LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567กรมสรรพสามิต รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ 123 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน - 21 พฤษภาคม 2567 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.สมุทรสาคร - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสาคร 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม

การพัฒนาแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ TAI

usericon

ชื่อ-นามสกุล     นายณัฐวุฒิ ต้นจันทร์
รายงาน    การพัฒนาแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ TAI เรื่อง การบวก ลบ คูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสร้างหอม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
โรงเรียน        โรงเรียนบ้านสร้างหอม
ปีการศึกษา         2556

บทคัดย่อ

การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ TAI เรื่อง การบวก ลบ คูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสร้างหอมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ TAI เรื่อง การบวก ลบ คูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสร้างหอม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสร้างหอม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ก่อนและหลังเรียน เพื่อศึกษาความ พึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสร้างหอม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ TAI
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้าน สร้างหอม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 18 คน ได้มาโดยวิธีการการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ TAIจำนวน 1 ชุด จำนวน 7 เล่ม (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.78 และค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.56 ถึง 0.78 และค่าความเชื่อมั่น 0.831 (3) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ TAI จำนวน 17 แผน และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.43 ถึง 0.71 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.85 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t – test
ผลการศึกษา พบว่า
    1. แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ TAI มีประสิทธิภาพเฉลี่ย เป็น 87.69/87.04 จึงสรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ TAI เรื่อง การบวก ลบ คูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่ตั้งไว้คือ 80/80
    2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ TAI เรื่อง การบวก ลบ คูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7318 แสดงว่านักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้น 0.7318 หรือคิดเป็นร้อยละ 73.18
    3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ TAI เรื่อง การบวก ลบ คูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4. ความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ TAI เรื่อง การบวก ลบ คูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวม และเป็นรายด้าน 5 ด้าน คือ ด้านการเตรียมทักษะในการเรียนรู้ร่วมกัน ด้านการสอนเนื้อหา ด้านกิจกรรมกลุ่มด้านตรวจสอบผลงานและการทดสอบ และด้านการสรุปบทเรียน และประเมินผลการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับมาก

noonkok 28 มิ.ย. 2558 เวลา 21:54 น. 0 743
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^