LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย        อรอุมา ธรรมประดิษฐ์
ปีการศึกษา    2563

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส จำนวนทั้งสิ้น 180 คน ได้แก่ ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 จำนวน 31 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 จำนวน 30 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 จำนวน 30 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 จำนวน 30 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/5 จำนวน 29 คน และชั้นอนุบาลปีที่ 3/6 จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กชายและหญิงชั้นอนุบาลปีที่ 3/5 จำนวน 29 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) จำนวน 1 ฉบับ 2) รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) 3) กิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 กิจกรรม 4) แผนการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 แผน 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดรวบยอดก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 4 ชุด และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ ความแตกต่างโดยใช้ค่า t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ประกอบด้วยการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานจากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) โดยมีประเด็นคำถาม ดังนี้ 1) สภาพปัญหา อุปสรรคในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) แผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) 3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 54 ได้กล่าวถึง รัฐต้องดำเนินการ ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 4) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี) 5) คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี) 6) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget’s Theory of intellectual development) 7) ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism Theory) 8) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning Theory) 9) แนวทางการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H 10) แนวคิดรูปแบบการจัดประสบการณ์ และ 11) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning Model) สร้างและทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิด 4H ที่สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ได้ตามสภาพจริง
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีขั้นตอนที่สร้างขึ้น มีชื่อว่า “PM5E Model” (พีเอ็มฟายฟ์อี โมเดล) 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมสู่การเรียนรู้ (Preparation Stage : P) ขั้นที่ 2 การสร้างความสนใจ (Engagement Stage : E) ขั้นที่ 3 การสำรวจและค้นหา (Exploration Stage : E) ขั้นที่ 4 การอธิบายและสรุป (Explanation Stage : E) ขั้นที่ 5 จดจำสิ่งที่เรียนรู้ (Memory Formation Stage : M) ขั้นที่ 6 การประเมินผล (Evaluation Stage : E) และขั้นที่ 7 การนำความรู้ไปใช้ (Extension Stage : E) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 แบบ PM5E Model มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.43/83.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
    4. ผลการประเมินความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    5. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4H อยู่ในระดับมาก
thayaya2522 06 ก.ย. 2564 เวลา 17:27 น. 0 404
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^