LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ตามแนวหลัก

usericon

บทสรุปสำหรับผู้ประเมินโครงการ

ชื่อเรื่อง    การประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนา
พรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน    นายนัฐพงค์ หมีนหวัง ผู้อำนวยการโรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิง
อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี    
ปีที่ประเมิน     2563

    รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 โดยใช้แบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ประชากรในการศึกษา ประกอบด้วย ครู โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จำนวน 6 คน นักเรียน จำนวน 14 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 25 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมินและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้



ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563
    1.    คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.28,  = .52) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 4 เพื่อให้นักเรียน ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน ( = 4.62,  = .53) รองลงมาคือ ข้อที่ 2โครงการสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชน ( = 4.47, = .54) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ข้อที่ 9 โรงเรียนมีปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการชุมชน ( = 4.00,  = .58)
2.     ครู ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32,  = .65) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 4 งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่น ๆ ข้อที่ 9 การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ( = 4.67 ,  = .52) รองลงมา คือ ข้อที่ 8 การจัดชั้นเรียน การบูรณาการหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ เนื้อหา และกิจกรรมการเรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ (= 4.50 ,  = .51) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 3 งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ ( = 4.00,  = .89)
3.     ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.34,  = .48) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 15 มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ( = 4.70 ,  = .40) รองลงมา คือ ข้อที่ 11 จัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักวางแผนการดำเนินชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (= 4.69 ,  = .51) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 4 มีการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง( = 4.00,  = .61)
4.    ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563
    4.1 ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินผลผลิตด้านคุณภาพการจัดการศึกษาของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37,  = .48) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 1 โรงเรียนสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ ( = 4.86 ,  = .40) รองลงมา คือ ข้อที่ 17 ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (= 4.69 ,  = .51) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 10 นักเรียนรู้จักรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น( = 4.00,  = .58)
    4.2 ครูและผู้ปกครอง ประเมินผลผลิตด้านความสามารถของนักเรียนในการนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชนของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43,  = .50) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 7 ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ( = 4.82 ,  = .41) รองลงมา คือ ข้อที่ 19 มีความสามัคคีในหมู่คณะ (= 4.70 ,  = .49) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 4 มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำวันของตนเอง ( = 4.15,  = .37)
        4.3 นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินความพึงพอใจโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41,  = .50) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือข้อที่ 7 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม( = 4.78 ,  = .44) รองลงมา คือ ข้อที่ 10 นักเรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (= 4.67 ,  = .50) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 4 มีการปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกรายวิชาที่จัดการเรียนการสอน และข้อที่ 4 มีการปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกรายวิชาที่จัดการเรียนการสอน ( = 4.16, =.39)
    
ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
    1.1 การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรมี การวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
    1.2 โรงเรียนควรประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด
    1.3 โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูบูรณาการ และสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

2. ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1    ควรมีการวิจัยหาประสิทธิภาพการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
2.2    ควรประเมินโครงการนี้ในทุก 2- 3 ปี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สอดคล้องกับ
สภาพกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เป็นแนวทางแก่โครงการอื่นๆ ต่อไป
2.3    ควรมีการประเมินโครงการอื่นๆของโรงเรียนโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์
และใช้การประเมินรูปแบบอื่นในโครงการย่อยระดับกลุ่มงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^