LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการฯ

usericon

1. ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้
สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
ผู้วิจัย นางจุรีพร คุริรัง รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง

2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
    การปฏิรูปการศึกษาเพื่อนำทางไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้ และเพื่อให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก อันเนื่องมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Technology : ICT) ซึ่งได้แพร่ซึมเข้าไปในทุกวงการ รวมถึงวิถีชีวิตของประชาชนทั้งในเมืองและชนบท จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกประเทศต้องปรับตัวให้ทัน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 หมวด 4 แนวทางการจัดการศึกษา ได้สะท้อนความตื่นตัวที่จะปฏิรูปการศึกษา โดยยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิตที่เน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด การจัดการศึกษามุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีความยืดหยุ่น สนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และเรียนรู้ได้จากสื่อการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท ดังนั้น บทบาทของผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำ ผู้ถ่ายทอดความรู้ ไปเป็นผู้ช่วยเหลือส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องสู่การพัฒนาตนเองแก่ผู้เรียนเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างสรรค์ความรู้ของตน (กระทรวงศึกษาธิการ 2553 : 11 - 12)
    ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันควรเน้นการมี และใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งนี้เพราะการให้ความสำคัญกับแหล่งการเรียนรู้เพียงแหล่งเดียว คือระบบโรงเรียน อย่างเช่นปัจจุบันนั้นอาจไม่สามารถพัฒนาบุคคลให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต อาชีพ วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม และทรัพยากรของชุมชน และอาจจะทำให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ขาดความสามารถ ทักษะการดำรงชีวิตและพัฒนาตนเองตามวิถีของชุมชน เนื่องจากไม่มีแหล่งการเรียนรู้อื่นเข้ามาเสริม การปฏิรูปการศึกษา ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ในมาตรา 4 ได้ให้ ความหมายของการศึกษาไว้ว่า “เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต” ทั้งนี้เพราะแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นศูนย์รวม หรือศูนย์กลางของความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนเป็นเสมือนห้องปฏิบัติการของการเรียนรู้ มีประโยชน์ทั้งในแง่การกระจายโอกาสทางการศึกษา การให้การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต จึงมีประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นสิ่งที่มีผลต่อการสร้างกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ซึ่งควบคู่ไปกับการจัดการพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 2548 : 1)
    นักวิชาการได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมมากมาย เช่นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการที่ จะทำให้เกิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมขึ้นในองค์การหรือไม่ คือ ผู้นำ จากแนวคิดของเฮ้าส์ (House. 1971:460-465) ผู้นำที่สามารถทำให้เกิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ผู้นำที่มีพฤติกรรม มีการแบ่งปันข่าวสารข้อมูล (Sharing of Information) การแบ่งปันอำนาจ (Sharing of Power) การแบ่งปันอิทธิพล (Sharing of Influence) องค์ประกอบทั้ง 3 ประการ จะเป็นตัวบ่งชี้ บรรดาผู้นำในองค์การต่างๆได้เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ปฏิบัติงานเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานได้มากน้อยเพียงใด ความมากกว่าหรือน้อยกว่า จะเป็นตัวที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานว่าเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ (Positive or Negative) ซึ่งธรรมชาติของการบริหารแบบมีส่วนร่วมประการหนึ่ง คือ การลดอำนาจ (Reduce Power) ของผู้บริหารให้อยู่ในภาวะที่เท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับผู้ปฏิบัติงาน สำหรับฮัลโลแรน(Halloran) เปรียบผู้นำแบบมีส่วนร่วมว่าเป็นผู้นำตามทฤษฎี Y ของแมคแกรเกอร์ (McGregor) เหตุผลเพราะผู้บริหารมองว่าคนงานเป็นคนตามทฤษฎี Y ผู้บริหารก็จะบริหารคนแบบ Y คือให้เกียรติ ให้ความเชื่อถือ และมอบหมายงานให้รับผิดชอบแล้วนำมาประยุกต์กับการวิจัยและพัฒนาเป็นงานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนคลังความรู้ ทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับมนุษย์ วัฒนธรรมและสังคม และการใช้ความรู้เหล่านี้เพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ๆ (มนต์ชัย พงศนฤวงษ์. 2552 : 10-12) ซึ่งจำแนกได้ 3 ประเภท คือ การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) การวิจัยทดลอง (Experimental Research) และ การประเมินผลเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทดลอง เพื่อสรุปผลจากการศึกษาแนวคิด กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา R and D (Research and Development) การวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนที่สำคัญคือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย(Research: R2) : การทดลองใช้ และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) : การประเมินและปรับปรุงแก้ไข สำหรับนำไปใช้ในการพัฒนารูปแบบตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา นำมาประยุกต์เป็นรูปแบบ (Model) ใช้เป็นกระบวนการพัฒนาการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนต่อไป
    โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายและเป้าหมายการดำเนินการอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 ด้านดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบบริหาร เน้นการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของบุคลากร ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง ชุมชน และอัตลักษณ์ของโรงเรียน และยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนและสากล โรงเรียนได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากการประเมินภายในสถานศึกษา ด้านครู และนักเรียน ดังกล่าว มาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ที่ประชุมได้ตกลงกันวิเคราะห์หาของข้อมูลที่ครูและผู้บริหารได้รวบรวมมา เพื่อต้องการวิเคราะห์ SWOT Analysis เพื่อหาจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ในการบริหารจัดการในงานต่าง ๆ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง พบว่า มีจุดแข็งอยู่บ้างแต่ผู้ร่วมศึกษาได้หยิบยกขึ้นมาเฉพาะจุดอ่อนที่ควรพัฒนาในด้านต่าง ๆ ดังนี้ โรงเรียนจัดแหล่งเรียนรู้ห้องปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ได้เพียงบางส่วนและยังไม่มีคุณภาพเพียงพอเหมาะแก่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แหล่งเรียนรู้ห้องปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้และไม่ตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ แต่โรงเรียนยังมีปัจจัยแวดล้อมซึ่งสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดแหล่งเรียนรู้ห้องปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อใช้จัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพได้ หากได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ และบุคลากรสามารถที่จะดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ห้องปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัญหาในด้านการจัดสภาพแวดล้อมในห้องปฏิบัติการบางห้องไม่เหมาะสม และไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การเรียนรู้ยังขาดแหล่งเรียนรู้สำหรับให้เด็กนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนยังมีบางรายวิชาอยู่ในระดับไม่น่าพอใจ ครูยังไม่ได้นำเอาสื่อและเทคโนโลยี ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการเหล่านั้น เช่น คอมพิวเตอร์ ทางด้านการประเมินผลนักเรียนของครูยังใช้ข้อสอบแบบปรนัยแบบเลือกตอบเป็นส่วนมากไม่ได้ประเมินตามสภาพที่แท้จริงและไม่จัดห้องปฏิบัติการให้เหมาะสมและจูงใจให้แก่นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ให้เกิดทักษะในการใช้ห้องปฏิบัติการเหล่านั้น
    ผู้วิจัยในฐานะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา รับผิดชอบในด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อมและห้องปฏิบัติการให้สามารถใช้เป็นห้องปฏิบัติการที่มีความเหมาะสมกับสภาพการใช้งานของนักเรียน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน และให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่ 1 และยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนการสอน และการพัฒนาระบบบริหาร เน้นการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของบุคลากร ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง ชุมชน และอัตลักษณ์ของโรงเรียน ได้ใช้แนวคิดในการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยส่งเสริมให้มีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน จึงมีความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
จังหวัดร้อยเอ็ด
    2. เพื่อการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อเป็น
แหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
    3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้
สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
    4. เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
จังหวัดร้อยเอ็ด

4. ระเบียบวิธีการวิจัย
    การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็น แหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2560 เป็นหน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) โดยมีแนวคิดสำคัญที่ผู้วิจัยใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาล วัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาในครั้งนี้
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 382 คน ได้แก่ ครู จำนวน 70 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 298 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้จากการเปิดตารางเครจซี่แอนด์มอร์แกน (มาเรียม นิลพันธุ์. 2553 :120 ; อ้างอิงมาจากKrejcie and Morgan. 1970 : 608) โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และการสนทนากลุ่ม
    วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบที แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา

5. ผลการวิจัย

    5.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็น แหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
    การเสนอผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด คำถามการวิจัยข้อที่ 1 คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า โรงเรียนจัดแหล่งเรียนรู้ห้องปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ได้เพียงบางส่วน และยังไม่มีคุณภาพเพียงพอเหมาะแก่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แหล่งเรียนรู้ห้องปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้และไม่ตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ แต่โรงเรียนยังมีปัจจัยแวดล้อมซึ่งสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดแหล่งเรียนรู้ห้องปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อใช้จัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพได้ หากได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ และบุคลากรสามารถที่จะดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ห้องปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    5.2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็น แหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
    ผลสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รูปแบบ การบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการที่ผู้วิจัยประยุกต์ขึ้นใช้ชื่อเรียกว่า “ PAPE Model” ซึ่งได้พัฒนาตามหลักการและแนวคิดการออกแบบตามรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และแนวคิดทฤษฎีรูปแบบของนักการศึกษา นักจิตวิทยาและนักวิชาการ โดยมีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ หลักการตอบสนองและสิ่งสนับสนุน โดยมีส่วนประกอบดังนี้ P : Planning = การวางแผน A : Action = การปฏิบัติ P : Participation = การมีส่วนร่วม และ E : Evaluation – การประเมินผลในการพัฒนาห้องปฏิบัติการให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลการประเมินความเหมาะสม ปรากฏว่า มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบนี้

    5.3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
    ผลการดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีการนำรูปแบบไปแจ้งในที่ประชุมปรึกษาหารือไปใช้ในการดำเนินงานให้แก่ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน ผลการทดลองใช้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

    5.4 การประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
    การประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ปรากฏว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน มีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด





6. ข้อเสนอแนะ

    ผู้วิจัยใคร่ขอเสนอแนะการวิจัยเชิงนโยบายและการนำเสนอเชิงนำไปใช้ ดังนี้
    1. ข้อเสนอเชิงนโยบาย
        1.1 ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดเป็นนโยบายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาในการพัฒนาการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษาของผู้เรียนอย่างแท้จริง
        1.2 ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ทุกห้องปฏิบัติการเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน
     1.3 ผู้บริหารควรมีการวางแผนเพื่อพัฒนาบุคลากรในเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบ
     1.4 ผู้บริหารควรจัดกิจกรรมการจัดนิทรรศการของครูในแต่ละปีการศึกษา เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ครูได้มีการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ในหลากหลายกิจกรรมมากขึ้น
    2. ข้อเสนอเชิงนำไปใช้
2.1 ควรนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ให้ครูและนักเรียนรู้จักพัฒนาห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสภาพของการเรียนการสอน
    2.2 ครูควรจัดทำสื่อประกอบการสอนที่ใหม่ ๆ และทันต่อยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อที่ครูจะได้สื่อประกอบการสอนเป็นที่น่าสนใจของนักเรียนในห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
    2.3 ครูควรมีการเชื่อมโยงบูรณาการในการใช้ห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของตนเองให้มากขึ้น
    2.4 ครูที่ผ่านการพัฒนาแล้ว ควรจะมีการพัฒนาต่อไปโดยอาจจะใช้วิธีการการจัดการบริหารห้องปฏิบัติการแบบใหม่ ๆ ในวิชาที่สอนเดิม หรือการใช้วิธีการสอนแบบเดิมกับวิชาใหม่ เพื่อเปรียบเทียบว่าให้ผลแตกต่างกันหรือไม่หลังจากการใช้ห้องปฏิบัติการที่ได้มีการพัฒนาแล้ว


ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป
        1. ควรศึกษาการพัฒนาครูในการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการที่สามารถใช้สื่ออื่น ๆ ให้สอดคล้องกับการสอนแบบบูรณาการ
        2. ควรศึกษารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการด้วยวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อทราบถึงสภาพจริงของห้องปฏิบัติการที่ครูและนักเรียนใช้เป็นประจำ

7. การนำไปใช้ประโยชน์

    1. ประโยชน์ต่อนักเรียน
        1.1 ทำให้นักเรียนได้รู้จักใช้ประโยชน์จากห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนมากขึ้น
        1.2 นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการของสถานศึกษาจนทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
    2. ประโยชน์ต่อครู
        2.1 ใช้เป็นรูปแบบและข้อสนเทศ ให้ครูได้นำไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาประสิทธิภาพในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการของโรงเรียนเทศบาล วัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากยิ่งขึ้น
        2.2 ทำให้ครูได้แนวทางในการจัดการเรียนการสอน ให้เป็นไปตามรูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการของโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ดให้เกิดประสิทธิภาพด้านการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
    3. ประโยชน์ต่อผู้บริหาร
        3.1 เป็นรูปแบบและข้อสนเทศสำหรับให้ผู้บริหาร ได้นำไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาประสิทธิภาพ ในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ ของโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
    4. ประโยชน์ต่อโรงเรียน
        4.1 เป็นข้อสนเทศสำหรับสถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดในการนำไปประกอบการตัดสินใจในการวางแผนพัฒนากระบวนการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาอันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาต่อไป
        4.2 โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ดได้นำข้อสนเทศที่ได้ ไปปรับปรุงและแก้ไข จุดด้อยของการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการของโรงเรียนให้เกิดเป็นจุดเด่น ทำให้การบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
        4.3 สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการในการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการให้เกิดการพัฒนาและมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเข้าสู่แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างมีคุณภาพ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553
        4.4 โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แนวทางในการพัฒนาการมี ส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษา
    5. ประโยชน์ต่อชุมชน
        5.1 ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการในสถานศึกษา
เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือต่อกันในการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
        5.2 โรงเรียนและชุมชนได้ร่วมกันกำหนดแนวทางในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาห้องปฏิบัติการให้เกิดประสิทธิภาพต่อการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล วัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ต่อไป
        5.3 บุตรหลานในชุมชนได้เกิดการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ที่เกิดจากการมีห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมทันต่อยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้กับสภาพการจัดการเรียน การสอนมีคุณภาพทางการศึกษาดีขึ้น

nokjuree101 19 มิ.ย. 2561 เวลา 11:32 น. 0 662
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^