LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การพัฒนารูปแบบมดงาน 4 ประสาน 4 H เพื่อเสริมสร้างความซื่อสัตย์

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบมดงาน 4 ประสาน 4 H เพื่อเสริมสร้างความซื่อสัตย์ของนักเรียน
โรงเรียนวัดท่าช้าง
ผู้วิจัย นางสาวศุทธิดา ทองชอุ่ม
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความต้องการจำเป็น ในการพัฒนารูปแบบมดงาน 4 ประสาน 4 H เพื่อเสริมสร้างความซื่อสัตย์ของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าช้าง พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความซื่อสัตย์ ตรวจสอบรูปแบบเสริมสร้างความซื่อสัตย์ เปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างความซื่อสัตย์ 3 ด้าน คือ ด้านความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ด้านความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น ด้านความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ และเปรียบเทียบความพึงพอใจของครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดท่าช้าง จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยเป็นแบบสำรวจ จำนวน 3 ฉบับ แบบสังเกต จำนวน 1 ฉบับ และแบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และเปรียบเทียบการมีความซื่อสัตย์ก่อนและหลังโดยใช้ค่าที
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบมดงาน 4 ประสาน 4 H เพื่อเสริมสร้างความซื่อสัตย์ของนักเรียนโรงเรียนวัดท่าช้าง พบว่า นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความซื่อสัตย์อยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบ
    2. ผลการพัฒนารูปแบบมดงาน 4 ประสาน 4 H เพื่อเสริมสร้างความซื่อสัตย์ของนักเรียน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ขั้นตอน เริ่มจาก 1) ทีมงานเป็นหนึ่ง 2) รู้ซึ่งหน้าที่ 3) ร่วมมือร่วมใจ 4 )แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) มุ่งมั่นหลักชัย 6) เติมเต็มศักยภาพ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการประสานความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และชุมชน ใช้หลัก 4 H คือ H 1 = Hearts (ร่วมใจ) H2 = Heads(ร่วมคิด) H3 = Hands (ร่วมมือ) และ H4 = Hugs (ร่วมโอบกอด) และส่งผลให้เกิดการพัฒนาความซื่อสัตย์ของนักเรียนที่มีประสิทธิผล 3 ด้าน คือ ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ส่วนผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่า ด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และได้ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
    3. ผลการเปรียบเทียบการใช้รูปแบบมดงาน 4 ประสาน 4 H เพื่อเสริมสร้างความซื่อสัตย์ของนักเรียน 3 ด้าน พบว่า ด้านความซื่อสัตย์ต่อตนเองนักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง อยู่ในระดับมาก และพัฒนาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น อยู่ในระดับมาก และพัฒนาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่อยู่ในระดับมากที่สุด และพัฒนาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจ พบว่า ความพึงพอใจของครู อยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับความพึงพอใจของผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05









Krups2536 13 ก.ย. 2565 เวลา 10:22 น. 0 335
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^