อย
-    ช่วยให้เด็กมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง
-    ช่วยสร้างความสามัคคีปรองดองให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ
-    ช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ตนเอง
-    ช่วยให้ครูและนักเรียนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในการเรียนการสอน
-    ช่วยส่งเสริมหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ลักษณะของบุคคลที่มีวินัยในตนเอง
    วินัยเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาเด็กเพราะช่วยต่อเติมความปรารถนาของเด็กให้เต็ม รวมทั้งให้เกิดการปรับตัวทางบุคลิกภาพและสังคมอย่างมีสุข บุคคลที่มีวินัยในตนเองจะมีคุณลักษณะและพฤติกรรม ดังนี้
1.    มีความรับผิดชอบ
2.    เชื่อมั่นในตนเอง
3.    มีความรู้สึกผิดชอบ
4.    ไม่กังวลใจ
5.    มีความตั้งใจจริง ใจคอมั่นคง
6.    มีลักษณะความเป็นผู้นำ
7.    มีความซื่อสัตย์ จริงใจ มีเหตุผล
8.    กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ
9.    มี่ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและไม่เกรงใจโดยปราศจากเหตุผล
10.    มีความอดทน

ความอดทน
    ความสำคัญและความหมายของความอดทน
    ความอดทน คือ ความเข็มแข็ง ความหนักแน่นของจิตใจในการควบคุมอารมณ์ จิตใจ และร่างกายให้สามารถเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้
    การที่บุคคลจะทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ต้องอาศัยการฝึกฝน ความเพียรพยายามและที่สำคัญต้องมีความอดทนในสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบ เพื่องานสิ่งนั้นจะได้สำเร็จลุล่วง การฝึกความอดทนมีหลายอย่าง เช่น อดทนต่อความลำบาก อดทนต่อความทุกข์ อดทนต่อความเจ็บใจ อดทนต่ออำนาจกิเลส ฯลฯ
    การที่คนเราจะมีระเบียบวินัยได้ต้องอาศัยความอดทนในตัวเอง จึงนำไปสู่ความเป็นพลเมืองที่ดี ความอดทนจึงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้บุคคลเกิดวินัยขึ้น เช่น การเข้าแถวซื้ออาหาร อดทนในการทำงานต่าง ๆ อดทนและทำตามกฎของบ้านเมือง ผู้ที่มีวินัยในตนเองสูง จะมีความรับผิดชอบสูง มีความวิตกกังวลต่ำ มีความอดทน มีเหตุผลของตนเอง มีความยืดหยุ่นในความคิดและพฤติกรรมทางสังคม












บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

    การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่
ได้ดำเนินการศึกษาตามลำดับดังนี้
1.    ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
2.    ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4.    การเก็บรวบรวมข้อมูล
5.    การวิเคราะห์ข้อมูล

1. ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนในการวิจัยไว้ดังนี้
    1. ศึกษาหลักการ ทฤษฏี แนวความคิดเกี่ยวกับความหมาย ประโยชน์ ลักษณะวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. กำหนดกรอบความคิดในการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบความคิด เพื่อทำการศึกษาสภาพความมีวินัยในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่
3. กำหนดวัตถุประสงค์
4. กำหนดกลุ่มประชากร สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ได้กำหนดกลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ จำนวน 97 คน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 19 คน และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 38 คน ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ รวมเป็นจำนวน 57 คน
5. สร้างเครื่องมือการวิจัย การสร้างเครื่องมือการวิจัย ผู้วิจัยศึกษาจากหลักการ ทฤษฎี แนวคิด วัตถุประสงค์ เพื่อจำแนกว่าควรสร้างเครื่องมือวัดด้านใดบ้าง ให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ที่ต้องการศึกษา
6. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยนำเครื่องมือที่สร้างขึ้น ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถามและเก็บข้อมูลด้วยตนเอง
7. การสรุปผลการวิจัยและนำเสนอผลการวิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลและเขียนสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล

2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    1. ประชากร
กลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ จำนวน 97 คน
2.    กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 19 คน และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 38 คน ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ รวมจำนวน 57 คน

3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อศึกษา “เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่
    3.1 ศึกษาหลักการ ทฤษฏี แนวความคิดเกี่ยวกับความหมาย ประโยชน์ ลักษณะวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนต่อและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.2 ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบความคิด เพื่อทำการศึกษาสภาพความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่
การสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัย แบ่งแบบสอบถามออกเป็น 3 ส่วน คือ
3.2.1 ความมีวินัยในห้องเรียน
3.2.2 ความขยันอดทน
3.2.3 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยนำเครื่องมือที่สร้างขึ้น ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถามและเก็บข้อมูลด้วยตนเอง

5. การวิเคราะห์ข้อมูล
    ผู้วิจัยใช้ค่าร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

    ในบทนี้ผู้วิจัยจะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ จำนวน 57 คน ตามแนวทางการศึกษา เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน

ตารางที่ 1 เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน
ข้อ    คำถาม    ทำประจำ
%    ทำบางครั้ง
%    ไม่เคยทำ
%
1.    ขณะเรียนวิชาหนึ่ง นักเรียนมักนำงานวิชาอื่นขึ้นมาทำ    0    68.42    31.58
2.    นักเรียนพูดคุยกับเพื่อนในขณะที่ครูกำลังสอน    8.77    45.61    45.62
3.    นักเรียนส่งการบ้านตรงตามเวลาที่ครูกำหนด    75.44    24.56    0.00
4.    เมื่อนักเรียนทำข้อสอบไม่ได้ นักเรียนแอบดูข้อสอบเพื่อนในห้องสอบ    0    10.53    89.47
5.    นักเรียนแอบนอนหลับในชั่วโมงเรียน    7.01    29.82    63.17
6.    นักเรียนเล่นกับเพื่อนขณะที่ครูสอน    0.00    26.32    73.68
7.    นักเรียนอ่านหนังสือการ์ตูน ขณะที่ครูสอน    0.00    14.04    85.96
8.    นักเรียนลอกการบ้านเพื่อน    0.00    28.07    71.93
9.    เมื่อใดที่รู้สึกไม่เข้าใจ นักเรียนจะถามครู    57.89    19.30    22.81

    จากตารางที่ 1 จากแบบสอบถามนักเรียน เกี่ยวกับเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน พบว่า
ขณะเรียนวิชาหนึ่ง นักเรียนมักนำงานวิชาอื่นขึ้นมาทำ นักเรียนที่ทำบางครั้ง มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 68.42 %
นักเรียนพูดคุยกับเพื่อนในขณะที่ครูกำลังสอน นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 45.62 %
นักเรียนส่งการบ้านตรงตามเวลาที่ครูกำหนด นักเรียนที่ทำประจำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 75.44 %
เมื่อนักเรียนทำข้อสอบไม่ได้ นักเรียนแอบดูข้อสอบเพื่อนในห้องสอบ นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 89.47 %
นักเรียนแอบนอนหลับในชั่วโมงเรียน นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 63.17 %
นักเรียนเล่นกับเพื่อนขณะที่ครูสอน นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 73.68%
นักเรียนอ่านหนังสือการ์ตูน ขณะที่ครูสอน นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 85.96%
นักเรียนลอกการบ้านเพื่อน นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 71.93 %
เมื่อใดที่รู้สึกไม่เข้าใจ นักเรียนจะถามครู นักเรียนที่ทำประจำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 57.89 %

ตารางที่ 2 เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านความขยันอดทน
ข้อ    คำถาม    ทำประจำ
%    ทำบางครั้ง
%    ไม่เคยทำ
%
10.    นักเรียนทำการบ้านเสมอก่อนออกไปเล่น    50.88    31.58    17.54
11.    นักเรียนหลีกเลี่ยงงานที่คุณครูมอบหมาย    0    19.30    80.70
12.    นักเรียนไม่เคยอดทนทำการบ้าน    15.79    33.33    50.88
13.    ในการทดลอง นักเรียนจะพยายามทดลองจนเสร็จ    50.88    33.33    15.79
14.    เวลาใกล้สอบ นักเรียนดูหนังสือเอง โดยผู้ปกครองไม่ต้องบังคับ    75.44    15.79    8.77
15.    เมื่อนักเรียนทำผิด จะพยายามแก้ไขโดยไม่ท้อแท้    70.18    24.56    5.26

    จากตารางที่ 2 จากแบบสอบถามนักเรียน เกี่ยวกับเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านความขยันอดทน พบว่า
นักเรียนทำการบ้านเสมอก่อนออกไปเล่น นักเรียนที่ทำประจำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 50.88 %
นักเรียนหลีกเลี่ยงงานที่คุณครูมอบหมาย นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 80.70 %
นักเรียนไม่เคยอดทนทำการบ้าน นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 50.88 %
ในการทดลอง นักเรียนจ
nene.boy.aoy 06 ต.ค. 2565 เวลา 17:42 น. 0 308
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^