LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.กรุงเทพมหานคร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 28 มี.ค. 2567สพม.นนทบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สระบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 1 28 มี.ค. 2567สพป.สตูล รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการ PLC

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยา
ผู้รายงาน     นายสุนทร พริกจำรูญ
หน่วยงาน     โรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยา
ปีที่ประเมิน     ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยา มีวัตถุประสงค์การประเมิน 4 ด้าน ด้วยรูปแบบซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) ได้แก่ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู 3) ความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินการโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครู 5) คุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา จำแนกเป็น 5.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียน 5.2) สมรรถนะสำคัญของนักเรียน 5.3) การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน 5.4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และ 5.5) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปี 6 โดยศึกษาจาก กลุ่มตัวอย่าง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ประชากร คณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน จำนวน 10 คน ครูผู้สอน จำนวน 26 คน นักเรียน จำนวน 424 คน และผู้ปกครอง จำนวน 424 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 12 ฉบับ มี 2 ลักษณะ 1) แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .87-.96 2) แบบบันทึกคุณภาพผู้เรียน จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ 2.1) แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2.2) แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียน 2.3) แบบบันทึกการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน 2.4) แบบบันทึกการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 2.5) แบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
    1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยา ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.50, S.D. = 0.55) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 8.4 จากค่าน้ำหนัก 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.48, S.D. = 0.56) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 8.4 จากค่าน้ำหนัก 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการนิเทศภายใน มีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.53, Sigma = 0.54) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 8.4 จากค่าน้ำหนัก 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยา ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.33, S.D. = 0.55) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 8.6 จากค่าน้ำหนัก 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.37, S.D. = 0.54) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 8.8 จากค่าน้ำหนัก 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการนิเทศภายใน มีความเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.28, Sigma = 0.55) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 8.4 จากค่าน้ำหนัก 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยา ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมทุกด้านที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.46, Sigma = 0.48) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 18.2 จากค่าน้ำหนัก 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 4.63, Sigma = 0.48) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 จากค่าน้ำหนัก 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านการวางแผนพัฒนา มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.51, Sigma = 0.54) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 จากค่าน้ำหนัก 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามมาด้วยด้านการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.50, Sigma= 0.50) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 จากค่าน้ำหนัก 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านการปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.42, Sigma = 0.49) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 4 จากค่าน้ำหนัก 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้านการสะท้อนผล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (Mean = 4.31, Sigma = 0.52) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3.2 จากค่าน้ำหนัก 4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 ระดับคุณภาพการนิเทศภายในของโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยา ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.60, Sigma = 0.49) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 จากค่าน้ำหนัก 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและรายตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการฝ่ายบริหารมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุนปัจจัยเอื้อ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 4.77, Sigma = 0.42) อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ รายการผู้บริหารและครูรับทราบนโยบายการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด และรายการการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและห้องเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูและการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.73 , Sigma = 0.44) อยู่ในระดับ มากที่สุด ส่วนรายการมีกิจกรรม Coaching & Mentoring, Peer Coaching การสังเกตชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (Mean = 4.35, Sigma = 0.48) อยู่ในระดับ มาก
    4.2 ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยา ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.51, Sigma = 0.68) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 14 จากค่าน้ำหนัก 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและรายตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 4.63, Sigma = 0.49) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 จากค่าน้ำหนัก 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านการวางแผนออกแบบการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.60, Sigma = 0.49) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 จากค่าน้ำหนัก 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.46, Sigma = 0.54) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 จากค่าน้ำหนัก 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.3 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยา พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.57, Sigma = 0.49) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 จากค่าน้ำหนัก 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและรายตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการการมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางและเป้าหมายการเรียนรู้ของครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 4.77 , Sigma = 0.42) อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมา คือ รายการการสื่อสารและมีปฏิทินการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.69 , Sigma = 0.46) อยู่ในระดับ มากที่สุด ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การสะท้อนคิดและการถอดบทเรียนหลังปฏิบัติการร่วมกันของครู มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.42, Sigma = 0.49) อยู่ในระดับ มาก
    4.4 ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยา ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.57, Sigma = 0.49) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 จากค่าน้ำหนัก 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและรายตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.56, Sigma = 0.50) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 จากค่าน้ำหนัก 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผู้ปกครองมีความพึงพอใจโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (Mean = 4.58, Sigma = 0.49) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 จากค่าน้ำหนัก 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 คุณภาพผู้เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 โรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยา ปีการศึกษา 2564 จำแนกเป็น
4.5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย GPA เท่ากับ 2.79 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2.4 จากค่าน้ำหนัก 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.2 สมรรถนะสำคัญของนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 81.56 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 1.8 จากค่าน้ำหนัก 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.3 การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 86.51 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 1.8 จากค่าน้ำหนัก 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 92.63 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2.4 จากค่าน้ำหนัก 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.5.5 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ค่าคะแนนเฉลี่ยรวมระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.40 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 จากค่าน้ำหนัก 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละระดับชั้น พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 มีค่าคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 31.84 และปีการศึกษา 2564 มีค่าคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 31.40 โดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง ร้อยละ -0.44 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 2.77 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.49 ขณะที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (วิชาภาษาอังกฤษ) มีค่าคะแนนเฉลี่ยลดลงมากที่สุด ร้อยละ -3.70 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง ร้อยละ -3.30 ส่วนผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 มีค่าคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 25.97 และปีการศึกษา 2564 มีค่าคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 28.81 โดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.84 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 10.28 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ร้อยละ 2.26 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (วิชาภาษาอังกฤษ) เพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ร้อยละ 0.33
สรุปผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยาโดยใช้กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ ปีการศึกษา 2564 ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 90.60 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินครอบคลุมทั้ง 4 ด้านของการประเมินโครงการตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ค่าน้ำหนัก 10 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า ค่าน้ำหนัก 10 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านกระบวนการ ค่าน้ำหนัก 20 ได้คะแนนเฉลี่ย 18.2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านผลผลิต ค่าน้ำหนัก 60 ได้คะแนนเฉลี่ย 55.4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^