LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4 24 เม.ย. 2567สพป.กระบี่ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กระบี่ 24 เม.ย. 2567สพป.ราชบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 1 24 เม.ย. 2567สพป.จันทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.จันทบุรี เขต 1 24 เม.ย. 2567สพป.ปัตตานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ปัตตานี เขต 1

รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภา

usericon

รายงานการวิจัย  เรื่อง  การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภา
บทคัดย่อ

ชื่องานวิจัย : การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึก
ทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด Parts of the Body สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวรัชนีภรณ์ ศรีหวัง
ปีที่ทำวิจัย : 2554

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้ แบบฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts มาช่วยในการ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Parts of the Body ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 15 คน
ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจำคำศัพท์ เรื่อง Parts of the Body เพราะอ่านไม่ออก และเขียนไม่ได้ โดยให้นักเรียนใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซ่อมเสริมช่วงพักกลางวันทุกวันประมาณ 30 นาที ใช้เวลาในการทดลอง 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิเคราะห์ความแตกต่างของผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมทั้งให้นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts
จากผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ด้วยค่า
t – test ปรากฏค่า 68.9 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 จึงอาจกล่าวได้ว่า คะแนนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน หมายความว่า หลังจากที่ครูดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนซ่อมเสริมตามแผนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts มาช่วยในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียน ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์การเรียนเรื่อง Parts of the Body ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (จำนวน 15 คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจำคำศัพท์ เรื่อง Parts of the Body เพราะอ่านไม่ออก และเขียนไม่ได้ ) สูงขึ้น
หมายเหตุ....
คำว่า “ มีนัยสำคัญ ” หมายความว่า คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างกันนี้มี 2 ระดับ ที่นิยมใช้คือที่ 0.05 และ 0.01
คำว่า “ ไม่มีนัยสำคัญ ” หมายความว่าคะแนนก่อนเรียนหลังเรียนไม่มีความแตกต่างกันบางครั้งอาจพูดได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมีระดับเท่ากันหรือใกล้เคียงกันจนไม่เกิดความแตกต่างกัน

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
ในการเรียนภาษาไม่ว่าภาษาใดและระดับชั้นใดก็ตาม นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ
ตัวภาษาทั้งในด้านเสียง คำศัพท์และโครงสร้าง ถึงแม้ประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับการเรียน
การสอนภาษาอังกฤษมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปีก็ตาม แต่การเรียนการสอนก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร สาเหตุมาจากเด็กอ่านคำศัพท์ไม่ออก เขียนคำศัพท์ไม่ถูกต้อง สะกดคำศัพท์ไม่ได้ และเด็กนักเรียนคิดว่าภาษาอังกฤษยากเกินไป จึงไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร ดังนั้นการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจึงจำเป็นต้องใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยสร้างบรรยากาศ ให้มีการกระตุ้นการเรียนรู้ เร้าความสนใจ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนและจดจำบทเรียนได้ดี และจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น สภาพปัญหาในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า เรื่อง คำศัพท์ การออกเสียงและโครงสร้างทางภาษา เป็นปัญหาในการพัฒนาความรู้และความเข้าใจในภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษในด้าน ทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนโดยตรง
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เรื่อง Parts of the Body ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พบว่ามีนักเรียนจำนวน 15 คน ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจำคำศัพท์ เพราะอ่านไม่ออก และเขียนไม่ได้ ถึงแม้จะมีการท่องคำศัพท์ทุกวัน แต่ก็ไม่สามารถช่วยให้นักเรียนจดจำคำศัพท์ได้ดี เนื่องจากความจำกัดของเวลา และปริมาณของคำศัพท์ที่มีมากเกินไป ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้คิดหาวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนจดจำคำศัพท์ได้มากขึ้น และนำไปใช้ในการเรียนได้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Parts of the Body ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 15 คน ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจำคำศัพท์ เพราะอ่านไม่ออก และเขียนไม่ได้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Parts of the Body ก่อนการใช้แบบฝึกทักษะ และหลังการใช้แบบฝึกทักษะ
วิธีดำเนินการวิจัย
1. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 15 คน ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษเรื่อง Parts of the Body เพราะอ่านไม่ออก และเขียนไม่ได้
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.1 แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts
2.2 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นและตรวจสอบค่าความยากง่าย ( p ) และอำนาจจำแนก ( r ) ของแบบทดสอบแล้ว
2.3 แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง Parts of the Body สำหรับจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมให้นักเรียนที่มีปัญหาเรื่องการจดจำคำศัพท์ จำนวน 15 คน
3. การดำเนินการทดลอง
ดำเนินการทดลองโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts ช่วยในการสอนซ่อมเสริมช่วงพักกลางวัน วันจันทร์ – วันพฤหัสบดี วันละ 30 นาที ใช้เวลาในการทดลอง 3 สัปดาห์
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ค่าความยากง่าย ( p ) และอำนาจจำแนก ( r ) ของแบบทดสอบ
ก่อนเรียน / หลังเรียน
2. เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Parts of the Body ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts โดยการทดสอบค่าที ( t - test )

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ค่าความยากง่าย ( p ) ของแบบทดสอบก่อนเรียน / หลังเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอยู่ระหว่าง 37 % - 58 % ซึ่งเมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าความยากง่ายที่ดีควรอยู่ที่ 50 % และค่าความยากง่าย ( p ) ระหว่าง 20 – 80 % ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี จึงกล่าวได้ว่า แบบทดสอบฉบับนี้มีค่าความยากง่าย ( p ) อยู่ในเกณฑ์ที่ดีทุกข้อ
ส่วนค่าอำนาจจำแนก ( r ) ของแบบทดสอบก่อนเรียน / หลังเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.61 – 0.80 ซึ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าอำนาจจำแนกที่ดีมีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 – 1.00 จึงกล่าวได้ว่า แบบทดสอบก่อนเรียน / หลังเรียน ฉบับนี้มีค่าอำนาจจำแนก ( r ) อยู่ในเกณฑ์ดี
2. ผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Parts of the Body ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่าแบบฝึกทักษะนี้ทำให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านและการเขียนคำศัพท์ในเนื้อหาที่เรียนเรื่อง Parts of the Body สูงขึ้น
อภิปรายผล
1. การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts นี้ ผู้วิจัยนำหลักจิตวิทยาเข้ามาใช้ ซึ่งได้แก่ การเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนมีกิจกรรมการเรียนรู้ หลาย ๆ กิจกรรม หลาย ๆ แบบ การเสริมแรงเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ การเพิ่มความคงทนถาวร การใช้แรงจูงใจ โดยการใช้รูปภาพและเกมที่น่าสนใจ ใช้กฎการฝึกของธอร์นไดค์ เมื่อมีการฝึกหรือกระทำซ้ำ ๆ อยู่เสมอจะทำให้สิ่งเร้าและการตอบสนองมีความสัมพันธ์กันอย่างมั่นคง ใช้กฎแห่งผลของ ธอร์นไดค์ที่ว่าการกระทำใด ๆ ก็ตามเป็นสิ่งที่ดีพึงพอใจจะทำให้คนทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก
2. ผลสัมฤทธิ์ผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Parts of the Body ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts สูงกว่าก่อนได้รับการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เป็นไปตามสมมติฐาน แสดงให้เห็นว่าแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts นี้ สามารถช่วยพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Parts of the Body ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 คน ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งผลการวิจัย พบว่า คะแนนทดสอบก่อนเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ย 6.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.14 ส่วนการทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 17.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.91 ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่า D = 161 และ D2 = 1,735 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยค่าสถิติ t – test พบค่า t = 59.07 ซึ่งนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงกล่าวได้ว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่เชื่อมั่นได้ถึง 99 % ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 15 คน ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษเรื่อง Parts of the Body มีความแตกต่างกัน ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ ชุด My Body Parts สามารถช่วยพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และช่วยให้ผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Parts of the Body หลังเรียน สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการสร้างเครื่องมือ จากการวิจัยครั้งนี้
1.1 ภาพในแบบฝึกทักษะควรชัดเจนสามารถสื่อความหมายให้นักเรียนเข้าใจได้ โดยไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม
1.2 การเขียนคำอ่านภาษาอังกฤษสำหรับให้นักเรียนได้ฝึกอ่านด้วยตนเอง ต้องระวังให้มากเพราะ การเขียนเทียบเสียงคำอ่านภาษาอังกฤษกับภาษาไทยมักไม่ตรงกัน และบางคำศัพท์ในภาษาอังกฤษก็ไม่สามารถเขียนเทียบเสียงเป็นภาษาไทยได้ ทั้งนี้ผู้เขียนใช้ความเข้าใจและประสบการณ์ที่มีเขียนเทียบเสียงคำศัพท์ขึ้นซึ่งอาจจะไม่ตรงเท่าที่ควร ก็ขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วย
1.3 สื่อการสอนที่เป็นรูปภาพที่ใช้ประกอบกับคำศัพท์ เพื่อบอกความหมายของบัตรคำศัพท์ควรชัดเจน สื่อความหมายได้ถูกต้อง

2. ข้อเสนอแนะในการนำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์
ชุด My Body Parts ไปใช้
2.1 แบบฝึกทักษะชุดนี้ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวช่วยในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Parts of the Body ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2.2 ระยะเวลาในการสอนและให้ทำแบบฝึกหัดแต่ละครั้ง ไม่ควรใช้ระยะเวลาสั้นหรือนานเกินไป เพราะถ้าระยะเวลาสั้นเกินไปนักเรียนไม่เกิดการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ และถ้าระยะเวลานานเกินไปจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายได้
2.3 ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง ครูต้องกำหนดระยะเวลาในการทำแบบฝึกทักษะแต่ละเรื่อง และอาจยืดหยุ่นได้ แล้วแต่ความเหมาะสม และเมื่อนักเรียนทำเสร็จ ครูต้องเฉลยแบบฝึกทักษะทุกครั้งเพื่อให้นักเรียนแก้ไข และจดจำคำศัพท์ที่ถูกต้อง พร้อมทั้งให้นักเรียนนำเสนอผลงานของตนเองเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ จะได้พัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของตนเองให้ดียิ่งขึ้น

3. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
3.1 ควรศึกษาความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ จากการทำแบบฝึกหัด หรือ แบบฝึกทักษะ ของกรมวิชาการ
3.2 ควรศึกษาการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้เกณฑ์การหาประสิทธิภาพ 80 / 80 เกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียนให้ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การศึกษาพัฒนาการด้านการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษในเรื่องอื่นๆ และในระดับชั้นอื่น ๆ ต่อไป
3.3 ควรศึกษาการสร้างแบบฝึกหัดการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ในระดับชั้นประถมศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ เพื่อจะได้รวบรวมและจัดทำแบบฝึกหัดในบทเรียนอื่นๆ และระดับชั้นอื่น ๆ เพื่อนำไปเป็นตัวช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ratchaniphon 06 ส.ค. 2556 เวลา 18:28 น. 0 5,645
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^