LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

บทคัดย่อ

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่องวิจัย    :    การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย    :    นายภูริภัทร์ หมาดนุ้ย
ปีที่เผยแพร่    :    2561

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
(1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม เรื่อง การบวก การลบ และ
การคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน
ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านน้ำราบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากผู้วิจัยเป็นครูผู้รับผิดชอบสอนและมีนักเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 14 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 17 แผน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ
ได้ค่าเฉลี่ย ( = 4.52) อยู่ในระดับคุณภาพเหมาะสมมากที่สุด (2) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 ชุด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบเดี่ยว แบบกลุ่ม และแบบภาคสนามโดยการทดลองแบบภาคสนามมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.76/81.43
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบประเภทปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อซึ่งผ่านการหาคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ
ใช้วิธีหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งฉบับด้วยวิธี
หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ Kuder-Richardson-20 (KR-20)
ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .92 (4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน
โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามวิธีการของลิเคิร์ท (Likert)
แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ซึ่งผ่านการหาคุณภาพเครื่องมือด้านความเที่ยงตรงทางด้านเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญใช้วิธีหาค่าดัชนีความสอดคล้อง หาอำนาจจำแนก
รายข้อ (r) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม และหา
ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา
ของ Cronbach (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .88
    ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลและดำเนินการทดลองตามแบบแผนการทดลองแบบ
One-Group Pretest-Posttest Design ด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่า t (t-test) แบบกลุ่มสัมพันธ์กัน
(t-test Dependent Sample)

สรุปผลการวิจัย
    1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.76/81.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.61)
phuri_bouy 10 มิ.ย. 2561 เวลา 11:29 น. 0 610
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^