LASTEST NEWS

16 เม.ย. 2567โรงเรียนบ้านลานช้าง รับสมัครนักการภารโรง วุฒิไม่ต่ำกว่า ม.3 เงินเดือน 9,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 18 - 22 เมษายน 2567 15 เม.ย. 2567เปิดคุณสมบัติ ตำแหน่งนักการภารโรง สพฐ.จัดสรร 13,751 อัตรา วุฒิไม่ต่ำกว่า ม.3 เงินเดือน 9,000 บาท 15 เม.ย. 2567ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม) 15 เม.ย. 2567ศาลปกครองนครศรีธรรมราช ห้ามผู้บังคับบัญชา ออกคำสั่งให้ครู-บุคลากร อยู่เวร 15 เม.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ แจ้งเรื่อง การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ. 2567  14 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 14 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สระแก้ว เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระแก้ว เขต 1 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.เชียงราย เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงราย เขต 4 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 1

การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อำเภอศีขรภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ผู้วิจัย นางสาวรชยา เสียงสนั่น
ปีที่พิมพ์ 2564

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของบุคลากรครูโรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อาเภอศีขรภูมิ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ก่อนการฝึกอบรมกับหลังฝึกอบรม (2) เพื่อพัฒนาบุคลากรโรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อาเภอศีขรภูมิ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรครูโรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อาเภอศีขรภูมิ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งผู้วิจัยได้นาเอาหลักการและขั้นตอนตามแนวคิดของ Kermmis และ McTaggart มาใช้ในการดาเนินการวิจัย โดยมีการดาเนินงาน 2 วงรอบ (Spiral) ซึ่งประกอบด้วย ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นการปฏิบัติ (Action) ขั้นการสังเกต (Observation) และขั้นการสะท้อนผล (Reflection) โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศ และการนิเทศแบบกัลยาณมิตร กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีจานวน 4 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย และผู้ร่วมวิจัย มีความยินดีสมัครใจร่วมจานวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบประเมิน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulatiom Technique) และนาเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อาเภอศีขรภูมิ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ในวงรอบที่ 1 โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศ ทาให้ครูมีความรู้ความเข้าใจและสามารถเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้อย่างดี ส่วนการนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ปรากฏว่าครูยังมีจุดบกพร่องที่จะต้องได้รับการพัฒนา ในขั้นตอนการนาเสนอผลงาน และขั้นตอนการสานองค์ความรู้ (Summarize : S) จึงมีการพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยใช้กลยุทธ์การนิเทศแบบกัลยาณมิตร ทาให้ครูทั้งหมดมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และนาแผนการจัดการเรียนรู้ ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบุคลากรครูโรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อาเภอศีขรภูมิ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
โดยสรุป การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อาเภอศีขรภูมิ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศ และการนิเทศแบบกัลยาณมิตร ทาให้ครูได้รับความรู้ความเข้าใจ เกิดทักษะ สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ จึงควรให้นากลยุทธ์ดังกล่าว ไปใช้ในการพัฒนาครู ในสถานศึกษาอื่นต่อไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^