LASTEST NEWS

30 มี.ค. 2566(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นราธิวาส - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นราธิวาส 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นนทบุรี - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นนทบุรี 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นครสวรรค์ 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นครศรีธรรมราช - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นครศรีธรรมราช 30 มี.ค. 2566สำนักงานศาลยุติธรรม รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 168 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้-24 เม.ย.2566 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นครพนม 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.นครปฐม - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.นครปฐม 30 มี.ค. 2566ประกาศผลย้ายครู 2566 ครั้งที่ 1 สพม.ปราจีนบุรี นครนายก - ผลย้ายครู 2566 รอบที่ 1 สพม.ปราจีนบุรี นครนายก

รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญาในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนบ้านจาเราะปะไต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3
ผู้วิจัย     นายชนกนันท์ พะสุโร
หน่วยงาน     โรงเรียนบ้านจาเราะปะไต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
     การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านจาเราะปะไต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) 2) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ (Process) 3) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Outcome) โดยใช้รูปแบบการประเมินซีโป (CPO’s Evaluation Model) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย ครู จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 31 คน และตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ฉบับ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบสังเกตและวิเคราะห์เอกสาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
    1. การประเมินปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ พบว่า ลักษณะของโครงการมีความต้องการจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสังคมในปัจจุบัน และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอด คล้องกับบริบทของสังคม ส่วนความเป็นไปได้ของโครงการ ความพร้อมและทรัพยากรอยู่ในระดับมาก
2. การประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ โดยรวมพบว่า การดำเนินงานด้านนี้อยู่ในระดับมากที่สุด โดยครูได้ทำความรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ทำการคัดกรองนักเรียน รวมทั้งมีการส่งเสริมนักเรียนกลุ่มปกติและนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือมีปัญหา ป้องกันและช่วยเหลือ และส่งต่อนักเรียน
3. การประเมินผลผลิตของโครงการ โดยรวมพบว่า การดำเนินงานด้านนี้อยู่ในระดับมากที่สุด และคุณลักษณะของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
     จากผลจากการประเมินในแต่ละด้าน ทำให้สามารถสรุปผลการประเมินในภาพรวมได้ว่า การดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญาในศตวรรษที่ 21 นี้ ได้ผลในระดับมากที่สุด และโครงการมีประโยชน์สำหรับนักเรียน โรงเรียนควรจะดำเนินการโครงการนี้ต่อไป

chanok.c 25 ก.ย. 2565 เวลา 11:03 น. 0 164
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^