LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรีย

usericon

ชื่อผลงาน    : รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563
ชื่อผู้ประเมิน    : นางเยาวดี มงคลสิริตระxxxล ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางลึก
ปีการศึกษา    : ปีการศึกษา 2563

บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการปรนะเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม มาใช้ในการประเมิน โดยใช้แบบสอบถามความเหมาะสม/ความเป็นไปได้/ระดับการปฏิบัติ/ระดับคุณภาพ และระดับความพึงพอใจ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 24 คน ประชากรครู จำนวน 4 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3-6 จำนวน 23 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลรวมทั้งสิ้น จำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตารส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 5 ฉบับ และแบบประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน มีลักษณ้ะป็นมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ เครรื่องมือทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาสพ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับ อยู่ระหว่าง 0.844-0.955 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS

สรุปผลการประเมิน

ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นปรากฏผลดังนี้
1.     ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ( = 4.73, .= .12) และ ( = 4.80,S.D.= .09) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2.     ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูพบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.72, .= .13) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3.     ผลการประเมินด้านกระบวนการ ของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ( = 4.62, S.D.= .14), ( = 4.68, .= .08) และ ( = 4.65, S.D.= .13) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.     ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมินใน 5 ประเด็น ดังนี้
    4.1     ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณา แต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่ากลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.72,S.D.=.11) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.70,S.D.= .07) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.66,S.D.= .12) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
    4.2     ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมพบว่าทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.79,S.D.= .13) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ครู (= 4.73, = .16) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.68, S.D.= .18) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกันได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3    ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก ปีการศึกษา 2563 ได้แก่ 1) ความมีวินัย 2) ความซื่อสัตย์ 3) ความมีจิตสาธารณะ 4) ความพอเพียงพบว่า
4.3.1     ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก ปีการศึกษา 2563 ตามการประเมินตนเองของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีพฤติกรรมอยู่ในระดับดีเยี่ยม มีค่าเฉลี่ย ( = 3.44, S.D.= .15) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3.2     ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองพบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินนักเรียนมีพฤติกรรมอยู่ในระดับดีเยี่ยม (= 3.60, = .14) และ ( = 3.54,S.D.= .16) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.4     ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.79,S.D.= .15) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ครู (= 4.77, = .15) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.71,S.D.= .19) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกันได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน

ข้อเสนอแนะ
1.    ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
    1.1    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นจุดเด่นของการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนวัดบางลึก ปีการศึกษา 2563 พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและมากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) การบริหารและการมีส่วนร่วมดี 2) การพัฒนาครูดีที่เป็นแบบอย่าง 3) การส่งเสริมให้นักเรียนมีเพื่อนดี 4) การพัฒนาสื่อต้นแบบ หรือสิ่งแวดล้อมดี ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีได้อย่างดียิ่ง ดังนั้นโรงเรียนต่าง ๆ ควรนำกรอบ 5 ลักษณะข้างต้นไปประยุกต์ใช้ เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนตามบริบทของโรงเรียน
1.2    ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองและครือข่ายชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง
1.3     ควรขยายผลการดำเนินโครงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนอย่างยั่งยืน
1.4     ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนอีกทั้งมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง
2.    ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
    2.1    ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
    2.2     ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
    2.3     ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^