LASTEST NEWS

23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย 23 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 23 เม.ย. 2567สพม.นครราชสีมา ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครราชสีมา 23 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 5 23 เม.ย. 2567สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงา

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุ
ลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรม
สาร) กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้ศึกษา นายดนุวัศ นันตา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
กระบวนการการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)ตามรูปแบบการเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมศิลปะแบบแนวคิดหลักของ ซี ไอ เอส เอส ที (CISST) เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research
and Development) รูปแบบวิจัยแบบเชิงทดลอง (Pre Experimented Design) โดยประยุกต์ใช้
แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่าง มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One – Group
Pretest –Posttest Design) (มาเรียม นิลพันธุ์,2555,หน้า 144) การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย
ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานใน การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิด
สร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ
รูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียน ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ใน
งานภาพฉลุลายก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ศิลปะ เพื่อ
ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อ
ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร)
กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ถ่ายทอดออกในรูปแบบของแผนการจัดการ
เรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงาน ภาพฉลุลาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบ
วัดความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริม
ความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งการดำเนินงาน
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1
) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
(Analysis : A) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1
)
เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development D & D) การสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการ
เรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขั้นตอน
ที่ 3 การวิจัย (Research : R2
) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I)การทดลองใช้รูปแบบ การ
เรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ
ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2
) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E)การประเมินและ
ปรับปรุง แก้ไขรูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (
X
) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (
S.D.
) สถิตที่แบบไม่อิสระ (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริม
ความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สรุปได้ว่ารูปแบบการเรียนรู้
ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี
ความสอดคล้องกับนโยบายการศึกษาในปัจจุบันเป็นการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการ
ของนักเรียน สามารถพัฒนานักเรียนให้เกิดทักษะในตนเองเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงาน
ภาพฉลุลาย 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ถ่ายทอดออกในรูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม
ความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นขั้นตอนในการจัดกิจกรรมศิลปะ
แบบแนวคิดหลักของ ซี ไอ เอส เอส ที (CISST) ประกอบด้วย 4ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นที่ 2 เชื่อมโยงความรู้ไปสู่การปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการและขั้นที่ 4 สรุปและจัดระบบสาระความรู้
จากประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิด
สร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับ
มากที่สุด (
X
=4.70,
S.D.
=0.39) และการหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริม
ความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพ
ของกระบวนการ (
E1
) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (
E2
) เท่ากับ 86.04/88.33 มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ 80/80 3) การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายก่อนและหลังการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงาน
ภาพฉลุลายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลาย
หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์
โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงานภาพฉลุลายสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (
X
=4.60,
S.D.
=0.55)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^