LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

โครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง

usericon

ชื่อเรื่อง:     การประเมินโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
ผู้รายงาน:     นางวชิรา แสนโกศิก
        ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
         โรงเรียนวัดด่านช้าง
ปีการศึกษา: 2564

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง โดยแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ 1.1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการ 1.2) ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริงของโครงการ 2) เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการ และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริง
ของโครงการ ในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง 3) ประเมินการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมินในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้รูปแบบการประเมินตามรูปแบบจำลองเคาน์ทิแนนซ์ ของสเตค (Stake’s Countenance Model) ประเมินในด้านความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการ และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริงของโครงการ ประเมินความสอดคล้องระหว่างความคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และการตัดสินใจในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น โดยใช้เกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน รวมจำนวน 493 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใชhแบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 2 ฉบับ แล้วสัมภาษณ์ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้ปกครอง และนักเรียน รวม 11 คน เพื่อให้คำตอบของการประเมินชัดเจนขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์

สรุปผล
1. ผลการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง แยกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1.1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการในด้านความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน
ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 1.2) ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริงของโครงการ ในด้านความสัมพันธ์ด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินความสอดคล้องความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของสภาพที่ความคาดหวังจากโครงการในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสภาพที่เป็นจริงของโครงการในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้างในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมินในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการ หรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ใช้ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนวัดด่านช้าง ในด้านสิ่งที่มีมาก่อน ด้านกระบวนการหรือการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของโครงการวิถีพุทธพัฒนา พาสุข สร้างคนดีสู่สังคมโรงเรียนวัดด่านช้าง ผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์สัมบูรณ์ทั้ง 3 ด้าน ตามเกณฑ์ที่ผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดไว้ที่
ร้อยละ 75 ขึ้นไป
ananya.kpsp 26 พ.ค. 2565 เวลา 22:53 น. 0 298
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^