LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 28 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ปัตตานี เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ตรัง เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตรัง เขต 2 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยติ่ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน นายจรูญ สินาปัน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยติ่ง วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่ประเมิน 2565

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยติ่ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยติ่ง ด้านบริบท ด้านปัจจัย
นำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมินในครั้งนี้
ได้แก่ ครู จำนวน 7 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน นักเรียนจำนวน 26 คน และ
ผู้ปกครอง จำนวน 74 คน รวมทั้งสิ้น 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถาม จำนวน
6 ฉบับ ได้แก่
1. แบบสอบถามเพื่อประเมินบริบท (Context) มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า
(Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ใช้สอบถามครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. แบบสอบถามเพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณ
ค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 84 ข้อ ใช้สอบถามครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. แบบสอบถามเพื่อประเมินกระบวนการ (Process) มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน
ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ ใช้สอบถามครู และกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน
4. แบบสอบถามเพื่อประเมินผลผลิต (Product) เกี่ยวกับพฤติกรรมการมีคุณธรรม
จริยธรรมของนักเรียน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน
96 ข้อ ใช้สอบถามครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง
5. แบบสอบถามเพื่อประเมินผลผลิต (Product) เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ
ส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยติ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating
Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ใช้สอบถามครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และ
ผู้ปกครองข
6. แบบสอบถามเพื่อประเมินผลกระทบ (Impact) การดำเนินงานตามโครงการส่งเสริม
คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยติ่ง มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า
(Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ ใช้สอบถามครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (μ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (�)
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านบริบท โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้าน
ห้วยติ่ง ตามการประเมินของครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า กิจกรรมย่อย
ทั้ง 6 กิจกรรม มีความเหมาะสมและสอคล้องกับนโยบายของกระทรวง นโยบายของสำนักงาน
คณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย
เขต 2 นโยบายโรงเรียน หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ความต้องการ และความจำเป็นของ
โรงเรียน อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้ากิจกรรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ในภาพรวมมี
ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกรายการ ปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมการทำความดี ในภาพรวมมี
ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา ในภาพรวมมีความ
เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมการสร้างเสริมคุณธรรมประจำวันศุกร์ ในภาพรวม
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมโครงงานคุณธรรม ในภาพรวมมีความ
เหมาะสมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมทำบุญตักบาตรทุกวันพระ ในภาพรวมมีความ
เหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินกิจกรรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน
ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก กระบวนการดำเนินกิจกรรมการทำความดี ในภาพรวมมีการ
ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก กระบวนการดำเนินกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา ในภาพรวมมีการปฏิบัติ
อยู่ในระดับมาก กระบวนการดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมคุณธรรมประจำวันศุกร์ ในภาพรวม
มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก กระบวนการดำเนินกิจกรรมโครงงานคุณธรรม ในภาพรวมมีการปฏิบัติ
อยู่ในระดับมาก และกระบวนการดำเนินกิจกรรมทำบุญตักบาตรทุกวันพระ ในภาพรวมมีการปฏิบัติ
อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน พบว่า
1) พฤติกรรม ด้านความรับผิดชอบ ในภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแยกเป็นรายการ พบว่า แจ้งให้ครู อาจารย์ทราบทุกครั้งเมื่อพบว่าทรัพย์
สมบัติของโรงเรียนเสียหาย มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนยอมรับผลการกระทำของตนเอง
มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยต่ำสุดค
2) พฤติกรรม ด้านความซื่อสัตย์ ในภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแยกเป็นรายการพบว่า ไม่หยิบสิ่งของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต มีระดับ
การปฏิบัติค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนไม่คดโกง มีความตั้งใจจริงในการทำงาน มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ย
ต่ำสุด
3) พฤติกรรม ด้านความมีเหตุผล ในภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแยกเป็นรายการ พบว่า ยอมรับผลการกระทำของตนเอง มีระดับการ
ปฏิบัติค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนเคารพสิทธิและหน้าที่ของกันและกัน มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยต่ำสุด
4) พฤติกรรม ด้านความกตัญญูกตเวที ในภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับ
มาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแยกเป็นรายการ พบว่า จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์
มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ มีระดับการ
ปฏิบัติค่าเฉลี่ยต่ำสุด
5) พฤติกรรม ด้านความมีวินัย ในภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อ
พิจารณาในรายละเอียดแยกเป็นรายการ พบว่า ไม่คุยหรือเล่นกันเสียงดังในห้องสมุด มีระดับการ
ปฏิบัติค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนทำความเคารพครูอาจารย์ทั้งที่เคยสอนและไม่เคยสอน มีระดับการปฏิบัติ
ค่าเฉลี่ยต่ำสุด
6) พฤติกรรม ด้านความเสียสละ ในภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแยกเป็นรายการ พบว่า เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มีระดับ
การปฏิบัติค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนช่วยเหลือเพื่อนทุกครั้งที่เพื่อนเดือดร้อน มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ย
ต่ำสุด
7) พฤติกรรม ด้านความสามัคคี ในภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแยกเป็นรายการ พบว่า ร่วมมือร่วมใจกับเพื่อนในการพัฒนาโรงเรียน
มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนร่วมกันฝึกซ้อมกีฬาของโรงเรียน มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยต่ำสุด
8) พฤติกรรม ด้านการประหยัด ในภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแยกเป็นรายการ พบว่า มีความประหยัดและรู้คุณค่าในการจ่ายเงิน
มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนมีสมุดธนาคารเป็นของตนเองและมีการฝากเงินอย่างสม่ำเสมอ มี
ระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยต่ำสุด
9) พฤติกรรม ด้านการพึ่งตนเอง ในภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแยกเป็นรายการ พบว่า กระตือรือร้นหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง
เสมอ มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนช่วยเหลือตนเองจนสุดความสามารถก่อนที่จะขอร้องให้
ผู้อื่นช่วย มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยต่ำสุดง
10) พฤติกรรม ด้านความขยันหมั่นเพียร ในภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ใน
ระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแยกเป็นรายการ พบว่า มีความตั้งใจที่จะศึกษาหาความรู้จาก
แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ อยู่เสมอ มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนเมื่อได้รับมอบหมายงาน จะทำงาน
อย่างเต็มความสามารถทุกครั้ง มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ยต่ำสุด
11) พฤติกรรม ด้านความเมตตากรุณา ในภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับ
มาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแยกเป็นรายการ พบว่า มีน้ำใจและให้บริการช่วยเหลือผู้อื่น มีระดับ
การปฏิบัติค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนไม่พูดหรือไม่กระทำสิ่งที่ทำให้ผู้อื่นเสียใจ มีระดับการปฏิบัติค่าเฉลี่ย
ต่ำสุด
4.2 ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียน
บ้านห้วยติ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ตามการ
ประเมินของ ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง พบว่า ในภาพรวมมีความ
พึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแยกเป็นรายการ พบว่า นักเรียนมีความประพฤติ
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนการจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรทุกวัน
พระ มีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยต่ำสุด
5. ผลการประเมินผลกระทบการดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
นักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยติ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา
2564 โดยภาพรวม ทั้ง 6 ด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาใน
รายละเอียดแยกเป็นรายการ พบว่า มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับติดตาม
ประเมินผลกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบสูงสุด ส่วนมีการ
จัดนิทรรศการและกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ ทางศาสนา มีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบต่ำสุด
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
1) ด้านการบริหาร พบว่า มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับติดตาม
ประเมินผลกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบสูงสุด
ส่วนมีการกำหนดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนอย่างชัดเจนในปฏิทินการปฏิบัติงาน
ประจำปีของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยระดับผลการกระทบต่ำสุด
2) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม พบว่า ครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมและพัฒนา
คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบสูงสุด ส่วนมีการจัดนิทรรศการและกิจกรรม
เนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ ทางศาสนา มีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบต่ำสุด
3) ด้านการสอนและการนิเทศ พบว่า ครูนำนักเรียนที่มีคุณธรรมจริยธรรมดีเด่น มาเป็น
ตัวอย่างในการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบสูงสุด ส่วนครูใช้สื่อการสอนหรือเชิญบุคคลที่มีจ
คุณธรรมจริยธรรมดีเด่นในท้องถิ่นมาเป็นวิทยากรพิเศษในโอกาสที่เหมาะสม มีค่าเฉลี่ยระดับ
ผลกระทบต่ำสุด
4) ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน พบว่า นักเรียนร่วมกิจกรรมทางศาสนากับชุมชนด้วย
ความเต็มใจ มีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบสูงสุด ส่วนโรงเรียนนิมนต์พระมาแสดงปาฐกถาธรรมเนื่องใน
วันสำคัญทางศาสนาอย่างสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบต่ำสุด
5) ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน พบว่า หน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้การยอมรับต่อ
การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบสูงสุด ส่วนหน่วยงาน
ภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนเงินหรือวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ย
ระดับผลกระทบต่ำสุด
6) ด้านการประเมินผลทางคุณธรรมจริยธรรม พบว่า นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้
จากการอบรมคุณธรรมจริยธรรมไปใช้ในการพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยระดับ
ผลกระทบสูงสุด ส่วนครูสามารถติดตามและประเมินผลทางคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนได้อย่าง
ชัดเจน มีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบต่ำสุด

joon9572 01 ส.ค. 2565 เวลา 12:43 น. 0 218
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^