LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการบริหารเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรีย

usericon

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางปุณยวีร์ จิตศรัทธา
ตำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา
โรงเรียน บ้านอาจสามารถ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการบริหารเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านอาจสามารถ ในครั้งนี้ได้ผสมผสานกับเทคนิคการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ PAOR แบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research Methodology) เป็นลักษณะการวิจัยเชิงผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารเสริมสร้างนวัตกรรม เพื่อให้ครูคิดสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านอาจสามารถ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และการนำเสนอรายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการ PAOR อิงแนวคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Approach) ประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 96 คน มาจาก 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้จัดการศึกษา 2) กลุ่มผู้รับบริการ และ 3) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยได้ดำเนินการศึกษาการบริหารเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูของครู ประกอบด้วยปัจจัย (Factors) 4 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 2) การพัฒนาการจัดการความรู้ (Knowledge Management) 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (Professional Learning Community) 4) การพัฒนาความก้าวหน้าเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ (Expert Professional Development) สถิติที่ใช้ในการวิจัยเป็นสถิติพื้นฐาน เช่น การแจกแจงความถี่ (IOC) ค่าเฉลี่ย (x ̅ ) หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. หรือ ) และค่าร้อยละ (%) เป็นต้น นอกจากนี้ได้หาค่าความตรง ความเที่ยง (Reliability) ของเครื่องมือวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมาตราส่วนประมาณค่า รวมถึงการหาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา (-Coefficient) เป็นต้น
ผลการวิจัยพบว่า เครื่องมือแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Co efficient) = 0.98 ผู้มีส่วนได้ส่วน (Stakeholders) มีเจตคติพึงพอใจในภาพรวมต่อการบริหารเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าร้อยละ= 91.94 ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) การพัฒนาการจัดการความรู้ 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ และ 4) การพัฒนาความก้าวหน้าเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ปรากฏว่า สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 2.67, S.D.= 0.671) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (x ̅ = 3.00, S.D.= 0.000) รองลงมาได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (x ̅ = 2.83, S.D.= 0.387) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การพัฒนาการจัดการความรู้ (x ̅ = 2.52, S.D.= 2.054) สภาพพึงประสงค์ โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.29, S.D.= 0.466) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (x ̅ = 4.56, S.D.= 0.514) รองลงมา ได้แก่ การพัฒนาการจัดการความรู้ (x ̅ = 4.41, S.D.= 0.514) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การพัฒนาความก้าวหน้าเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ (x ̅ = 4.06, S.D.= 0.614) ส่วนลำดับดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index) ของโรงเรียนบ้านอาจสามารถ เรียงจากความต้องการจำเป็นมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การพัฒนา การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (PNI = 3.56) รองลงมา การพัฒนาการจัดการความรู้ (PNI = 3.41) และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PNI = 3.11) ตามลำดับ สำหรับด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด ได้แก่ การพัฒนาความก้าวหน้าเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ (PNI = 3.06) ตามลำดับ
carry53 27 ก.ย. 2565 เวลา 20:49 น. 0 228
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^