LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (2564)

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา
ผู้ประเมิน    นายจรินทร์ ฤทธิเดช
        รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ปีการศึกษา    2564

บทคัดย่อ

    ในการรายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา
2) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา และ 3) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Output) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา
    ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ซึ่งประชากรประกอบไปด้วย 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลในการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Output) กลุ่มที่ 2 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 486 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลในการประเมินด้านผลผลิต (Output) ส่วนกลุ่มตัวอย่าง
การประเมินครั้งนี้ ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน กลุ่มที่ 2 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 486 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บและรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564
โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา 2) แบบสอบถามการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา 3) แบบบันทึกข้อมูลด้านประเมินผลผลิต (Output and Product Evaluation) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา 4) แบบบันทึกข้อมูลรายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา ปีการศึกษา 2563 และ 2564 และ 5) แบบบันทึกข้อมูลรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา ปีการศึกษา 2563 และ 2564 ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .958 - .971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    ผลการวิจัย พบว่า
    การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564
โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา สรุปได้ดังนี้
        1) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า การดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา โดยภาพรวมมีระดับความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65 และ = .15) เมื่อพิจารณาในภาพรวมแต่ละด้าน พบว่าด้านวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ มีระดับความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71 และ = .26) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การบริหารจัดการ มีระดับความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70 และ =.27) และงบประมาณ มีระดับความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58 และ =.20) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด สรุป ได้ว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.65 และ = .15)
อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        2) ผลการประเมินด้านกระบวนการ การดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา โดยภาพรวมมีระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับมาก ( = 4.80 และ = .26) เมื่อพิจารณาในภาพรวมแต่ละด้าน พบว่า ด้านการนิเทศติดตาม (C)
มีระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.93 และ = .18) และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา (A) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80 และ = .26) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด สรุปได้ว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ด้านกระบวนการโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564
โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.80 และ = .26) อยู่ในระดับมากที่สุด
ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        3) ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา โดยภาพรวมมีระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76 และ
= .28) สรุปในแต่ละตัวชี้วัดได้ดังนี้
            3.1) ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.76 และ = .28)
อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในภาพรวมแต่ละด้าน พบว่าด้านการส่งต่อ มีระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.87 และ = .27) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข มีระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70 และ = .40) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
            3.2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยภาพรวม สูงกว่าปีการศึกษา 2563 โดยคิดเป็นร้อยละ 6.63 และเมื่อพิจารณาผลการเปรียบเทียบแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยร้อยละมากที่สุดเท่ากับร้อยละ 12.28 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาฯ มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยร้อยละน้อยที่สุดเท่ากับร้อยละ 0.47 ซึ่งค่าร้อยละของความแตกต่างในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน
            3.3) ผลการเปรียบเทียบผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ
ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยภาพรวม สูงกว่าปีการศึกษา 2563 โดยคิดเป็นร้อยละ 1.78 และเมื่อพิจารณาผลการเปรียบเทียบรายข้อการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า ข้อที่ 6 มุ่งมั่นในการทำงาน มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยร้อยละมากที่สุดเท่ากับร้อยละ 2.90 คะแนน ส่วนข้อที่ 2 ซื่อสัตย์สุจริต มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยร้อยละน้อยที่สุดเท่ากับร้อยละ 1.20 ซึ่งค่าร้อยละของความแตกต่างในทุกรายข้อการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผ่านเกณฑ์การประเมิน
jarin172522 21 ก.ย. 2565 เวลา 20:58 น. 0 376
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^