LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.พิจิตร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 28 มี.ค. 2567สพม.บึงกาฬ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.หนองคาย เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 21 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 18 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การประเมินโครงการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริย

usericon

การประเมินโครงการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่(New Normal) ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี

PROJECT ASSESSMENT TOWARDS THE DEVELOPMENT OF PATICIPATORY BEHAVIOR ON MORALITY AND ETHICS IN NEW NORMAL LIFE OF STUDENTS IN WAT PHO MUNICIPAL SCHOOL CHONBURI PROVINCE

ธัญญ์นภัส วิรัตน์เกษม1*
THANNAPHAT VIRATKASEM1*

บทคัดย่อ

        การประเมินโครงการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal)ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal)ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรีในด้านบริบท 2) เพื่อประเมินโครงการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal) ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี ในด้านปัจจัยนําเข้า3) เพื่อประเมินโครงการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal)ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์จังหวัดชลบุรี ในด้านกระบวนการ 4) เพื่อประเมินโครงการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal)ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี ในด้านผลผลิต ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายทอดความสําเร็จ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน2 คน ครูผู้สอน จํานวน23 คน กรรมการสถานศึกษา จํานวน15 คน นักเรียน จํานวน280 คน และ ผู้ปกครองนักเรียน จํานวน280 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน2 คน ครูผู้สอน จํานวน22 คน กรรมการสถานศึกษา จํานวน14 คน นักเรียน จํานวน165 คน และผู้ปกครอง นักเรียน จํานวน165 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก ใช้เกณฑ์การคํานวณ โดยใช้สูตร ของยามาเน่(Yamane, 1973 อ้างในบุญใจ ศรีสถิตนรากร, 2544) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามจํานวน3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 สําหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษา เป็นแบบสอบถามใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 2 สําหรับนักเรียน เป็นแบบสอบถามใน 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนําเข้า ด้าน กระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 3 สําหรับผู้ปกครองนักเรียน เป็นแบบสอบถามแบบสอบถามในด้านผลผลิต มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95, 0.94 และ 0.90 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD)

            ผลการวิจัยพบว่า
            1. ผลการประเมินด้านบริบทภาพรวมอยู่ในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการตอบสนองนโยบายคุณธรรม จริยธรรม มีความเหมาะสม มีความชัดเจน และเข้าใจง่าย
            2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนําเข้าภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งวิทยากรมีทักษะ และประสิทธิภาพในการให้ความรู้ในด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความพร้อมด้าน บุคลากร และมีความพร้อมด้านอาคารสถานที่
            3. ผลการประเมินด้านกระบวนการภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่ง โรงเรียนจัดโครงการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านคุณธรรม จริยธรรม บูรณาการ ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างเหมาะสม มีการนิเทศ กํากับ ติดตาม มีการประเมินโครงการ และรายงานผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นประจํา
            4. ผลการประเมินด้านผลผลิตภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สําหรับการประเมินผลกระทบ นักเรียนมีพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัย นักเรียนควบคุมตัวเองได้ เปิดโอกาส ให้เพื่อนโต้แย้งก่อนที่จะชี้แจงให้เพื่อนเข้าใจ ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน และนักเรียนได้ เสนอแนวทางในการพัฒนาตนเอง ส่วนการประเมินประสิทธิผล นักเรียนรู้จักควบคุมอารมณ์ของ ตนเอง มีความรับผิดชอบต่องานที่โรงเรียนมอบหมาย และนําความรู้ที่ได้จากโครงการมาใช้ใน ห้องเรียน สําหรับการประเมินความยั่งยืน มีการรายงานผลการประเมินนักเรียนให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ มีการประเมินโครงการเป็นระยะๆ และรูปแบบโครงการมีความเหมาะสมกับนักเรียน ส่วนการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ นักเรียนมีความมั่นใจว่าสามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจําวัน โครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม สามารถปรับใช้ได้ทุกโรงเรียน และนําสิ่งที่ได้จากโครงการไป ปรับใช้กับชุมชน

คำสำคัญ : การประเมินโครงการ; การมีส่วนร่วม ; พฤติกรรม ; คุณธรรมจริยธรรม ; ความปกติใหม่
                
1*รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองชลบุรี, Deputy Director of Educational Institutions, Wat Pho Municipal School, Education Division, Chonburi Town Municipality. Email:julong.r88@gmail.com

ABSTRACT

        The project assessment towards development of participatory behavioron morality and ethics in new normal life of students in Wat Pho Municipal School Chonburi Provinceaimed to 1) assess the project towards development of participatory behavioron morality and ethics in new normal life of students in Wat Pho Municipal School Chonburi Province on context aspect 2) assess the project towards development of participatory behavioron morality and ethics in new normal life of students in Wat Pho Municipal School Chonburi Province towards input 3) assess the project towards development of participatory behavioron morality and ethics in new normal life of students in Wat Pho Municipal School Chonburi Province on process aspect 4) assess the project towards development of participatory behavioron morality and ethics in new normal life of students in Wat Pho Municipal School Chonburi Province towards product, effect, effectiveness, sustainability, and success transmittance. The population were 2 school administrators, 23 teachers, 15 school committees, 280 students and 280 parents. The sample were 2 school administrators, 22 teachers, 14 school committees, 165 students and 165 parents. The sample were chosen by simple random sampling with drawing. The sample size was determined by the Yamane’s formula (Yamane, 1973 in-text citation; BoonjaiSrisathitnarakorn, 2001). The research tools were 3 questionnaire forms consisted of a questionnaire for school administrators, teachers and school committees which was the set of questions towards 4 aspects of context, input, process and product. The second questionnaire was for students included the set of questions for 3 aspects were input, process and product. The third questionnaire was for parents consisted of the set of questions towards the product aspect. The reliability values of a whole questionnaire were 0.95, 0.94 and 0.90 respectively. The data was analyzed by using percentage, mean and standard deviation.
The results were as follows
1.    The result of context assessment was generally in a high level which passed the
criteria. The objectives could respond to the moral and ethical policy which was suitable, obvious and luminous.
2.    The result of input assessment was generally in a high level which passed the
criteria. The lecturer had the competency and efficiency on moral and ethical educating with preparedness on personnel and place aspects.
3.    The process assessment was found that it was generally in a high level which
passed the criteria. The development of participatory behavioron morality and ethics project was integrated with all learning areas properly. There were the supervision, monitor, assessment and report to the relevant people regularly.
4.    The result of product assessment was generally in a high level which passed the
criteria. On the effect assessment revealed that the students behaved appropriately. They could control themselves and respected the opinions of others. They listened to their friends before explanation. The students also suggested their own developing guidelines whereas the effectiveness assessment found that they realized emotional self-regulation. They had a responsibility to the school assignment and also applied the knowledge in their classroom. On the sustainability assessment found that the result of student assessment was reported to the relevant people. The project was evaluated sporadically and suitably to students. On transmittance aspect revealed that the students were confident for applying their knowledge in daily life. The moral and ethical development project could be applied in all schools and could be utilized in the community as well.

Keywords :The project assessment ; Participation ; Behaviour ; Morality and ethics ; New Normal
julong_88 20 เม.ย. 2564 เวลา 11:47 น. 0 452
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^