LASTEST NEWS

06 ก.ย. 2567โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี รับสมัครครูอัตราจ้าง 6 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 11 กันยายน 2567 06 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านสามแพรก รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 ก.ย.2567 06 ก.ย. 2567เทศบาลเมืองแก่งคอย รับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ไม่ต้องสอบแข่งขัน จำนวน 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,560 บาท ตั้งแต่วันที่ 9 - 13 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน

การประเมินโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตร

usericon

บุญช่วย เกตุคง 2560. การประเมินโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตร
    วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช.
กระบี่ : โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช.


บทคัดย่อ
    การประเมินครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช ภายใต้กรอบการประเมินเชิงระบบตามรูปแบบ CIPPIEST Model ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช 5) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช 6) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช 7) เพื่อประเมินความยั่งยืนของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช และ 8) เพื่อประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช กระบี่ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 300 คน โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช นักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช การประเมินในครั้งนี้ ดำเนินการในระหว่างวันที่ 1-31 ธันวาคม 2560 โดยการสอบถามความคิดเห็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ประเมินเชิงระบบและวิเคราะห์ประเมินพฤติกรรมนักเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังการดำเนินกิจกรรม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    จากการประเมิน พบว่า
    1. ภาพรวมของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
    2. ด้านบริบทของโครงการมีความพร้อม อยู่ในระดับมาก
    3. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความพร้อมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ-อุปกรณ์ และสถานที่ในการดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด
    4. ด้านกระบวนการ มีการบริหารงานในการวางแผนและปฏิบัติการของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
    5. ด้านผลผลิต นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามเป้าหมายที่หลักสูตรสถานศึกษาและเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนและผู้ปกครองมีความพอใจในการดำเนินงานของทางโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
    6. ด้านผลกระทบ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนพอใจในพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้นของนักเรียน
อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก
    7. ด้านประสิทธิผล พบว่า นักเรียนเกิดความและมีความมั่นใจในความรู้ที่ได้รับระหว่างเข้าร่วมโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
    8. ด้านความยั่งยืน พบว่า นักเรียนสามารถนำประสบการณ์ระหว่างร่วมโครงการไปใช้
ในชีวิตประจำวันได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีทักษะความสามารถ อยู่ในระดับมาก
    9. ด้านการถ่ายโยงความรู้ พบว่า นักเรียนมีการนำประสบการณ์จากโครงการไปถ่ายทอด
ให้ผู้อื่นได้ และนักเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนในท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^