LASTEST NEWS

23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 3 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.พะเยา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พะเยา เขต 1 23 เม.ย. 2567สพป.สระแก้ว เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระแก้ว เขต 2 23 เม.ย. 2567สพป.นครปฐม เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครปฐม เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.พะเยา เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พะเยา เขต 2 23 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3 22 เม.ย. 2567สพม.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม

การพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาฯ

usericon

    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพของผู้เรียน (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพของผู้เรียน (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพของผู้เรียนและ (4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพของผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายครั้งนี้ได้แก่ ผู้ชี้แนะ จำนวน 8 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก จำนวน 19 คน วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพัฒนา ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา และระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบการพัฒนา เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพของผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
    1. ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพของผู้เรียน พบว่า ปัญหาการจัดการเรียนรู้นั้นเกิดจากคุณภาพครูที่ขาดความรู้ชัดเจนในเนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดความรู้เนื้อหาผนวกวิธีสอน การพัฒนาครูจึงควรพัฒนาทั้งการวางแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลในเชิงวิจัยปฏิบัติการที่คำนึงถึงทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนาครู หลักการพัฒนาครู ขั้นตอนการพัฒนาครู และพัฒนาโดยใช้พื้นที่หรือสถานศึกษาเป็นฐาน
    2. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพของผู้เรียน ใช้แนวคิดพื้นฐานการพัฒนา 4 ประการคือ (1) ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ (2) ทฤษฎีการสร้างความรู้ (3) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมและ (4) ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ หลักการของรูปแบบมี 3 ประการ ได้แก่ (1) การพัฒนาความรู้เนื้อหาผนวกวิธีสอน (2) การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานและ (3) การพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพของผู้เรียน ศักยภาพครูมี 4 ประการได้แก่ (1) การออกแบบการเรียนรู้ (2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (3) การใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้และ (4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กิจกรรมการพัฒนามี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การให้ความรู้ก่อนปฏิบัติการ (informing = I) ขั้นที่ 2 การออกแบบการเรียนรู้ (planning = P) ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ (practice = P) ขั้นที่ 4 การสะท้อนผล (reflect = R) และขั้นที่ 5 การนิเทศแบบชี้แนะ (coaching = C) โดยใช้ชื่อว่า “IPPRC model”
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพของผู้เรียนพบว่าครูมีคะแนนพัฒนาการโดย รวมสูงขึ้น
    4. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพของผู้เรียนพบว่า (1) กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนพัฒนาการหลังเข้าร่วมการพัฒนาสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการพัฒนา และมีคะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 60 วงรอบที่ 1 จำนวน 16 คน และวงรอบที่ 2 จำนวน 3 คน (2) ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ความคิดเห็นต่อระดับการปฏิบัติชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (4) ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ได้แก่ คะแนนทักษะวิชาชีพสูงขึ้น มีความพึงพอใจในการเรียนรู้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน
ed.silpa 11 ก.ย. 2564 เวลา 12:09 น. 0 511
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^