LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.หนองคาย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.หนองคาย เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุบลราชธานี เขต 4 24 เม.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยภูมิ เขต 3 24 เม.ย. 2567สพฐ. ออกมาตรการสกัดปัญหาจัดอาหารกลางวันเด็กปี 67 24 เม.ย. 2567สพม.ราชบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.เพชรบุรี 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านฯ น.ส.จุรีพร เหิมขุนทด ร.ร.คีรีว

usericon

รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านฯ น.ส.จุรีพร เหิมขุนทด ร.ร.คีรีว
ชื่อการศึกษา :     รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้
        ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ชื่อผู้รายงาน :     นางสาวจุรีพร เหิมขุนทด
สถานศึกษา :     โรงเรียนคีรีวัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๔
ปีการศึกษา :     ๒๕๕๔

บทคัดย่อ

การศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของโรงเรียนคีรีวัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๔ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระที่ ๑การอ่าน อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากครูผู้สอนยังใช้การสอนแบบเก่าๆ ขาดการสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่จะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ดังนั้นผู้รายงานจึงสนใจในการสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ ศึกษาดัชนีประสิทธิผลในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จำนวน ๒๘ คน โรงเรียนคีรีวัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๔ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้รายงานทำการสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ประกอบการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการศึกษาเป็นแบบกลุ่มเดียว ทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pre-test Post-test Design) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๘ แผน ๓๒ ชั่วโมง แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์จำนวน ๘เล่ม แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นคำถามแบบเลือกตอบชนิด ๔ ตัวเลือก จำนวน ๖๐ ข้อ ซึ่งมีค่าดัชนีความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง ๐.๓๗–๐.๗๙มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ ๐.๒๕–๐.๘๖และค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๑และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน ๒๓ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage : %) ค่าเฉลี่ย (Mean : ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้t - test (Dependent Samples)
    ผลการศึกษาพบว่า
    การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๔.๒๔/๘๑.๒๕สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (๘๐/๘๐) ที่กำหนดไว้การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ ๐.๕๗๒๐แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๗.๒๐ สูงกว่าเกณฑ์ (๐.๕๐ ขึ้นไป)และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับดีมาก (๔.๔๖)

    สรุปได้ว่า การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนและยังทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนของนักเรียน ช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีและใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้สำหรับครูผู้สอน ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูผู้สอนสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์ให้ต่อเนื่อง มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ควรมีการพัฒนาแบบฝึกทักษะในกลุ่มสาระการเรียนรู้และเนื้อหาอื่น ๆ ต่อไป
ed4korat 03 ก.ย. 2556 เวลา 18:26 น. 0 1,470
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^