LASTEST NEWS

23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย 23 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 23 เม.ย. 2567สพม.นครราชสีมา ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครราชสีมา 23 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 5 23 เม.ย. 2567สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

รายงานการใช้สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษ

usericon

ชื่อเรื่องที่ศึกษา     รายงานการใช้สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสะเมิงพิทยาคม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้ศึกษา     ศุภธณิศร์ น้ำคำ
ที่ปรึกษา     พิพัฒน์ สายสอน
ปีที่ศึกษา     2560

บทคัดย่อ

รายงานการใช้สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสะเมิงพิทยาคม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพสื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสะเมิงพิทยาคม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนและหลังใช้สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้เรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนสะเมิงพิทยาคม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 รวมทั้งหมด 70 คนโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนทั้งหมด 1 วิชา แบ่งออกเป็น 12 หน่วยเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกคำตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยสื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นแบบทดสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ หาค่าประสิทธิภาพของสื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามเกณฑ์ 80/80 ใช้สูตร E1/E2 หาค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกข้อสอบรายข้อ ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เทคนิค 25% หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากสูตร KR-20 ของคูเดอร์ริชาร์ดสัน (Kuder Richarson) วิเคราะห์คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียน โดยการหาเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการทดสอบค่า (t-test) สรุปผลได้ดังนี้
1.    สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนทั้งหมด 1 วิชา แบ่งออกเป็น 12 หน่วยเรียน มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.08/82.86 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2.    ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 16.45 คิดเป็นร้อยละ 41.13 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 33.87 คิดเป็นร้อยละ 84.68 และเมื่อทำการทดสอบค่าที (t-test) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.    ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด( =4.58 S.D.=0.67) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 16 ข้อ ได้แก่ ความน่าสนใจของเนื้อหา มีการบอกวัตถุประสงค์การเรียนรู้อย่างชัดเจน โครงสร้างเนื้อหาชัดเจน จัดลำดับตามความยากง่ายได้เหมาะสม เนื้อหามีความถูกต้องตามหลักสูตร เนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เนื้อหาความยากง่ายเหมาะสมกับผู้เรียน ใช้ภาษาถูกต้อง เหมาะสม สามารถเข้าใจได้ง่าย สื่อความหมายได้ชัดเจนเหมาะสมกับบริบทของเนื้อหา เนื้อหามีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ลำดับเนื้อหา และแบบฝึกตามความยากง่ายได้อย่างเหมาะสม ความยาวของการนำเสนอแต่ละหน่วย/ตอน มีความเหมาะสม กลยุทธ์การประเมินผลเหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ออกแบบหน้าจอเหมาะสม ง่ายต่อใช้ xxxส่วนการแสดงผลของภาพ และเนื้อหามีความเหมาะสมสวยงาม ขนาดสี ตัวอักษร ชัดเจน สวยงาม อ่านง่ายเหมาะสมกับผู้เรียน ภาพกราฟิกเหมาะสม ชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อหา ผลป้อนกลับ หรือการแสดงผลลัพธ์ มีความเหมาะสมกับผู้เรียน และชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความยากง่ายพอเหมาะกับผู้เรียน ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จำนวน 7 ข้อ มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล การถ่ายทอดเนื้อหาสนใจ น่าติดตาม การออกแบบปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้โปรแกรม มีความง่าย สะดวก โต้ตอบกับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ การให้ผลป้อนกลับ หรือการแสดงผลการทำงาน เสริมแรง ให้ความช่วยเหลือเหมาะสมตามความจำเป็น มีกิจกรรมที่สามารถตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน ผลป้อนกลับ หรือการแสดงผลลัพธ์ มีความหลากหลาย ท่านมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับใด นอกนั้นมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
suphatanisr 02 พ.ค. 2561 เวลา 11:32 น. 0 693
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^