LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชุมพร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชุมพร เขต 1 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนาศักยภาพครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ Active Learning

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนาศักยภาพครูเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัด
        การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์
        นวัตกรรมของนักเรียนโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
        การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ผู้วิจัย        นายราเมศร์ รุ่งรวยศรี
ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ
        โรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
        การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ปีที่วิจัย    2564

บทคัดย่อ

    ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 7 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 15 คน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ได้ดำเนินการ 2 วงรอบ ในแต่ละวงรอบ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) และการสะท้อนกลับ (Reflection) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบก่อน-หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม แบบบันทึกการนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
    ผลการวิจัย พบว่า
    1. สภาพและปัญหาของครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม พบว่า ครูไม่มีความมั่นใจ ขาดการพัฒนาตนเองในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning ) ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียน และขาดความเข้าใจในการส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมส่งผลให้ครูจัดการเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
    2. แนวทางการพัฒนาครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียน ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางในการพัฒนา 3 แนวทาง 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศภายใน และในวงรอบที่ 2 ใช้การนิเทศแบบประชุมเชิงนิเทศ
    3.    การติดตามผลการพัฒนาครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning ) ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียน พบว่า ดำเนินการเป็น 2 วงรอบ ในวงรอบ ที่ 1 นั้น สามารถพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning ) ได้ แต่ยังพบว่า บางส่วนยังไม่เป็นที่พอใจ การดำเนินกิจกรรมบางอย่างไม่มีความเหมาะสม และเนื้อหาสาระไม่ต่อเนื่องกัน ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยได้ดำเนินการประชุมอีกครั้ง เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ถึงจุดที่ยังบกพร่อง และเปิดโอกาสให้ทุกคนเสนอแนะถึงข้อที่ควรแก้ไข ที่จะนำไปใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning ) ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นใช้การนิเทศภายในโดยการสังเกตและสอบถาม ผลปรากฏว่า ครูทั้ง 15 คน สามารถเขียนแผนและนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Rames_r24 28 ก.ย. 2565 เวลา 20:22 น. 0 382
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^