LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนาคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร(เ

usericon

การพัฒนาคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร(เ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร
(เทศบาลบ้านพระเนตร)
ชื่อผู้วิจัย นางจันทรัช คำเกิด
ปีที่พิมพ์ 2555
บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร(เทศบาลบ้านพระเนตร) ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนและสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้และประเมินคุณภาพของงานวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร(เทศบาลบ้านพระเนตร) ผู้ร่วมศึกษาประกอบด้วยผู้รายงาน ผู้ร่วมศึกษาและครูผู้สอน รวมจำนวน 34 คน วิธีการศึกษาใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของ Kemmis และ Mc taggart ดำเนินการพัฒนา
2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) โดยใช้กรอบขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน 4 ขั้นตอน ได้แก่ การกำหนดปัญหาและหาสาเหตุของปัญหาการกำหนดวิธีการแก้ปัญหา การดำเนินการแก้ปัญหา และการสรุปผลและเขียนรายงานวิจัย แล้วประเมินคุณภาพงานวิจัยของครูโดยผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตแบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้พรรณาวิเคราะห์ การตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation Technique) นำเสนอข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. การพัฒนาการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศติดตาม จำนวน 2 วงรอบ ปรากฏว่า บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มขึ้นบุคลากรมีความชัดเจนและมีความมั่นใจใจการทำวิจัยในชั้นเรียน ทำให้ครูเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านความรู้ความเข้าใจ ความสามารถและความมุ่งมั่นของครูเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้เป็นส่วนมากอย่างไรก็ตามมีจุดอ่อนที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมและต่อเนื่อง คือ การวิเคราะห์ข้อมูลการเขียนรายงานวิจัย และประเด็นที่ต้องดำเนินการอีกประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนควบคู่ไปกับการจัดทำกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้เต็มตามศักยภาพ
2. ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15
Chantrarat 20 ก.ย. 2556 เวลา 22:03 น. 0 1,718
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^