LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง
ในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย     นางสาวปัทมากร คชเสนา
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด    โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” กองการศึกษาเทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัด
สุรินทร์     
ปีที่พิมพ์    2564
        บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลเชิงประจักษ์ของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้ 2.1 เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิทยาศาสตร์กายภาพ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2.2 ศึกษาทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ พัฒนาสูงขึ้นในช่วงเวลาระหว่างเรียน 2.3 ศึกษาทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 ด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ อยู่ในระดับดี 2.4 ศึกษาพัฒนาการจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในช่วงระหว่างเรียน 4 ระยะ 2.5 ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นที่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” สังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลากห้อง (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดเชิงวิพากษ์และด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อวิธีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่เป็นอิสระ สถิติทดสอบเอฟกรณีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
     1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่ารูปแบบการเรียนการสอนพีไอเอพีไออีดี (PIAPIED Model) มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ซึ่งกระบวนการเรียนการสอน มี 7 ขั้นตอน คือ 1) เตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Preparation : P) 2) ร่วมกันตั้งคำถามเพื่อการสืบเสาะและการแก้ปัญหา (Identifying Enquiry Question and Problem Solving : I) 3) การวิเคราะห์ปัญหา (Analysis : A) 4) การเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา (Production : P) 5) ดำเนินการสืบเสาะและแก้ปัญหา (Investigating and Problem Solving : I) 6) ขั้นขยายความรู้ (Extending of New Knowledge : E) 7) การพัฒนาและเผยแพร่ผลงาน (Developing and Distributing the Results : D) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ (PIAPIED Model) ที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถนำไปทดลองใช้ได้ และผลการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) โดยการทดลองภาคสนาม (Field Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมเท่ากับ 86.34 /85.50 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
        2. ผลการตรวจสอบประสิทธิผลเชิงประจักษ์ของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้                     
         2.1 ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิทยาศาสตร์กายภาพ ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ (PIAPIED Model) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( x= 35.14, S.D. = 1.28) สูงกว่าก่อนเรียน ( x= 15.48, S.D. = 1.03) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไป ตามสมมติฐานของการวิจัยข้อที่ 2.1
         2.2 จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ (PIAPIED Model) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( x= 4.53, S.D. = 0.50) สูงกว่าก่อนเรียน
( x= 1.40, S.D. = 0.49) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของ
การวิจัยข้อที่ 2.1
        2.3 ทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ (PIAPIED Model) พัฒนาขึ้นในช่วงระยะเวลาระหว่างเรียนอยู่ในระดับสูงทุกระยะและมีพัฒนาการสูงขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยข้อที่ 2.2 โดยระยะที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระยะที่ 1, ระยะที่ 2 และระยะที่ 3
        2.4 ทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ (PIAPIED Model) อยู่ในระดับดีซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยข้อที่ 2.3
        2.5 จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ (PIAPIED Model) มีพัฒนาการในช่วงระยะเวลาระหว่างเรียนอยู่ในระดับสูงทุกระยะ และมีพัฒนาการสูงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยข้อที่ 2.4 โดยระยะที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระยะที่ 1, ระยะที่ 2 และระยะที่ 3         
        2.6 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการการใช้รูปแบบการเรียนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ (PIAPIED Model) พบว่า ในภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x=4.78, S.D. = 0.42) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านพฤติกรรมจิตวิทยาศาสตร์และด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x=4.80, 4.76, S.D. = 0.40, 0.43) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.5
kunteera2561 31 ส.ค. 2565 เวลา 05:03 น. 0 451
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^