LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพม.บึงกาฬ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.หนองคาย เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 21 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 18 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.สมุทรสาคร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ราชบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.ลพบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

บทคัดย่อ

usericon

หัวข้อ    การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนด้วยรูปแบบการประเมินแบบ CIPP
ของโรงเรียนบ้านหนองกระดี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ปีการศึกษา
2563
ผู้ประเมิน    นางสาวสุพัชตรา อุ่นอารมณ์เลิศ
ปีที่ทำการประเมิน    2564


บทคัดย่อ

การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนด้วยรูปแบบการประเมินแบบ CIPP ของโรงเรียนบ้านหนองกระดี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนา แหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนด้วยรูปแบบการประเมินแบบ CIPP ของโรงเรียน บ้านหนองกระดี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการทั้งหมด 157 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน จำนวน 16 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 97 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 จำนวน 44 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามสำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน เป็นการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนด้วยรูปแบบการประเมินแบบ CIPP จำแนกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามสำหรับผู้ปกครองนักเรียนเป็นการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนด้วยรูปแบบการประเมินแบบ CIPP จำแนกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 ส่วนฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 เป็นการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนด้วยรูปแบบการประเมินแบบ CIPP จำแนกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน



ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนด้วยรูปแบบการประเมินแบบ CIPP ของโรงเรียนบ้านหนองกระดี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งโครงการ พบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อย ได้แก่ ผลผลิต ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และสภาวะแวดล้อม สรุปผลการประเมินตามลำดับ ดังนี้
    1. ด้านสภาวะแวดล้อม    
    1. ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ดีขึ้น รองลงมา คือ แหล่งเรียนรู้มีความจำเป็นต่อการเรียนการสอน และสามารถปฏิบัติได้จริงตามความต้องการของโรงเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ แหล่งเรียนรู้ช่วยส่งเสริมทักษะในการสอนของครู
    2. ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ ต้องการแหล่งเรียนรู้ที่ผู้ปกครองเข้ามาใช้บริการได้ และต้องการแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสื่อการสอนได้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ต้องการให้โรงเรียนจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ขึ้นในโรงเรียน
    3. ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย รองลงมา คือ โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่ช่วยสร้างทักษะการเรียนรู้ให้กับนักเรียน และต้องการแหล่งเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ มีส่วนร่วมในกิจกรรมรักษาความสะอาดและอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น
    1. ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อาคารสถานที่มีความเพียงพอในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ มีความเหมาะสมที่จะได้รับการพัฒนาต่อไป และงบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ มีแหล่งสนับสนุนด้านงบประมาณมาใช้เพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
    2. ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย รองลงมา คือ โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพเพียงพอกับความต้องการ และอาคารสถานที่มีความเพียงพอในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ สถานที่ภายนอกมีความพร้อมในการจัดกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้
    3. ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ มีความเหมาะสมที่จะได้รับการพัฒนาต่อไป รองลงมา คือ โรงเรียนมีการใช้แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และอาคารสถานที่มีความเพียงพอในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ โรงเรียนจัดกิจกรรมรักษาความสะอาดและอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้อย่างเหมาะสม
3. ด้านกระบวนการ         
    1. ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การรักษาความสะอาดและการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ ผู้บริหารจัดให้มีการประชุมครูเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ และการนำข้อมูลด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปวางแผน เพื่อพัฒนางานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ การวางแผนปฏิบัติงานมีกิจกรรมครอบคลุมทุกด้าน
    2. ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ได้รับข้อมูลจากการประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน รองลงมา คือ ได้รับรู้การมีส่วนร่วมในการใช้แหล่งเรียนรู้ของครูและนักเรียน และโรงเรียนจัดให้มีการยกย่องชมเชย เมื่อโครงการประสบผลสำเร็จ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ มีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดและการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้
    3. ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีส่วนร่วมวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมา คือ มีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดและการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ และนักเรียนมีส่วนร่วมวางแผนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ นักเรียนมีส่วนร่วมวางแผนพัฒนาห้องคอมพิวเตอร์

4. ด้านผลผลิต         
    1. ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ท่านมีความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมสนับสนุนทรัพยากรให้แก่โรงเรียนเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ ท่านมีความพึงพอใจแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่มีความหลากหลายและน่าสนใจ และท่านมีความพึงพอใจที่โรงเรียนได้พัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ มีการนำแหล่งเรียนรู้ไปบูรณาการในการเรียนการสอน
    2. ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ท่านมีความพึงพอใจที่โรงเรียนพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รองลงมา คือ มีความตระหนักที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต่อไป และท่านมีความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมสนับสนุนทรัพยากรให้แก่โรงเรียนเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ร่วมแสดงความคิดเห็นในการดำเนินงานพัฒนาแหล่งเรียนรู้
    3. ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความพึงพอใจจากการใช้สื่อ นวัตกรรมและป้ายนิเทศในห้องเรียน รองลงมา คือ นักเรียนมีความ พึงพอใจแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เช่น เศรษฐกิจพอเพียง สวนพฤกษศาสตร์ สวนหย่อม ห้องสมุดห้องคอมพิวเตอร์ และนักเรียนเข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ การแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในโรงเรียน
nongkunple1 25 เม.ย. 2564 เวลา 18:57 น. 0 325
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^