LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาค

usericon

ชื่อเรื่อง :     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน
    เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5    
ชื่อผู้วิจัย :     นางธัญญารัตน์ ชูหว่าง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
         โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
ปีการศึกษา :    2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) ประเมินผลและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วย ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา R&D (Research and Development) โดยมีแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One – Group Pretest – Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินความเหมาะสม รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าเบี่บงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (%) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) หาค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ (t – test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
    1) ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นให้นักเรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาวิชาตามลำดับ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนทำด้วยตนเองและกิจกรรมที่ทำเป็นกลุ่ม เมื่อเรียนจบในแต่ละเรื่องต้องการสรุปความรู้จากเรื่องที่เรียนโดยที่ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป แล้วจดบันทึกความรู้ที่สรุปได้เป็นภาษาของนักเรียนเอง มีการช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนด้วยกัน ต้องการครูที่มีการทบทวนเรื่องที่เรียนผ่านมาแล้วเมื่อชั่วโมงที่แล้วก่อนที่จะสอนเรื่องใหม่ โดยมีการทบทวนความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเรียนก่อนที่จะเริ่มสอน
2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (SMILE Model) มีองค์ประกอบของรูปแบบ 4 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบที่ 1 หลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การรวบรวมความรู้และเลือกความรู้เดิม (Selection : S) ขั้นที่ 2 การจัดการความรู้เดิมเป็นพื้นฐานในการรู้จักความรู้ใหม่ (Management : M) ขั้นที่ 3 การนำความรู้ไปใช้จนเกิดความคิดรวบยอด (Implementation : I) ขั้นที่ 4 การเรียนรู้ด้วยตนเองจนเกิดความรู้อย่างแท้จริง (Life-rally : L) และขั้นที่ 5 การประเมินตนเอง (Evaluation : E) องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผล ซึ่งผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (SMILE Model) ตามเกณฑ์ E1/E2 กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 77.72/77.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
    3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทักษะในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 และนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด
    4) ผลการประเมินผลและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และเห็นควรว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
prodelphi 15 เม.ย. 2564 เวลา 10:33 น. 0 493
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^