LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR(Augmented..

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง        การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR(Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ครูผู้สอน        นางสาวปวีณุช ภูพวก
กลุ่มสาระการเรียนรู้     วิทยาศาสตร์ โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี
สังกัด        องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์        2561

    การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอ กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 1 แผน จากหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบปรนัยแบบอิงเกณฑ์ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .30 ถึง .94 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR(Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า
        1. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6930 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ซึ่งมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.30

        2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนจากกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียน (x-bar) = 25.47 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียน (x-bar) = 15.23 แสดงว่า การจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน

        3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69
pitakchai444 27 พ.ค. 2561 เวลา 12:02 น. 0 629
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^