LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การพัฒนาผลการเรียนรู้และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์

usericon

การพัฒนาผลการเรียนรู้และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์”
    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” เทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน
4 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 70 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น
21 คน โดยการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) จำนวน 8 แผน
2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก จำนวน 1 ฉบับ (Pretest – Posttest) เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการการจัดกิจกรรมการเรียนรูตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบชุดกิจกรรม จำนวน 15 ข้อ

         ผลการวิจัยพบว่า
    1. ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรูตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นมี สามารถนำไปทดลองใช้ได้ และผลการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) โดยการทดลองภาคสนาม (Field Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมเท่ากับ 87.44 / 87.08 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย
ข้อที่ 1                         
    2. ผลการเรียนรู้ เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ( X-bar= 35.38, S.D. = 0.74) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการเรียนรู้เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกของนักเรียนก่อนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ความรู้ ( X-bar=17.76, S.D. = 0.77) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
     3. นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก ( X-bar =8.87, S.D. = 0.61) เมื่อพิจารณาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์เป็นรายด้าน อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดดังนี้ นักเรียนมีความสามารถด้านการวิเคราะห์การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ( =8.95, S.D. = 0.59) รองลงมาคือการวิเคราะห์เชิงหลักการ ( X-bar=10=8.90, S.D. = 0.62) ลำดับที่สามคือ ด้านการวิเคราะห์ความสำคัญหรือเนื้อหา ( X-bar=8.76, S.D. = 0.62) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3
     4. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (X-bar = 4.67 S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักเรียนมีความเห็นด้วยมากที่สุดทุกด้านเรียงตามลำดับดังนี้ นักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่สุด ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ( X-bar
= 4.74 S.D. =0.44) รองลงมา ด้านบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ (X-bar =4.73 S.D.= 0.45) รองลงมา ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ( X-bar=4.68,S.D. =0.47) และลำดับสุดท้าย ด้านเนื้อหา X-bar =4.53,S.D. = 0.50) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4

kunteera2561 31 ส.ค. 2565 เวลา 04:59 น. 0 318
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^