LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ขอนแก่น - ผลย้ายครู 2567 สพม.ขอนแก่น 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่

การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสวนศรีวิทยา

usericon

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
    รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล CIPP Model กลุ่มตัวอย่างการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ในปีการศึกษา 2564 ได้แก่ นักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 225 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากมีนักเรียนจำนวนมาก ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-6 จำนวน 75 คน ครูจำนวน 75 คน และผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 75 คน ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามประมาณค่าระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.89 - 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
1.การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมผลการประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า การประเมินความต้องการจำเป็นของการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมระดับมาก รองลงมาคือ ความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและต้นสังกัด ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความพร้อมของสถานศึกษา ตามลำดับ
2.การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมผลการประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ มีความเหมาะสมระดับมาก รองลงมาคือบุคลากรของสถานศึกษา สื่อและวัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณ ตามลำดับ
3.การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมผลการประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ การดำเนินงานตามแผน มีความเหมาะสมระดับมาก รองลงมาคือ การกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ การรายงานผลและประชาสัมพันธ์ และ การนิเทศ กำกับ ติดตามผลการประเมินผล ปรับปรุงพัฒนา ตามลำดับ
4.การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ทั้ง 4 ตัวชี้วัด พบว่า ด้านผลการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมาก และด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในแต่ละด้านพบว่า
4.1ด้านผลการดำเนินงานโครงการซึ่งประเมินโดยครู พบว่า การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการจัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความร่วมมือของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาด้านต่างๆ และด้านความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านและโรงเรียน ตามลำดับ
4.2ด้านผลการดำเนินงานโครงการซึ่งประเมินโดยผู้ปกครอง พบว่า การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านความร่วมมือของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาด้านต่างๆ มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านและโรงเรียน และด้านการจัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ตามลำดับ
4.3ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียน
สวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ที่มีต่อการดำเนินโครงการ พบว่าโดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากทุกตัวชี้วัด
4.3.1 ด้านความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 10 ข้อ โดยรวมผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ข้อ 9 ครูได้ช่วยเหลือนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ยากจน และบ้านไกล มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ข้อ2 โครงการสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อ 3 โครงการมีประโยชน์และส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ข้อ8 ครูรับรู้และมีข้อมูลนักเรียนรายบุคคลครบทุกคน ข้อ10 ครูร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาด้านต่างๆ ของนักเรียนได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ ข้อ4 นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการ ข้อ5 นักเรียนเข้าใจตนเองและผู้อื่นสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ข้อ6 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และข้อ7 นักเรียนที่มีปัญหาสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้ ตามลำดับ
4.3.2 ด้านความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 10 ข้อ โดยรวมผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ข้อ 10 ครูร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาด้านต่างๆ ของนักเรียนได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ข้อ8 ครูมีข้อมูลนักเรียนรายบุคคลครบทุกคน ข้อ3 โครงการมีประโยชน์และส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ข้อ5 นักเรียนเข้าใจตนเองและผู้อื่นสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและข้อ9 ครูได้ช่วยเหลือนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ยากจน และบ้านไกล ข้อ2 โครงการสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อ7 นักเรียนที่มีปัญหาสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้ ข้อ6 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อ1 โครงการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด และข้อ4 นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการตามลำดับ
4.3.3 ด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 10 ข้อ โดยรวมผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ข้อ 10 ครูร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาด้านต่างๆ ของนักเรียนได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ข้อ5 นักเรียนเข้าใจตนเองและผู้อื่นสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ข้อ8 ครูมีข้อมูลนักเรียนรายบุคคลครบทุกคน ข้อ 7 นักเรียนที่มีปัญหาสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้ ข้อ 9 ครูได้ช่วยเหลือนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ยากจน และบ้านไกล ข้อ3 โครงการมีประโยชน์และส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ข้อ6นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อ1 โครงการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ข้อ2 โครงการสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม และข้อ 4 นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการตามลำดับ
    ผลการประเมินโครงการในภาพรวมพบว่าโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร อยู่ในระดับมาก ดังนั้นจึงควรให้มีการดำเนินงานตามโครงการนี้ต่อไป ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการกำกับติดตามผล การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
ข้อเสนอแนะ
1.ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงโครงการในโอกาสต่อไป
1.1ผู้บริหารควรจัดกิจกรรมให้นักเรียน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและขยายโครงการไปยังโรงเรียนใกล้เคียง จัดโครงการให้คลอบคลุมสู่ชุมชนให้มากขึ้นและควรประเมินผลกระทบจากการดำเนินโครงการที่มีต่อโรงเรียนและชุมชน
1.2นำผลการประเมินเป็นข้อมูลในการพัฒนาการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
1.3ในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา ควรปรับลดในเรื่องของเอกสารตามโครงสร้างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความซ้ำซ้อนให้น้อยลงเพื่อลดภาระของครู
1.4ในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยาควรมีการอบรมครูที่มาบรรจุใหม่ให้เข้าใจถึงขั้นตอนวิธีการของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 5 ขั้นตอนเพื่อให้มีความเข้าใจและมีความชัดเจนในการดำเนินงาน
2.ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
    2.1 การประเมินโครงการลักษณะนี้ควรจะประเมินไปถึงผลกระทบ การขยายผลและความยั่งยืน เมื่อโครงการสิ้นสุดไปแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
    2.2 ควรประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบอื่นๆมาเทียบเคียง เช่น การประเมินโดยใช้รูปแบบของKirkpatrick เป็นต้น
    2.3 การประเมินโครงการที่นักเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการในโอกาสต่อไป ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมตั้งแต่ก่อนเริ่มดำเนินงานจนสิ้นสุดการดำเนินงาน
darawadee_p 13 ก.ย. 2565 เวลา 13:48 น. 0 250
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^