LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม

เผยแพร่ผลงานวิชาการของนางสาวนันทรัตน์ คงทน

usericon

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

ชื่อผู้ประเมิน นางสาวนันทรัตน์ คงทน รองผู้อำานวยการโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบซิปป์โมเดล ของ

สตัฟเฟิลบีม ในการประเมินโครงการโดยมีวิธีดำเนินการประเมิน ดังนี้ แบ่งการประเมินออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ ประเมินด้านบริบท โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ และความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ และประเมินด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ และกิจกรรม

ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินด้านกระบวนการเกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ ได้แก่ การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามและประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงและพัฒนา และ

ระยะที่ 3 หลังสิ้นสุดโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินพฤติกรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง จำนวน 517 คน ใช้เครื่องมือประเภทแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ตามรูปแบบของลิเคิร์ท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมิน พบว่า

1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ

มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ของโครงการ

มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของผู้อำานวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ความเหมาะสมและความเพียงพอของกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความเหมาะสมและความเพียงพอของอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำาหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ การดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การวางแผน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ การติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช มี2 ตัวชี้วัด ดังนี้

4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตัวชี้วัด พฤติกรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวม อยู่ในระดับ คุณภาพ ดี– ดีเยี่ยม 99.36% ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีระดับคุณภาพ ดี– ดีเยี่ยม 100% จำนวน 3 ข้อ คือ ข้อที่ 1 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ข้อที่ 5 อยู่อย่างพอเพียง และข้อที่ 7 รักความเป็นไทย

4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำาหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ โรงเรียนมีความพร้อมในการดำเนินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ โรงเรียนดำเนินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
nuntarat4075 26 ก.ย. 2565 เวลา 15:20 น. 0 320
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^