LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

รายงานการประเมินโครงการ โครงการน้อมนำศาสตร์พระราชา

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการ โครงการน้อมนำศาสตร์พระราชา
        ส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านริมทะเล
        อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
ผู้ประเมิน    สมโภชน์ ศรีสมุทร ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้ายริมทะเล

ปีที่ศึกษา    พ.ศ. 2565

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

        การประเมินโครงการโครงการน้อมนำศาสตร์พระราชา ส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านริมทะเล อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินบริบท (Context evaluation) ของโครงการซึ่งประกอบด้วยความต้องการจำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของสถานศึกษา และความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ของโครงการซึ่งประกอบด้วยความเพียงพอและความเหมาะสม ของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และการบริหารจัดการโครงการ เพื่อประเมินกระบวนการ (Process evaluation) ของโครงการ ซึ่งประกอบด้วยความเหมาะสมของการปฏิบัติงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ได้แก่ การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามและประเมินผล การนำผลไปปรับปรุงพัฒนา ของโครงการ และเพื่อประเมินผลผลิต (Product evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องของผลการดำเนินงานตามโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินรูปแบบจำลองซิป (CIPP Model) ในการประเมิน ซึงเป็นแบบจำลองที่เน้นกิจกรรมการประเมินควบคู่ไปกับการบริหารงาน โดยประกอบด้วยการประเมิน 4 ประเภท และมีลักษณะสอดคล้องกับโครงสร้างของระบบงานโดยทั่วไป คือ ด้านบริบท (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product evaluation) กลุ่มตั้งอย่างที่ใช้ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านริมทะเล จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านริมทะเล จำนวน 5 คน นักเรียน จำนวน 54 และผู้ปกครองโรงเรียนบ้านริมทะเล จำนวน 39 คน รวมเป็น 103 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 3 ช่วง โดยใช้แบบสอบามช่วงละ 1 ฉบับ จำแนกตามด้านนี่ต้องการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสามารถสรุปได้ ดังนี้
        ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามการประเมินโครงการน้อมนำศาสตร์พระราชา ส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านริมทะเล อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา โดยการหาค่าความถี่และค่าร้อยละ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านริมทะเล คิดเป็นร้อยละ 52.43 เพศของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.40 อายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ อายุ ต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.43 ในส่วนของระดับการศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ระดับประถมศึกษา คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 คิดเป็นร้อยละ 52.43
        ในส่วนของผลการประเมินโครงการ สามารถสรุปได้ตามวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ตามรูปแบบการประเมิน CIPP Model จำนวน 4 ด้าน โดยการหาค่าเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ดังนี้ พบว่าโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด(X ̅=4.67, S.D.=0.14) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า
        ด้านบริบท(Context evaluation) ในภาพรวมมีระดับความเหมาะสมของบริบท หรือสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับเหามะสมมากที่สุด (X ̅=4.54, S.D.=0.16) โดยมีความพร้อมในด้านต่อไปนี้ โครงการมีกิจกรรม กระบวนการสอดคล้องกับ ศาสตร์พระราชา และแนวปรัชญาของของเศรษฐกิจพอเพียง โครงการมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการทรงงานตามศาสตร์พระราชา และโครงการมีกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมที่สอดดล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนเรื่องที่ยังต้องพัฒนาเพิ่มเติมได้แก่ โครงการมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และชุมชน โครงการมีกิจกรรม และกระบวนการสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา และโครงการมีกิจกรรมที่ชัดเจน สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุนชน และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการ คือ ควรมีการสำรวจความต้องการจำเป็นของชุมชนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ควรเน้นและให้ความสำคัญกับการปฏิบัติจริงและความเป็นไปได้ของโครงการ และเนื่องด้วยแต่ละชุมชนมีความแตกต่างด้านอาชีพจึงควรศึกษาบริบทที่คลอบคลุมทุกอาชีพ
        ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) โดยภาพรวมมีระดับความพร้อมของโครงการมากที่สุด (X ̅=4.65 , S.D.=0.23) โดยมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โครงการมีการจัดโครงสร้างงานกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของ คณะกรรมการบริหารโครงการชัดเจน โครงการมีผู้นำโครงการที่มีภาวะผู้นำ ประสบการณ์ในการบริหารโครงการและ โรงเรียนมีสถานที่ในการทำกิจกรรมเพียงพอและเหมาะสม ส่วนข้อที่ควรมีการพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม และเพียงพอ มีคณะบุคคลรับผิดชอบงานกิจกรรมที่เหมาะสมเพียงพอ และคณะกรรมการโครงการมีความรู้ และประสบการณ์ ด้านศาสตร์พระราชา เกษตร แบบผสมผสาน และเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการ คือ ควรมีการวางแผนการดำเนินงานจากสถานศึกษาร่วมกับภาคีเครือข่าย ควรมีการศึกษาดูงาน ร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายและสถานศึกษา และควรมีการจัดอบรมขยายผลมีความเหมาะสม
        ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) โดยภาพรวมมีกระบวนการดำเนินงาน การปฏิบัติงานระดับมากที่สุด (X ̅= 4.69, S.D.=0.22) โดยมีการดำเนินการปฏิบัติงานได้แก่ มีการพัฒนาบุคลากรของโครงการอย่างต่อเนื่อง การดำเนินโครงการมีการประชาสัมพันธ์เป็นระยะ ๆด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ชัดเจน การดำเนินงานแต่ละกิจกรรมใช้หลักการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และมีการกำหนดวิธีการประเมินผลโครงการที่เหมาะสม ชัดเจน ส่วนข้อที่ควรมีการพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ ขณะดำเนินโครงการมีการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งเป็นระยะ ๆ ให้เป็นไปตามแนวทางศาสตร์พระราชา และหลักปรัชญาของของเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินโครงการใด้รับความสนไจเป็นอย่างดีจากนักเรียน และ ผู้ปกครองและ การดำเนินโครงการได้รับความร่วมมือจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี จากครูในโรงเรียน และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการ คือ ควรเพิ่มการประสานงานกับหน่วยงานนอกสถานศึกษาเพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามความเหมาะสม เช่น วิทยากรจากเกษตรอำเภอเกาะยาว ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น ควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบถึงโครงการและกิจกรรม และการดำเนินโครงการควรคำนึงถึงมาตรฐาน และตัวชีวัดของหลักสูตร
        ด้านผลผลิต (Product evaluation) โดยภาพรวมพบว่า มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (X ̅= 4.81, S.D.=0.11) โดยมีระดับความพึงพอใจ ในข้อต่าง ๆได้แก่ นักเรียนเกิดพฤติกรรมขยัน ประหยัด ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และรับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้องทุกภาพส่วนมีความพอใจในการดำเนินโครงการ และ นักเรียนมีลักษณะพฤติกรรมที่มีความพอดี มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี ส่วนข้อที่ต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพและ เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเชิงประชาธิปไตย ในการคำเนินงานโครงการ และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการ คือ ควรจัดกิจกรรมให้หลากหลายมากกว่านี้เพื่อตรงกับความต้องการของผู้เรียน ควรเพิ่มกิจกรรมที่ฝึกทักษะอาชีพให้กับผู้เรียนมากขึ้น และ ควรสร้างผลิตภัณฑ์ที่นักเรียนสามารถจำหน่ายไปยังชุมชนภายนอกได้
sorfee28 19 ก.ย. 2565 เวลา 14:07 น. 0 290
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^