LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนไผ่งามพิทยาคมด้วย PNPK Model

usericon

รายงานนวัตกรรมการศึกษา
ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนไผ่งามพิทยาคมด้วย PNPK Model ตามวงจรคุณภาพ PDCA”
(Development of Paingampittayakom School PNPK Model with PDCA Quality Cycle)
ผู้จัดทำ ว่าที่ ร.ต.บุญวิทย์ ไชยช่วย
โรงเรียน ไผ่งามพิทยาคม ปี พ.ศ. 2564
ประเภทนวัตกรรม  ด้านบริหารจัดการ  ด้านหลักสูตร
 ด้านจัดการเรียนรู้  ด้านสื่อและเทคโนโลยี
 ด้านวัดและประเมินผล
1. หลักการ
การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 – 2559) ข้อ 1 ระบุไว้ว่าจะต้องพัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุล เพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา ซึ่งมีแนวนโยบาย เพื่อการดำเนินการ คือ การปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นคนเก่งที่พัฒนาตนเองได้อย่างเต็มตามศักยภาพ เป็นคนดีและมีความสุข ตลอดจนส่งเสริมให้ครูทุกคน ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการที่จะช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านต่าง ๆ ที่จะดำรงชีวิต และประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และเป็นพลังสร้างสรรค์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนได้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6 ที่ระบุไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 ระบุไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียน มีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2549:12-13)
    จากจุดเน้นการพัฒนาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษยโสธรกำหนดให้สถานศึกษาในสังกัดมีการปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามตัวชี้วัดของจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษาในการขับเคลื่อนนโยบาย และจุดเน้น โดยมีเป้าหมายสำคัญร่วมกันคือ“เด็กศรีสะเกษ-ยโสธรเก่งขึ้นด้วยนวัตกรรม” (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร : คำนำ) โดยมีเป้าหมายหลัก ได้แก่ 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด ได้พัฒนาระบบและกระบวนการการจัดการศึกษาสู่องค์กรที่มีคุณภาพตามมาตรฐานด้วยนวัตกรรม2)ผู้เรียนทุกคนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาเป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถ มีคุณลักษณะที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต บนวิถีชีวิตกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (3R8Cs) 3) ผู้เรียนเห็นคุณค่า อนุรักษ์ และร่วมสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข 4) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ได้รับการพัฒนาการจัดการศึกษาตามแนวทางของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) โรงเรียนทุกแห่งสามารถบริหารจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา และ 6)เด็กศรีสะเกษ-ยโสธรเก่งขึ้นด้วยนวัตกรรม(สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษยโสธร:4)
    จากการศึกษาวิเคราะห์เอกสารงานทะเบียนและวัดผลและเอกสาร SAR โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม ในปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 มีสภาพปัญหา ดังนี้ 1) ด้านการบริหารวิชาการ ครูไม่มีวิธีจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอย่างหลากหลาย ทำให้คะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ในทุกกลุ่มสาระซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม 2562 : 34) ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 พบว่า ค่าเฉลี่ยร้อยละของการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ค่าเฉลี่ยรวมร้อยละลดลง และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ ได้แก่ ปีการศึกษา 2561 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 52.21 ค่าเฉลี่ยระดับประเทศร้อยละ 54.42 และปีการศึกษา 2562 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 58.88 ค่าเฉลี่ยระดับประเทศร้อยละ 55.14 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ค่าเฉลี่ยรวมร้อยละลดลง และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ ได้แก่ ปีการศึกษา 2561 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 39.86 ค่าเฉลี่ยระดับประเทศร้อยละ 47.31 และปีการศึกษา 2562 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 36.86 ค่าเฉลี่ยระดับประเทศร้อยละ 42.21 ซึ่งทั้งสองปี สองระดับชั้นมีค่าเฉลี่ยลดลง (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)) ผลการศึกษาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของโรงเรียนยังไม่สามารถส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการสูงขึ้นในระดับที่น่าพึงพอใจ 2) การบริหารงานงบประมาณ โรงเรียนได้รับงบประมาณค่อนข้างจำกัด ไม่เพียงพอต่อการนำมาในใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3) การบริหารงานบุคคล ครูไม่ได้รับการพัฒนาเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเกิดผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน มีผลต่อคุณภาพการเรียน และ 4) การบริหารทั่วไป การได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากท้องถิ่นชุมชนค่อนข้างน้อย ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีฐานะค่อนข้างยากจน โรงเรียนจึงขาดการระดมทุนทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
    โรงเรียนไผ่งามพิทยาคมเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสหวิทยาเขตลุ่มน้ำมูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร มีบทบาทความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษา เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงพยายามเร่งหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการและคุณภาพการศึกษา โดยระดมแนวคิด ร่วมคิดร่วมทำกับทุกภาคส่วน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน คณะครู ทุกกลุ่มงานนำเสนอสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขร่วมกันเพื่อการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
    จากปัญหาและผลการวิเคราะห์ที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ผู้ศึกษาสนใจที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยการพัฒนารูปแบบการพัฒนาโรงเรียนไผ่งามพิทยาคมด้วย PNPK Model ตามวงจรคุณภาพ PDCA” (Development of Paingampittayakom School PNPK Model with PDCA Quality Cycle)เพื่อนำสู่การร่วมพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
2.วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาโรงเรียนไผ่งามพิทยาคมด้วย PNPK Model ตามวงจรคุณภาพ PDCA” (Development of Paingampittayakom School PNPK Model with PDCA Quality Cycle)เพื่อนำสู่การร่วมพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
2. เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน โดยใช้รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนไผ่งามพิทยาคมด้วย PNPK Model ตามวงจรคุณภาพ PDCA” (Development of Paingampittayakom School PNPK Model with PDCA Quality Cycle)
3.วิธีดำเนินการ
    3.1วิเคราะห์สภาพปัญหา
    ผู้วิจัยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียนเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถานศึกษาทั้งในแง่เชิงบวกและเชิงลบ ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอก ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองและกฎหมาย และสภาพแวดล้อมภายใน โครงสร้างและนโยบายของสถานศึกษา ผลผลิตและบริการ บุคลากร ประสิทธิภาพทางการเงิน วัสดุทรัพยากร การบริหารจัดการ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก “โอกาสและอุปสรรค” และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน “จุดแข็งและจุดอ่อน” ของสถานศึกษา มากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ ( Mision) เป้าประสงค์ ( Goal) กลยุทธ์ของสถานศึกษา ว่าพัฒนาสถานศึกษาไปในทิศทางใด โดยคำนึงถึงงานหลัก 4 งาน คือ งานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคคล และงานบริหารทั่วไป ตอบสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายใต้การบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมจากคณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองนักเรียน โดยการนำวงจรเดมมิ่ง (PDCA) คือ (1) P = Plan คือ ขั้นตอนการวางแผน เพื่อเลือกปัญหา ตั้งเป้าหมายการแก้ปัญหาและวางแผนแก้ปัญหา (2) D = Do คือ ขั้นตอนการดำเนินการแก้ปัญหาตามแนวทางที่วางไว้ (3) C = Check คือ ขั้นตอนการตรวจสอบและเปรียบเทียบผล และ (4) A = Act คือ การกำหนดเป็นมาตรฐานและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น การวางแผนซึ่งเป็นขั้นตอนแรกจึงมีความสำคัญยิ่ง ที่จะต้องทำอย่างรอบคอบ และวางแผนการบริหารจัดการโรงเรียนที่เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามหลักธรรมาภิบาล ที่ประกอบด้วย ผู้อำนวยการและหัวหน้ากลุ่มงานทุกฝ่าย ได้แก่ กลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มงานบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มงานบริหารทั่วไป จึงมีส่วนร่วมในการวางแผนงานในโรงเรียนทุกด้าน โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน
    3.2การสร้างและการพัฒนาเครื่องมือ
    การพัฒนา“รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนไผ่งามพิทยาคมด้วย PNPK Model ตามวงจรคุณภาพ PDCA”
(Development of Paingampittayakom School PNPK Model with PDCA Quality Cycle) โดยการดัดแปลงใช้ชื่อภาษาอังกฤษของโรงเรียนไผ่งามพิทยาคม PHAINGAMPITTAYAKOM ตัวย่อคือ PNPK เป็น Model ดังมีรายละเอียด PNPK Model ดังนี้
P = Participation การมีส่วนร่วม
    หมายถึง การมีส่วนร่วมในการทำงานเพราะการมีส่วนร่วมของบุคลากรจะทำให้เกิดการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันแก้ปัญหา (จิตรศิริ ขันเงิน, 2547) เพราะเมื่อบุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้วยแล้ว จะลดการต่อต้านเกี่ยวกับแนวคิดและการดำเนินงาน รวมทั้งช่วยลดความขัดแย้งและความเครียดจากการทำงาน ทำให้บุคลากรได้ร่วมกันพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายและยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เกิดความมุ่งมั่นในการสร้างความสำเร็จให้กับองค์กร รู้สึกพึงพอใจในผลงานที่เกิดขึ้น และเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและผูกพันกับองค์กร โดยบุคลากรทุกคนควรมีส่วนร่วมในการทำงาน การมีส่วนร่วมมีโครงสร้างพื้นฐานจำแนกเป็น 3 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 มีส่วนร่วมในเรื่องอะไร (what participation are we concerned with?) หรือเรียกอีกอย่างว่า ประเภทหรือลักษณะของการมีส่วนร่วม ได้สร้างกรอบพื้นฐานของการมีส่วนร่วมประกอบด้วยประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1)การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (participation in decision making) ซึ่งเป็นการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม (participation in implementation) เป็นการเข้าร่วมโดยการสนับสนุนทางด้านทรัพยากร การเข้าร่วมในการบริหาร และการเข้าร่วมในการร่วมแรงร่วมใจ     3) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (participation in benefits) โดยอาจจะเป็นผลประโยชน์ทางวัตถุ ทางสังคม หรือโดยส่วนตัว และ 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (participation in evaluation) ซึ่งเป็นการควบคุมและตรวจสอบการดำเนินกิจกรรม รวมทั้งเป็นการแสดงถึงการปรับตัวในการมีส่วนร่วมต่อไป มิติที่ 2 ใครที่เข้ามามีส่วนร่วม (whose participation are we concerned with?) ในส่วนนี้ มีคำที่ใช้ในความหมายว่า “บุคลากรทางการศึกษา” (Educational personnel) อันได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือ ปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา มิติที่ 3 การมีส่วนร่วมนั้นเกิดขึ้นอย่างไร (how is participation occurring with in the project?) ในมิตินี้ มีประเด็นที่ควรพิจารณาอยู่ 4 ประเด็นด้วยกันคือ 1) พื้นฐานของการมีส่วนร่วม พิจารณาเกี่ยวกับแรงที่กระทำให้เกิดการมีส่วนร่วมมาจากเบื้องบนหรือเบื้องล่าง และแรงที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมมาจากที่ใด 2)รูปแบบของการมีส่วนร่วม พิจารณาเกี่ยวกับรูปแบบขององค์กร การมีส่วนร่วมโดยตรงหรือโดยอ้อม 3)ขอบเขตของการมีส่วนร่วม พิจารณาเกี่ยวกับระยะเวลาที่เข้ามามีส่วนร่วมและช่องของกิจกรรม และ 4) ประสิทธิผลของการมีส่วนร่วม พิจารณาเกี่ยวกับ การให้อำนาจแก่ผู้เข้ามามีส่วนร่วม และปฏิสัมพันธ์ของคุณลักษณะต่างๆ ของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม Cohen and Uphoff (1977, pp. 7 – 26)


N = New Educational innovation นวัตกรรมทางการศึกษาใหม่
หมายถึง การสร้างนวัตกรรมขึ้นมาใช้นั้น ผู้สอนต้องพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะและคุณสมบัติของนวัตกรรมเสียก่อนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การสอน มิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดข้อผิดพลาดจนผู้เรียนสับสน หรือได้รับประสบการณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายที่ผู้สอนต้องการได้ ซึ่งมี 9 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1. สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา ขั้นตอนที่ 2. วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 3. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4. กำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้    ขั้นตอนที่ 5. สำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้    ขั้นตอนที่ 6. ออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 7. วางแผนและดำเนินการพัฒนาการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 8. ตรวจสอบ ทดลองและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และ ขั้นตอนที่ 9. สรุปและประเมินผลการเรียนรู้
P = Practice การปฏิบัติ
หมายถึง การใช้นวัตกรรม(Innovation) ในการจัดการศึกษาคือใช้ ในการเรียนการสอน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาการนำนวัตกรรม ต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ
1.ประสิทธิภาพ(Efficiency)ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
2.ประสิทธิผล(Productivity)ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น
3.ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
รวมทั้งการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียน ด้านการพัฒนา และใช้หลักสูตรสถานศึกษา การอ่านออกเขียนได้ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีทางไกล (DLTV/DLT) การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
K = Keep Sustainable ความยั่งยืน
    หมายถึง วงจรการบริหารงานรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนไผ่งามพิทยาคมด้วย PNPK Model ตามวงจรคุณภาพ PDCA มุ่งเน้นความยั่งยืนในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้เป็นคนดีมีลักษณะอันพึงประสงค์และมีทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 คุณภาพครูให้เป็นผู้นำทางนวัตกรรม เพื่อส่งผลให้เกิดคุณภาพโรงเรียน โดยผ่านกระบวนการวัดและประเมินผลนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อตรวจสอบพิจารณากำหนดคุณภาพและความเหมาะสมอย่างเป็นระบบ เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงการบริหารงานและการจัดการเรียนการสอนภายใต้วงจรคุณภาพPDCAอย่างต่อเนื่อง โดยมีลักษณะการประเมินนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
    1.การประเมินตนเองเป็นการประเมินระดับโรงเรียนที่ผู้คิดค้นพัฒนานวัตกรรมทั้งที่เป็นรายบุคคลหรือคณะบุคคล ดำเนินการประเมินโดยการตรวจสอบกระบวนการพัฒนาและความก้าวหน้าในการพัฒนานวัตกรรมของตนจากเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรม
    2.การประเมินโดยคณะบุคคล เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาคุณภาพนวัตกรรม ซึ่งผู้ประเมินควรประกอบด้วย ผู้คิดค้นพัฒนานวัตกรรม ครู ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ หรืออาจมีผู้เชี่ยวชาญ ตามลักษณะ หรือประเภทของนวัตกรรม ร่วมประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด
รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนไผ่งามพิทยาคมด้วย PNPK Model จะอยู่ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA
วงจรคุณภาพ (PDCA) ที่เน้นขั้นตอนการทำงาน 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan–P) ขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Do–D) ขั้นที่ 3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Check–C) และ ขั้นที่ 4 การปรับปรุง (Act–A) ดังแผนภาพ ดังนี้















    จากการนำระบบการบริหาร “รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนไผ่งามพิทยาคมด้วย PNPK Model ตามวงจรคุณภาพ PDCA” (Development of Paingampittayakom School PNPK Model with PDCA Quality Cycle) มาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา ปรากฏผลการบริหารงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา
1.1 มีข้อมูลสารสนเทศที่ครอบคลุมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างครอบคลุม ถูกต้องเป็นปัจจุบัน โรงเรียนมีการพัฒนา ระบบข้อมูลและสารสนเทศพื้นฐานอย่างครอบคลุ่ม เป็นปัจจุบันประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด มีประสิทธิภาพเอื้อต่อการใช้งานและสืบค้น ตลอดจนการนำข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมาจัดทำสารสนเทศของโรงเรียน เพื่อใช้ในการบริหารงานภายในโรงเรียน ตามโครงสร้างการบริหารงานทั้ง ๔ ฝ่าย ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานทั่วไป และการบริหารงานงบประมาณ ให้เป็นปัจจุบัน มีแผนพัฒนาและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ เช่น (1) สารสนเทศที่ใช้เกี่ยวกับงานทะเบียนและวัดผล ได้แก่ โปรแกรม SGS ออนไลน์ (2) สารสนเทศที่ใช้เกี่ยวกับงานธุรการรับส่งหนังสือราชการ ได้แก่ ระบบ AMSS (3) สารสนเทศที่ใช้เกี่ยวกับงานพัสดุและจัดซื้อจัดจ้าง ได้แก่ ระบบ EGP และ(4) สารสนเทศที่ใช้เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงเรียน ได้แก่ เว็บเพจ คือwww.facebook.com/โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม เป็นต้น
1.2 มีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ถูกต้อง ทันสมัย มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนนำเทคโนโลยี และโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อความสพดวกในการสืบค้น หาข้อมูลและจัดเก็บ เช่น (1)โปรแกรมระบบการบริหารโรงเรียน (EMIS) (2) โปรแกรการจัดเก็บข้อมูลบุคลากร (P-OBEC) (3) โปรแกรม E - Office    (4) โปรแกรม EGP    (5) เว็ปไซต์ Facebook Fan page ของโรงเรียน
             1.3 มีการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการบริหารจัดการอย่างคุ้มค่า มีการนำข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการในด้านวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านบริหารทั่วไป ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ถูกต้อง ชัดเจน รวดเร็ว เป็นที่ยอมรับของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และพัฒนาอยู่เสมอ
             1.4 มีการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับกิจกรรมของสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอรวดเร็ว โรงเรียนนำข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ เผยแพร่ผ่าน Facebook Fan page ของโรงเรียน อย่างต่อเนื่องเป็นปัจจุบัน
         2. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
     2.1 โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม มีการพัฒนาห้องสมุดให้มีมาตรฐาน มีปริมาณหนังสือที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้อย่างเพียงพอ ทันสมัย ซึ่งบริหารจัดการตามขั้นตอน ดังนี้ 1) การบริหารจัดการห้องสมุด มีการกำหนดวิสัยทัศน์ มีโครงสร้างการบริหารงานมีคณะทำงาน มีการจัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบปฏิบัติงาน เต็มที่เต็มเวลา มีการพัฒนาปรับปรุงห้องสมุดอยู่เสมอ เช่น ทำห้องสมุดมีชีวิต ห้องสมุด 3 ดี มีการใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน จัดซื้อ จัดหาสารนิเทศที่ทันสมัยในแต่ละปีการศึกษาที่เหมาะสมทันสมัยสอติคล้องกับหลักสูตรและตรงตามความต้องการของผู้ใช้ 2) การบริการ ห้องสมุดมีการเปิดบริการตลอดเวลาทำการของโรงเรียน มีระบบการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว มีหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์หลากหลาย เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานห้องสมุดในการให้บริการ เช่น คอมพิวเตอร์ จำนวน 3 เครื่อง พร้อมติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น มีระบบอินเตอร์เน็ตไร้สาย Wifi 3) การจัดกิจกรรมห้องสมุด มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น การจัดป้ายนิเทศกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด และ 4) การจัดสภาพแวดล้อมห้องสมุด มีการจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในห้องสมุดให้น่าเข้าใช้บริการ เอื้อต่อความต้องการของผู้เรียน มีบรรยากาศปลอดโปร่ง มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศเย็นสบาย ในห้องสมุดมี โต๊ะ เก้าอี้ สำหรับอ่านหนังสือเพียงพอ จากสถิติการเข้าใช้ห้องสมุดและสถิติการยืมหนังสือและจากการสอบถาม พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในบรรยากาศของห้องสมุดของโรงเรียน
2.2 โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม มีการพัฒนาห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้อย่างครบถ้วนและมีการใช้อย่างคุ้มค่า โดยได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมใช้อยู่เสมอ ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ของโรงเรียนช้างมิ่งพิทยานุxxxล ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ห้อง มีเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมชุดอุปกรณ์ สำหรับใช้งาน จำนวน 25 เครื่อง มีเครื่องฉายภาพนิ่ง (Projector) จำนวน 1 เครื่อง ระบบขยายสัญญาณเสียง และเครื่องปรับอากาศ (Air-Condition) เพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้และรักษาอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ห้องเรียน คณิตศาสตร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ห้องปฏิบัติการชีววิทยาห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องเรียนรู้อาเซียนของกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ห้องภาษาไทย ห้องศิลปะและดนตรี ห้องอุตสาหกรรมเป็นต้น
     2.3 โรงเรียนไผ่งามพิทยาคมมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง โดยมีนโยบายและแผนการงาน/โครงการรองรับ สนับสนุน และมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 1) มีการวางแผน (Plan) และแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบดำเนินงาน 2) การดำเนินงานตามแผน (Do) ได้ดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยประสานความร่วมมือกับบุคลากรทุกกลุ่มสาระ ชุมชน และองค์กรอื่น ๆ เพื่อจัดตั้งหรือพัฒนาแหล่งเรียนรู้ หรือใช้แหล่งเรียนรู้ร่วมกัน ส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูผู้สอนจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ แหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย ตลอดจนเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ รักการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องและเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย เช่น การค้นคว้าจากห้องสมุดโรงเรียน ศูนย์การเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ การค้นคว้าสร้างองค์ความรู้โดยผ่านเครือข่าย Internet ส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน ทั้งของรัฐและเอกชน จัดบรรยากาศภายในสถานศึกษาที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ 3) การตรวจสอบ (Check) คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง ดำเนินการติดตามผลและตรวจสอบการดำเนินงานตามเครื่องมือและเกณฑ์ที่กำหนด 4) การพัฒนาปรับปรุง (Action) นำผลจากการตรวจสอบมาพัฒนาปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ ในปีต่อไป
             3. การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3.1มีการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบาย ความต้องการและปัญหาของสถานศึกษาและท้องถิ่น โรงเรียนมีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนดำเนินการตามระบบแผนงานพื้นฐาน ได้แก่ การระดมพลังสมองของครูและบุคลากรจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี 1) แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยบุคลากรทุกฝ่าย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายผู้ปกครอง 2) วิเคราะห์นโยบาย ความต้องการและปัญหาของโรงเรียนและชุมชน (SWOT) 3) กำหนดทิศทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน 4) จัดทำร่างแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน 5) ปรับปรุงแก้ไขแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนและเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขอความเห็นชอบ
             3.2 มีการดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ได้แก่ 1) ผู้บริหารโรงเรียนประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่บุคลากรทั้งโรงเรียน 2) บุคลากรที่รับผิดชอบกิจกรรมดำเนินงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในโครงการและกิจกรรมให้ครบถ้วน และตามระเบียบทางการเงินและพัสดุ 3) การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน
             3.3มีการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนโดยใช้เครื่องมือการตรวจสอบที่มีคุณภาพ ได้แก่ 1) แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล 2) คณะกรรมการและคณะทำงานวางแผนการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3) จัดทำคู่มือการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และเครื่องมือต่าง ๆ 4) ประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บุคลากรภายในโรงเรียนได้เข้าใจการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามที่ระบุในคู่มือให้ครบถ้วน 5) ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพ 6) จัดทำรายงานการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพต่อผู้บังคับบัญชาการศึกษาไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีต่อไป 7) นำผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพ
             3.4มีการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานตามแผนอย่างต่อเนื่องได้แก่ 1) จัดทำรายงานการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพต่อผู้บังคับบัญชาการศึกษา ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีต่อไป 2) นำผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพ
            4. การบริหารจัดการด้านงบประมาณ
     การบริหารงานงบประมาณ โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม เป็นหน่วยสนับสนุนสำคัญที่มุ่งส่งเสริมให้การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปด้วยความราบรื่น มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด สามารถปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองภารกิจของโรงเรียน มุ่งเน้นความเป็นอิสระ ในการบริหารจัดการมีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยยึดหลักความถูกต้องตามระเบียบและแนวปฏิบัติ มีการบริหารที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานให้มีการจัดผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา รวมทั้งจัดหารายได้จากการบริการมาใช้บริหารจัดการเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีขึ้นต่อผู้เรียน ซึ่งใช้หลักการบริหารจัดการด้านงบประมาณ ดังนี้
     5.1 มีการจัดหางบประมาณได้อย่างเพียงพอ แหล่งที่มาของงบประมาณ มาจากเงินอุดหนุน ตามจำนวนของนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาได้จัดทำบัญชีของโรงเรียนตามที่มาของเงินและนำเสนอเพื่อจัดสรรงบประมาณตามแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติงานประจำปี โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา และเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นได้ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา ตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ มีการควบคุม ตรวจสอบ กำกับติดตาม และประเมินผล ทำให้โรงเรียนบริหารงบประมาณได้อย่างเหมาะสมและพอเพียง เมื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์เสร็จสิ้นแล้ว ได้รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาและตัวแทนชุมชน ได้รับทราบทุกครั้ง
     5.2 มีแผนติดตาม ควบคุมการใช้งบประมาณอย่างชัดเจน มีแผนการกำกับติดตามการใช้งบประมาณการเงินและพัสดุมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน จัดทำทะเบียนคุมการใช้จ่ายเงิน สรุปการใช้จ่ายเงินตามแผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งมีแผนกำกับติดตามในแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนและมีระบบแผนงานและติดตามงบประมาณ
     5.3 มีการจัดทำบัญชีการใช้งบประมาณอย่างเป็นระบบ เป็นปัจจุบันและตรวจสอบได้ตลอดเวลา โรงเรียนได้ดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี และตามแผนงานโครงการที่กำหนดเอาไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนในการการจัดซื้อ จัดจ้าง ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงและหนังสือกรมบัญชีกลาง
     5.4 มีการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาด้วยการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ที่มุ่งเน้นความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลงานที่เกิดขึ้นว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร คุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน โดยใช้ระบบการประเมินผลงานที่อาศัยตัวชี้วัดสะท้อนผลงาน ผลการประเมินนำมาใช้ในการวัดความคุ้มค่าประสิทธิภาพในการทำงาน มีการวางแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ ให้เหมาะสมสอดคล้องและถูกต้องตามระเบียบ เป็นต้น
6. การบริหารจัดการด้านบุคคล
6.1 มีการจัดโครงสร้า
priwsa 02 เม.ย. 2564 เวลา 11:58 น. 0 793
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^