LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

การประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา

usericon

ชื่อเรื่อง         การประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา
ชื่อผู้วิจัย         นายสราวุธ สมรัตน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่รายงาน 2562

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    การวิจัยในครั้งนี้เป็นการรายงานการประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ ( Process Evaluation) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต ( Product Evaluation) โดยขยายการประเมินด้านผลผลิตออกเป็น 4 ด้าน คือ 4.1) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) 4.2) ด้านประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) 4.3) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) 4.4) ด้านความสามารถในการขยายผล (Transportability Evaluation) ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา ส่งเสริมความสำเร็จ ในการดำเนินงานตามโครงการ โดยทำการประเมินกับประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 25 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 106 คน นักเรียน จำนวน 106 คน รวมทั้งสิ้น 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เกี่ยวกับ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนตามโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เกี่ยวกับ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนตามโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เกี่ยวกับ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา บรรยายสรุปในเชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
    ผลการประเมิน พบว่า
    1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการ รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแนวทางการบริหารโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
        2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแนวทางการบริหารโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และผู้บริหารสถานศึกษาอำนวยความสะดวก ปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยต่างๆให้มีความพร้อมในการปฏิบัติ รองลงมาคือ คู่มือการดำเนินโครงการมีรายละเอียดชัดเจน เข้าใจง่าย นำไปปฏิบัติได้ และโรงเรียนมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมนำไปสู่การปฏิบัติ

        3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ
     3.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ มีการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม มีการประชุม เสวนา ทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) และนำผลมาพัฒนาการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ มีการติดตามประเมินผลและรายงานผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับโครงสร้างเวลาเรียนและจัดทำตารางเรียนเหมาะสมกับการจัดกิจกรรม กำหนดกิจกรรมได้ตอบสนองความต้องการและศักยภาพของผู้เรียน
        3.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ปกครองได้รับทราบ รองลงมาผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการ และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมของโครงการ
        3.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการ รองลงมาคือ 4 โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์โครงการให้นักเรียนได้รับทราบ และนักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดการประเมินผลโครงการ
    4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ
    4.1 ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation)
    4.1.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ส่งเสริมการบรรลุตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียนที่ว่า “โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา จัดการศึกษามุ่งสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม”รองลงมาคือ สร้างบรรยากาศที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และส่งเสริมให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด
    4.1.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และได้มีส่วนร่วมในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียน รองลงมาได้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่นักเรียน ได้มีส่วนร่วมในการปลูกจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคมให้แก่นักเรียน และมีโอกาสส่งเสริม สนับสนุน การใช้แหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน
    4.1.3 ในภาพรวม นักเรียน มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ทำให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ค้นหาความถนัด และความต้องการของตนเอง ทำให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ค้นหาความถนัด และความต้องการของตนเอง รองลงมาคือ ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้อย่างมีความสุข และทำให้ข้าพเจ้าได้ฝึกฝน และพัฒนาเพิ่มพูนความสามารถของตนเอง ส่งเสริมให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ทำให้ข้าพเจ้าเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การมีน้ำใจ และการช่วยเหลือกัน
    4.2 ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation)
    4.2.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ รองลงมาคือ นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ นักเรียนรู้จักปรับตัวในการดำรงชีวิตในสังคม นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ และนักเรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้
    4.2.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ รองลงมาคือ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น และนักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้
    4.2.3 นักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านประสิทธิผลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า ด้านย่อยที่ 1) การบรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้ รองลงมาคือ นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจ ความชอบ และความถนัด และนักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ นักเรียนรู้จักปรับตัวในการดำรงชีวิตในสังคม นักเรียนเกิดการพัฒนาในองค์ 4 แห่งการเรียนรู้ ด้านย่อยที่ 2) ผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) ในกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ 8 กิจกรรม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรม เรียงลำดับกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ กิจกรรมหุ่นยนต์อัตโนมัติ กิจกรรมดนตรีพื้นบ้าน และกิจกรรมอาหารคาวหวานไทยประยุกต์
        4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation)
    4.3.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดเป็นนโยบาย ให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินโครงการของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนนำแนวนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้มาเป็นนโยบายหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนมีการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ครูผู้รับผิดชอบโครงการมีการรายงานผลการดำเนินโครงการตามสภาพจริง และโรงเรียนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ วิทยากร ครูผู้รับผิดชอบอย่างเพียงพอ ต่อเนื่อง
    4.3.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดเป็นนโยบาย ให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ โรงเรียนนำแนวนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้มาเป็นนโยบายหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน และครูผู้สอนมีการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
    4.3.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ครูผู้สอนมีการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง รองลงมาคือ หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดเป็นนโยบาย ให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินโครงการของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และโรงเรียนนำแนวนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้มาเป็นนโยบายหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน
    4.4 ด้านความสามารถในการขยายผล (Transportability Evaluation)
    4.4.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครอบคลุมความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน รองลงมาคือ โรงเรียนมีจุดเด่นและเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินโครงการ และนักเรียนสามารถบูรณาการความรู้และทักษะต่างๆไปสู่การปฏิบัติจริงได้
    4.4.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนสามารถความรู้และทักษะต่างๆไปแนะนำและถ่ายทอดให้เพื่อนและคนในครอบครัวได้ รองลงมาคือ นักเรียนสามารถบูรณาการความรู้และทักษะต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติจริงได้ และโรงเรียนมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครอบคลุมความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน
    4.4.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนสามารถบูรณาการความรู้และทักษะต่างๆไปสู่การปฏิบัติจริงได้ รองลงมาคือนักเรียนสามารถความรู้และทักษะต่างๆไปแนะนำและถ่ายทอดให้เพื่อนและคนในครอบครัวได้ และโรงเรียนมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครอบคลุมความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^